ความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด กลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายและภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดใหญ่
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 142 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ปิญาพร ภูลายเรียบ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด กลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายและภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดใหญ่. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93342
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด กลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายและภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดใหญ่
Alternative Title(s)
The relationships among comorbidity, intraoperatice conditions, systemic inflammatory response syndrome, and acute kidney injury of critical patients in the first 72 hours after major surgery
Author(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด กลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายและภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดใหญ่ โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ได้เป็นการผ่าตัดหัวใจ สมองหรือทางเดินปัสสาวะ เป็นการผ่าตัดครั้งแรกของการรับไว้ในโรงพยาบาลทั้งที่มีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าและผ่าตัดฉุกเฉินได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายหรือร่วมกับยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปไม่จำกัดเพศจำนวน 88 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินโรคร่วม (CCI) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด (SAS) แบบประเมินกลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย (SIRS) และแบบประเมินภาวะไตวายเฉียบพลัน (AKI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน การศึกษาพบว่ามากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 54.5 อายุเฉลี่ย 58.27 ปี (S.D.=19.26)ส่วนใหญ่มีโรคร่วมร้อยละ 93.2 มีคะแนน CCI เฉลี่ย 2.45 (โรคร่วมมีความรุนแรงน้อย) (S.D.=2.28) สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดมีคะแนน SAS เฉลี่ย 4.98 (มีความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือ เสียชีวิตหลังการผ่าตัด) (S.D.=1.96) การเกิดกลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย (SIRS) พบถึงร้อยละ 80.7 มีคะแนน เฉลี่ย 2.35 คะแนน (S.D.=0.96) กลุ่มตัวอย่างเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันร้อยละ 29.5 มากกว่าครึ่งเกิด ภาวะไตวายเฉียบพลันระยะที่ 1 ร้อยละ 57.7 กลุ่มตัวอย่างมีระดับ serum Cr เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัดเฉลี่ย 1.38 เท่า (S.D. = 0.66) พบว่ากลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเกิดภาวะ ไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดใหญ่ (r = .356, p = .001) ข้อเสนอแนะ เนื่องจากกลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้นผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ทุกรายควรได้รับการประเมินและเฝ้าระวังการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย
This descriptive study purposed to study the relationships among comorbidity, intraoperative conditions, systemic inflammatory response syndrome (SIRS) and acute kidney injury (AKI) of critical patients in the first 72 hours after major surgery. The study sample consisted of 88 adult patients who were in their first hospitalization of admission with elective or emergency surgery and which were not cardiac surgery, neurosurgery, and urologic surgery. All surgeries were under general or/with regional anesthesia. Data collection was conducted by Charlson comorbidity index (CCI), Surgical Apgar Score (SAS), SIRS scale and AKI scale. Spearman's correlation was performed for data analysis Half of the sample population were female (54.5%) with an average age of 58.27 years old (S.D.=19.26). There were 93.2% comorbidity with an average CCI of 2.45 (mildly ill) (S.D.=2.28), average SAS 4.98 (moderate major complications and mortality after surgery) (S.D.=1.96), and average SIRS 2.35 (S.D.=0.96). SIRS appeared on 80.7% of the sample population. AKI appeared on 29.5% the patients who were critical in the first 72 hours after a major surgery and 57.7% of them had severity of AKI stage 1. In regard to AKI with serum creatinine rising, it was found that average serum creatinine increased 1.38 fold (S.D. = 0.66) from preoperative. It is recommended that all patients who undergo major surgery during ICUstay should be assessed and monitored for the appearance of SIRS, especially within the 72 hours after surgery because SIRS is a critical factor that correlates with acute kidney injury in critical patients in the first 72 hours after a major surgery.
This descriptive study purposed to study the relationships among comorbidity, intraoperative conditions, systemic inflammatory response syndrome (SIRS) and acute kidney injury (AKI) of critical patients in the first 72 hours after major surgery. The study sample consisted of 88 adult patients who were in their first hospitalization of admission with elective or emergency surgery and which were not cardiac surgery, neurosurgery, and urologic surgery. All surgeries were under general or/with regional anesthesia. Data collection was conducted by Charlson comorbidity index (CCI), Surgical Apgar Score (SAS), SIRS scale and AKI scale. Spearman's correlation was performed for data analysis Half of the sample population were female (54.5%) with an average age of 58.27 years old (S.D.=19.26). There were 93.2% comorbidity with an average CCI of 2.45 (mildly ill) (S.D.=2.28), average SAS 4.98 (moderate major complications and mortality after surgery) (S.D.=1.96), and average SIRS 2.35 (S.D.=0.96). SIRS appeared on 80.7% of the sample population. AKI appeared on 29.5% the patients who were critical in the first 72 hours after a major surgery and 57.7% of them had severity of AKI stage 1. In regard to AKI with serum creatinine rising, it was found that average serum creatinine increased 1.38 fold (S.D. = 0.66) from preoperative. It is recommended that all patients who undergo major surgery during ICUstay should be assessed and monitored for the appearance of SIRS, especially within the 72 hours after surgery because SIRS is a critical factor that correlates with acute kidney injury in critical patients in the first 72 hours after a major surgery.
Description
การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้ใหญ่
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล