การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของตุงไทลื้อ ตำบลเชียงบาน จังหวัดพะเยา
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ฎ, 132 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
ปวิตรี อังกุลดี การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของตุงไทลื้อ ตำบลเชียงบาน จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93566
Title
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของตุงไทลื้อ ตำบลเชียงบาน จังหวัดพะเยา
Alternative Title(s)
Development and change of Tai Lue's Tung in Chiangbaan sub-district, Phayao province
Author(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนา และลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ของตุงไทลื้อ ตำบลเชียงบาน จังหวัดพะเยา การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาลักษณะอัตลักษณ์ตุงไทลื้อของชาวเชียงบาน ในมิติแห่งห้วงเวลา อดีต ปัจจุบัน และทิศทางตุงไทลื้อในอนาคตความหมายของสื่อสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนผืนตุง สีสันที่ถูกเลือกมาถักทอ การใช้ตุงไทลื้อในวิถีความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลของตุงไทลื้อที่มีต่อชาวเชียงบาน กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 17 คน กลุ่มชาวไทลื้อรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 15 - 25 ปี จำนวน 6 คน และกลุ่มหน่วยงานราชการ จำนวน 10 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้นจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบด้วยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มเป้าหมาย โดยแต่ละกลุ่มผู้วิจัย จะตั้งแนวคำถามในประเด็นความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับมุมมองเรื่องกับตุงไทลื้อใน 3 ห้วงเวลา คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของตุงไทลื้อ การคงอยู่ของภูมิปัญญา และความเป็นไปได้ของ การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นตุงไทลื้อเชียงบานท่ามกลางกระแสสังคมปัจจุบัน จากผลการวิจัยพบว่า ตุงไทลื้อในพื้นที่ตำบลเชียงบานในส่วนที่ยังคงมีการทอตุงไทลื้อใน 2 หมู่บ้าน คือบ้านเชียงบาน และบ้านแวนวัฒนา สำหรับบ้านเชียงบานได้มีการพัฒนาลวดลายตุงไทลื้อที่ได้รับการถ่ายทอดมา ให้ สอดรับกับความสามารถของผู้ทอที่มีช่วงวัยที่สูงขึ้น แต่เดิมการเก็บลายอาจจะละเอียดมากแต่ ณ ปัจจุบันด้วยสายตาที่ ปรับไปตามวัยคือลวดลายเหมือนเดิมแต่อาจจะไม่ละเอียดเท่าเดิม ลายเดิมแต่ขนาดใหญ่กว่าเดิม แต่ทางด้านความหมาย และความเชื่อยังคงถูกนำไปใช้ในทางพระพุทธศาสนาและประดับตกแต่งในงานของชาวไทลื้อ ส่วนตุงไทลื้อบ้านแวน วัฒนาตุงไทลื้อถูกทำออกมาเป็น 2 ประเภทตามการนำไปใช้ ประเภทแรกคือการทอตามแบบดั้งเดิมเพื่อใช้ในพิธีกรรม และประดับในงานไทลื้อแต่ที่เพิ่มเติมคือการทอตุงไทลื้อในขนาดที่เล็กลงและเลือกลวดลายที่ทอง่าย มีการปรับเปลี่ยน สีสันของด้ายเส้นยืน วัตถุประสงค์เพื่อนำมาตกแต่งสถานที่ในท้องถิ่นเมื่อมีงานไทลื้อและเพื่อเตรียมเปิดตลาดตุงไทลื้อ สู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือการจำหน่ายตุงไทลื้อเพื่อเป็นของตกแต่ง ของที่ระลึก
This research aims to study the development and change of Tung Tai Lue in ChiangbaanSub-district of Phayao Province. The identity of Tung Tai Lue in two villages: Ban-Chiangban and Ban-Wanwattana in ChaingbaanSub-district was investigated in several dimensions, which changed over time, knowledge transmission, and the creative economy. The symbolic meaning of it appears in Tung Tai Lue, design, utilization, related beliefs, ritual practices, and the influence of Tung Tai Lue on local residents in Chiangbaan, were also examined. Thirty-three samples were used for informal interviews including 17 local scholars, 6 Tai Lue youth aged 15-25 years old, and 10 public servants. The research findings show that Tung TaiLue is continuously made in both villages.In Ban-Chiangbaan the weaving pattern has been simplified or widened to meet the needs of ageing weavers who can no longer see well. However, the meaning and beliefs have not been changed. Tung in this area is still used in Buddhist practices and as decoration in Tai Lue's ritual practices. As for Ban-Wanwattana, Tung is made in two types. The first is the traditional pattern for ritual practices and decoration. The second is the new design,whose size is smaller and the pattern is easier than the traditional Tung. Moreover, the color of the main thread was adjusted to fit the new way of decoration and production towards a creative economy.
This research aims to study the development and change of Tung Tai Lue in ChiangbaanSub-district of Phayao Province. The identity of Tung Tai Lue in two villages: Ban-Chiangban and Ban-Wanwattana in ChaingbaanSub-district was investigated in several dimensions, which changed over time, knowledge transmission, and the creative economy. The symbolic meaning of it appears in Tung Tai Lue, design, utilization, related beliefs, ritual practices, and the influence of Tung Tai Lue on local residents in Chiangbaan, were also examined. Thirty-three samples were used for informal interviews including 17 local scholars, 6 Tai Lue youth aged 15-25 years old, and 10 public servants. The research findings show that Tung TaiLue is continuously made in both villages.In Ban-Chiangbaan the weaving pattern has been simplified or widened to meet the needs of ageing weavers who can no longer see well. However, the meaning and beliefs have not been changed. Tung in this area is still used in Buddhist practices and as decoration in Tai Lue's ritual practices. As for Ban-Wanwattana, Tung is made in two types. The first is the traditional pattern for ritual practices and decoration. The second is the new design,whose size is smaller and the pattern is easier than the traditional Tung. Moreover, the color of the main thread was adjusted to fit the new way of decoration and production towards a creative economy.
Description
วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล