ปฏิบัติการสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงคณะอัสลีมาลา
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 164 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
รุ่งนภา สถิตย์ธรรม ปฏิบัติการสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงคณะอัสลีมาลา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99573
Title
ปฏิบัติการสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงคณะอัสลีมาลา
Alternative Title(s)
The practice of creative music and dance performances of Asli Mala Group
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกศึกษาเฉพาะปฏิบัติการสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงคณะอัสลีมาลา โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ยุทธวิธี (strategy) ในการปรับตัวทางดนตรีและการแสดงสร้างสรรค์ของคณะอัสลีมาลาที่ได้รับอิทธิพลจากรองเง็งปัตตานีขนบปรากฏในช่วงพ.ศ. 2551-2561และ (2) เพื่อวิเคราะห์บริบทและเงื่อนไขการดำรงอยู่ของคณะอัสลีมาลาภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป โดยเก็บข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ข้อมูลดนตรีและการแสดงสด การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ร่วมกับการสัมภาษณ์พูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (informal interview) เป็นหลักในการเก็บข้อมูลกับผู้กระทำการ (agency) ต่าง ๆ ภายใต้อาณาบริเวณ (field) ที่ใช้ในการศึกษา ร่วมกับวิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) และการเสวนากลุ่ม (focus group) กับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) อาณาบริเวณ แวดวง หรือปริมณฑลทางสังคม (field) ของการสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงของคณะอัสลีมาลา ประกอบด้วย ผู้กระทำการหลัก (dominant agents) คือผู้สร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงของคณะอัสลีมาลา ผู้กระทำการรอง (dominated agents) คือ กลุ่มรองเง็งปัตตานีขนบ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มรองเง็งกระแสหลักในอาณาบริเวณของรองเง็งปัตตานี นอกจากนี้ในอาณาบริเวณยังประกอบด้วยขนบของรองเง็งปัตตานี อาณาบริเวณย่อย แวดวง หรือสถาบัน (sub-Fields) ได้แก่ แวดวงด้านความรู้ทางการแสดงรองเง็งต่างประเทศ แวดวงผู้สนับสนุนและผู้ว่าจ้าง แวดวงของการประกวด และกลุ่มสถาบันการศึกษาและการสืบทอด ซึ่งผู้กระทำการหลัก ปฏิบัติการ (practice) โดยใช้ยุทธวิธี (strategy) ในการปรับตัวทางดนตรีและการแสดงสร้างสรรค์ ได้แก่ การเชิญผู้กระทำการรองเข้าร่วมในการผลิตชุดการแสดงสร้างสรรค์ การต่อรองผ่านภาษาที่ใช้เรียกชื่อชุดการแสดงโดยเลี่ยงใช้คำว่ารองเง็ง และการผลิตชุดการแสดงภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณย่อยด้วยความสมเหตุสมผล ปฏิบัติการและยุทธวิธีดังกล่าวเกิดจากการสั่งสมทุนของผู้กระทำการหลักจนเกิดการเปลี่ยนแปลงฮาบิทัส แบ่งออกเป็น (1.1) ระยะการสั่งสมทุน ประกอบด้วย ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสัญลักษณ์ ผู้สร้างสรรค์ดนตรีและการแสดงมีทุนเด่นชัด เช่น ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ ความรู้ด้านดนตรีและ การแสดงรองเง็งปัตตานีขนบ ระบำพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี นาฏศิลป์ ไทย มโนราห์ เป็นต้น อีกทุนที่เด่นชัดคือทุนทางสังคม ได้แก่ เครือข่ายศิลปินรองเง็งปัตตานี เครือข่ายศิลปินระบำพื้นบ้านปัตตานี เครือข่ายศิลปินเพลงเพื่อชีวิต นักวิชาการ เครือข่ายศิลปินมโนราห์ เป็นต้น ซึ่งเป็นทุนที่ส่งผลต่อการขยายทุนในเวลาต่อมา (1.2) ระยะการขยายทุนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงฮาบิทัสอย่างชัดเจนในช่วงเวลาหนึ่งของผู้กระทำการหลัก คือ ช่วงปี พุทธศักราช 2551-2561 นำไปสู่การสร้างชุดการแสดงสร้างสรรค์ใหม่ การขยายทุนทั้ง 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางฮาบิทัสอย่างไม่หยุดนิ่ง ได้แก่ การผลิตชุดการแสดง เช่น ตารีลีเล็ง กีปัสปายง ตารีเรบานาแทมบูรีน ตารีดิเกร์ฮูลู ตารีเกอริช ฆามะ เป็นต้น การได้รับการสนับสนุนและมีผู้ว่าจ้าง เช่น ในงานกริชาภรณ์ จังหวัดปัตตานี เป็นต้น การเข้าสู่เวทีการประกวด และสืบทอด ผลงานและวิธีการสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษา เป็นต้น (2) บริบทและเงื่อนไขการดำรงอยู่ของคณะอัสลีมาลาภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปนั้น ได้แก่ (2.1) การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ของคณะอัสลีมาลาที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาภายใต้เงื่อนไขของอาณาบริเวณย่อย เช่น การได้ความรู้ การสนับสนุน การจ้างงาน เป็นต้น (2.2) การขยายอาณาบริเวณของการสร้างสรรค์ผลงานและการก้าวข้ามอาณาบริเวณและโครงสร้างรองเง็งปัตตานีขนบในบริบทสังคมทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งนี้การสร้างสรรค์ชุดการแสดงขึ้นใหม่ยังต้องเผชิญกับ อคติ การให้คุณค่า ของขนบไม่ว่าจะเป็นกติกา ความเชื่อ รูปแบบที่ผูกติดกับดนตรีและการแสดงรองเง็งปัตตานีขนบต่อไป ถึงแม้จะสามารถดำรงอยู่ได้และมีสถานะเป็นที่ยอมรับเพียงอาณาบริเวณใดอาณาบริเวณหนึ่งก็ตาม
This qualitative research examined the creative works of Asli Mala performance group. It investigated the practices and strategies to negotiate with and adapt to the musical influence of traditional rong ngeng Pattani during 2008-2018. It also analyzed the changing contexts and conditions under which the performance group thrive. The results were interpreted from live musical performances, in-depth and informal interviews of primary, agentive interlocutors under a specific Bordieusian field. Non-participant observation and focus group were the methods used to examine data from related interlocutors. The resultant information was presented through descriptive analysis. The results revealed that the field of musical creation of Asli Mala performance group consisted of two types of agents. Dominant agents are the musical creators and the performances of Asli Mala. Dominated agent is the traditional rong ngeng Pattani, one of the mainstream rong ngeng traditions in Pattani province. Within this field are subfields of the knowledge of rong ngeng performance, patrons and hirers, competitions, academic institutions, and transmission. The negotiating practices and strategies included integrating dominated agents to the creative works, avoiding explicit use of the term rong ngeng in the works, and reconciliating the performance productions under the terms and conditions predicated by the sub-fields. These practices and strategies emerged from changing habitus caused by the accumulation of the capital within the dominant agents over time. This process begins with the accumulation of economic, social, cultural, and symbolic capitals. Music and performance creators exhibit high cultural capital through the knowledge of traditional rong ngeng Pattani, Pattani folk dances, manora, and Thai classical dances. Another prominent capital is the social one: the rong ngeng Pattani artist network, the Pattani folk dances network, phleng phuea chiwit artist network, scholars, manora artist network. These networks led to the second stage, the expansion of capital. In this second stage, the dominant agents' habitus underwent substantial change during 2008-2018, resulting in several new performance creations. The expansion of the four capitals in turn triggered a constant change in habitus, i.e. production of performances like, for example, tarileng, kipasbayong, tarirebanatamburine, taridikerhulu, tarikerishhama. Support from the patrons and hirers included Krichapaun even in Pattani, competition, and transmission of the performances in academic institutions. The contexts and conditions important to the sustainability of the Asli Mala included making new creations in ways that respond to the conditions within the knowledge, support, and hiring subfields; accumulation and expansion of capitals that lead to saturation of habitus during each epoch; pushing the boundaries of creative performances and boldly transcending the field and structure of the traditional rong ngeng Pattani amid the contemporary society. Although the creative performances are thriving and its status accepted withing its field, they are still at times considered an inauthentic variant of the rong ngeng Pattani.
This qualitative research examined the creative works of Asli Mala performance group. It investigated the practices and strategies to negotiate with and adapt to the musical influence of traditional rong ngeng Pattani during 2008-2018. It also analyzed the changing contexts and conditions under which the performance group thrive. The results were interpreted from live musical performances, in-depth and informal interviews of primary, agentive interlocutors under a specific Bordieusian field. Non-participant observation and focus group were the methods used to examine data from related interlocutors. The resultant information was presented through descriptive analysis. The results revealed that the field of musical creation of Asli Mala performance group consisted of two types of agents. Dominant agents are the musical creators and the performances of Asli Mala. Dominated agent is the traditional rong ngeng Pattani, one of the mainstream rong ngeng traditions in Pattani province. Within this field are subfields of the knowledge of rong ngeng performance, patrons and hirers, competitions, academic institutions, and transmission. The negotiating practices and strategies included integrating dominated agents to the creative works, avoiding explicit use of the term rong ngeng in the works, and reconciliating the performance productions under the terms and conditions predicated by the sub-fields. These practices and strategies emerged from changing habitus caused by the accumulation of the capital within the dominant agents over time. This process begins with the accumulation of economic, social, cultural, and symbolic capitals. Music and performance creators exhibit high cultural capital through the knowledge of traditional rong ngeng Pattani, Pattani folk dances, manora, and Thai classical dances. Another prominent capital is the social one: the rong ngeng Pattani artist network, the Pattani folk dances network, phleng phuea chiwit artist network, scholars, manora artist network. These networks led to the second stage, the expansion of capital. In this second stage, the dominant agents' habitus underwent substantial change during 2008-2018, resulting in several new performance creations. The expansion of the four capitals in turn triggered a constant change in habitus, i.e. production of performances like, for example, tarileng, kipasbayong, tarirebanatamburine, taridikerhulu, tarikerishhama. Support from the patrons and hirers included Krichapaun even in Pattani, competition, and transmission of the performances in academic institutions. The contexts and conditions important to the sustainability of the Asli Mala included making new creations in ways that respond to the conditions within the knowledge, support, and hiring subfields; accumulation and expansion of capitals that lead to saturation of habitus during each epoch; pushing the boundaries of creative performances and boldly transcending the field and structure of the traditional rong ngeng Pattani amid the contemporary society. Although the creative performances are thriving and its status accepted withing its field, they are still at times considered an inauthentic variant of the rong ngeng Pattani.
Description
วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล