การพัฒนาอุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 82 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
ทศพล พื้นแสน การพัฒนาอุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยิน . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91988
Title
การพัฒนาอุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
Alternative Title(s)
Vibrator fire alarm notification development for persons with hearing impairment
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
ระบบเตือนอัคคีภัยสำหรับคนพิการทางการได้ยินมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอิสระ งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาอุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยิน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของคนพิการทางการได้ยินที่มีต่ออุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับ คนพิการทางการได้ยิน โดยการทบทวนวรรณกรรมและรูปแบบแผงวงจรที่ใช้ในปัจจุบันร่วมกับวิศวกรด้านอิเล็กทรอนิกส์ ประเมินความเหมาะสมของอุปกรณ์ต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทางการได้ยิน ผู้ดูแลหอพักอาศัยในวิทยาลัยราชสุดา ผู้เชี่ยวชาญทางอิเล็กทรอนิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านอัคคีภัย รวมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการได้รับบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวก (QUEST 2.0) ผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน มีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ต้นแบบในระดับ ค่อนข้างพึงพอใจ (คะแนน 3.66±0.72) ข้อมูลที่เป็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้นำมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาอุปกรณ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการและมีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ความมั่นคง ความทนทาน และสัญญาณการแจ้งเตือนการใช้งาน และนำอุปกรณ์ที่ปรับปรุงใหม่ไปทดสอบในกลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน ที่ได้ขึ้นทะเบียนคนพิการทางการได้ยินแล้ว ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้พิการทางการได้ยินมีความพึงพอใจต่อการใช้อุปกรณ์เตือนอัคคีภัยด้วยระบบสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยินอยู่ที่ระดับค่อนข้างพึงพอใจ (คะแนน 3.54±0.20) โดยมีคะแนนสูงสุดที่ระดับ พึงพอใจมาก (คะแนน 4.5±0.76) และคะแนนต่ำสุดที่ระดับพึงพอใจบ้าง (คะแนน 2.63±0.74) จากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์เตือนอัคคีภัยนี้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
The fire alarm system for people with hearing impairment is important for independent leaving. The objectives of this study were 1) development a vibrator fire alarm for people with hearing impairment and 2) study the opinion of people with hearing impairment on vibrator fire alarm notification. The process was started by literature review and review the recently circuit board with electronic engineer. Evaluate the appropriate of this tool by expert related to the hearing impaired, dormitory staff at Ratchasuda College, electronic engineer, and firefighter (n=10) by using The Quebec User Evaluation of Satisfaction with Assistive Technology (QUEST 2.0) questionnaire. The results presented that the 10 experts were "quite satisfaction" (3.66±0.72). The comments were composed of the stability, endurance and the warning sign during in progress of the equipment. All information from questionnaire was implemented for developing the prototype device. Later the suitability of device was evaluated via the persons with hearing impairment (n=30) by questionnaire (QUEST 2.0). The results from persons with hearing impairment presented that satisfaction to vibrator fire alarm for hearing impairment is "Quite satisfied" (3.54±0.20), the highest score is "Very satisfied" (4.5±0.76) and Lest satisfied is "Somewhat satisfied" (2.63±0.74). From our results suggested that the vibrator fire alarm notification for people with hearing impairment is sufficient for use in these population.
The fire alarm system for people with hearing impairment is important for independent leaving. The objectives of this study were 1) development a vibrator fire alarm for people with hearing impairment and 2) study the opinion of people with hearing impairment on vibrator fire alarm notification. The process was started by literature review and review the recently circuit board with electronic engineer. Evaluate the appropriate of this tool by expert related to the hearing impaired, dormitory staff at Ratchasuda College, electronic engineer, and firefighter (n=10) by using The Quebec User Evaluation of Satisfaction with Assistive Technology (QUEST 2.0) questionnaire. The results presented that the 10 experts were "quite satisfaction" (3.66±0.72). The comments were composed of the stability, endurance and the warning sign during in progress of the equipment. All information from questionnaire was implemented for developing the prototype device. Later the suitability of device was evaluated via the persons with hearing impairment (n=30) by questionnaire (QUEST 2.0). The results from persons with hearing impairment presented that satisfaction to vibrator fire alarm for hearing impairment is "Quite satisfied" (3.54±0.20), the highest score is "Very satisfied" (4.5±0.76) and Lest satisfied is "Somewhat satisfied" (2.63±0.74). From our results suggested that the vibrator fire alarm notification for people with hearing impairment is sufficient for use in these population.
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล