รายงานผลการวิจัยโครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสำหรับประเทศไทย
Issued Date
2542
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
37.9 mb
Call No.
WA400 ร451 2542
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Suggested Citation
วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์, วิทยา อยู่สุข, สราวุธ สุธรรมาสา, สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์, Wantanee Phanprasit, Witaya Yoosook (2542). รายงานผลการวิจัยโครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสำหรับประเทศไทย. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58796
Title
รายงานผลการวิจัยโครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสำหรับประเทศไทย
Alternative Title(s)
A study of identify an occupational health and safety management model for Thailand
Other Contributor(s)
Abstract
การเคลื่อนไหวทั้งฝ่ายลูกจ้างและนักวิชาการ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการบริหารการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ประกอบกับอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงเป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างหนึ่งว่า การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีอยู่ในขณะนี้นั้นน่าจะมีข้อขัดข้อง จึงทำให้ผู้ได้รับรับผลกระทบออกมาเคลื่อนไหว และเนื่องจากต่างตระหนักดีว่า ปัญหาการประสบอันตราย การเจ็บป่วยและการตายของผู้ประกอบอาชีพนั้น ทำให้เกิดความสูญเสียต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง และความสูญเสียเหล่านี้เป็นสิ่งที่ป้องกันและควบคุมได้
ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยโดยการสนับสนุนทุนการศึกษาวิจัยจากสำนักงานประกันสังคมจึงได้ทำการศึกษาและวิจัย เพื่อหารูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานสำหรับประเทศไทย และเพื่อให้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว การศึกษานี้ไม่ได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยที่ต้องใช้สถิติในการวิเคราะห์หากการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมต่างๆ และทบทวนวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้โดยใช้ประสบการณ์ของผู้วิจัยและนักวิชาการในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงผู้มีวิสัยทัศน์และประสบการณ์จากสามกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของภาครัฐ คือ มีความซ้ำซ้อนในบทบาทและภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานเหล่านี้ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ยังขาดการส่งเสริมและการพัฒนาการจัดหา (สำหรับนายจ้าง) และการให้บริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการ ซึ่งเน้นที่ภาคเอกชน) เพื่อให้ครอบคลุมทุกขนาดของอุตสาหกรรม เมื่อนำปัญหาเหล่านี้มาวิเคราะห์และศึกษาตามขั้นตอนแล้ว จึงได้เสนอแนวทางสำหรับการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะที่ 1 ให้มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในสามกระทรวงหลักให้ชัดเจน โดยยึดปรัชญาและความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานเป็นหลัก และในระยะที่ 2 ให้มีการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าด้วยกัน และกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวให้ชัดเจน ทั้งนี้ระยะเวลาจากระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 2 ไม่ควรเกิน 5 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าวให้มีการศึกษาโดยละเอียดเกี่ยวกับการรวมหน่วยงานและรูปแบบของหน่วยงานใหม่ ในขณะเดียวกันควรพิจารณาออกกฎหมายด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พระราชบัญญัติ เพื่อกำหนดให้มีหน่วยงานระดับนโยบายและประสานแผนระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งชาติ มีหน้าที่ในระยะที่ 1 คือ กำหนดขอบเขตหน้ารที่ความรับผิดชอบของสามกระทรวงหลัก และพิจารณากำหนดโครงสร้างของหน่วยงานใหม่ รวมทั้งพิจารณาอนุมัติงบประมาณสำหรับงานชีวอนามัยและความปลอดภัยของกระทรวงทั้งสาม และระยะที่ 2 มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศ ควบคุม กำกับ และติดตามให้มีการดำเนินการตามแผน รวมทั้งพิจารณากฎหมายชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งหมดก่อนมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบประกาศใช้
Recently there are movements of the related people to Occupational Health and Safety (OH S) in order to make a change of the structure of OH S management in Thailand and quite high occupational injury and death rates indicate that it may have some problems of the present OH S management system. Thus, the affected groups have done some things because they realize that occupational injury and death can be prevented and controlled. Therefore, the researchers, granted by the Office of Social Welfare, Ministry of Labor and Social Welfare, had conducted a study to identify a suitable model of Occupational Health and Safety Management for Thailand. In addition, to have data available for decision-making concerning this issue. This study does not need the statistical analysis, but reviewing and analyzing literature, existing situation based on researchers’knowledge and experience plus the opinion of the experts and practitioners in this field. In addition, the view of experienced high level administrators from those three ministries, i.e. Ministry of Labor and Social Welfare, Ministry of Public Health and Ministry of Industry is taken in to account. Result showed that the problems among governmental sectors are overlapping of responsibilities and duties of the three ministries, and lack of cooperation among them. Furthermore, there was no promotion and developing of the occupational health services providing and giving system. Thus, the researchers proposed 2 periods for managing the OH S in Thailand. The first period is to clarify and specify responsibilities, roles and duties of the three ministries according to their philosophy and expertise, The second period is to unite all occupational health and safety units in those three ministries and clearly establish their responsibilities, duties and roles The time between the two periods should not exceed 5 years. During that time there should be some comprehensive studies to identify how to unite those units and the structure of the new organization. Also, in the first period some kind of law should be issued, e.g. the act to establish a policy and cooperative organization such as the national OH S Committee. The committee’s duties in the first period should : 1) Specify the responsibility and duties of each unit under the three ministries; 2) Consider the structure of the new organization; and 3) Consider to provide budget for occupational health and safety activities of the three ministries. In the second period, the committee’s duties are; 1) Set up national policy and plan for occupational health and safety; 2) Control, follow up and cooperate the three ministries’ plan so that their works will not overlap; and 3) Make the consideation on all OH S law to be issued so that the three ministries will not issue the law in the same natter.
Recently there are movements of the related people to Occupational Health and Safety (OH S) in order to make a change of the structure of OH S management in Thailand and quite high occupational injury and death rates indicate that it may have some problems of the present OH S management system. Thus, the affected groups have done some things because they realize that occupational injury and death can be prevented and controlled. Therefore, the researchers, granted by the Office of Social Welfare, Ministry of Labor and Social Welfare, had conducted a study to identify a suitable model of Occupational Health and Safety Management for Thailand. In addition, to have data available for decision-making concerning this issue. This study does not need the statistical analysis, but reviewing and analyzing literature, existing situation based on researchers’knowledge and experience plus the opinion of the experts and practitioners in this field. In addition, the view of experienced high level administrators from those three ministries, i.e. Ministry of Labor and Social Welfare, Ministry of Public Health and Ministry of Industry is taken in to account. Result showed that the problems among governmental sectors are overlapping of responsibilities and duties of the three ministries, and lack of cooperation among them. Furthermore, there was no promotion and developing of the occupational health services providing and giving system. Thus, the researchers proposed 2 periods for managing the OH S in Thailand. The first period is to clarify and specify responsibilities, roles and duties of the three ministries according to their philosophy and expertise, The second period is to unite all occupational health and safety units in those three ministries and clearly establish their responsibilities, duties and roles The time between the two periods should not exceed 5 years. During that time there should be some comprehensive studies to identify how to unite those units and the structure of the new organization. Also, in the first period some kind of law should be issued, e.g. the act to establish a policy and cooperative organization such as the national OH S Committee. The committee’s duties in the first period should : 1) Specify the responsibility and duties of each unit under the three ministries; 2) Consider the structure of the new organization; and 3) Consider to provide budget for occupational health and safety activities of the three ministries. In the second period, the committee’s duties are; 1) Set up national policy and plan for occupational health and safety; 2) Control, follow up and cooperate the three ministries’ plan so that their works will not overlap; and 3) Make the consideation on all OH S law to be issued so that the three ministries will not issue the law in the same natter.
Sponsorship
โดยความเห็นชอบสนับสนุนการวิจัยจากคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2542