Arthropod vectors for genus rickettsia and borrelia in Eastern region of Thailand by molecular techniques
Issued Date
2016
Copyright Date
2016
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xii, 130 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Kamonwan Siriwatthanakul Arthropod vectors for genus rickettsia and borrelia in Eastern region of Thailand by molecular techniques. Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93283
Title
Arthropod vectors for genus rickettsia and borrelia in Eastern region of Thailand by molecular techniques
Alternative Title(s)
การศึกษาสัตว์ขาข้อพาหะของเชื้อริคเค็ทเซียและโบริเลียในภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยเทคนิคระดับโมเลกุล
Author(s)
Abstract
Arthropod-borne diseases are difficult to prevent and control due to variety factors involving disease transmission. Gaining insight of specific arthropod vector species harboring specific strains of pathogens in particular area will allow public health stakeholders to adopt effective measures for disease prevention and control. In recent years, several outbreaks of mite borne Scrub Typhus emerged in the eastern Thailand. This region is extraordinary since it is the closest border area to the capital city with diverse important land uses. To establish an effective disease prevention and control, it is necessary to investigate for the vectors of arthropod borne diseases in this area. This study aims to survey for the presence of Rickettsia and Borrelia pathogens in blood sucking arthropods in the eastern region of Thailand and to subsequently generate risk area maps. A survey of 180 locations in 7 provinces in eastern Thailand resulted in a collection of 421 blood sucking arthropod obtained from pets, poultry, livestock and rodents in 167 locations. Six species of ticks (Rhipicephalus sanguineus, R. haemaphysaloides, Dermacentor sp., Haemaphysalis sp., Boophilus microplus and Ixodes sp.), 3 species of fleas (Ctenocephalides felis orientis, C. felis felis and Echidnophaga gallinacean) and 6 species of lice (Chelopistes meleagridis, Haematopinus eurysternus, Heterodoxus spinigerum, Liperus caponis, Menopon gallinae and Trichodectes canis) were identified. Using real-time PCR, Rickettsia 17 kDa and Borrelia 23S rRNA were detected in 187 (44.4%) and 1 (0.2%) of total 421 pools, respectively. Of 217 tick pools, 44 (20.3%) were positive for Rickettsia and 1 (0.5%) was positive for Borrelia. Only rickettsial DNA was detected in 128/158 (81.0%) flea pools and 14/46 (30.4%) louse pools. Sequence analysis of one Borrelia detected in Ixodes ticks collected from a rat in Chanthaburi province was pathogenic Borrelia valaisiana strain QX-S13. Furthermore, sequencing results of 24 detected rickettsiae demonstrated pathogenic Rickettsia marmionii in 4 R. sanguineus ticks collected from dogs in Chanthaburi and Chonburi provinces and 20 Rickettsia felis,Cf1 and Cf5 infected R. sanguineus and C. felis orientis collected from dogs in 7 provinces of eastern Thailand. The survey results clearly demonstrated the presence of Rickettsia and Borrelia vectors. The geographical risk maps were subsequently generated to conveniently use as tool for epidemiological warning of arthropod borne disease threatening in those areas.
การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยพาหะที่เป็นสัตว์ขาปล้องดูดเลือดทำได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกลไกการติดเชื้อ ข้อมูลจำเพาะของชนิดสายพันธุ์สัตว์พาหะที่นำเชื้อก่อโรคแต่ละสายพันธุ์ มีความสำคัญ และจำเป็นในการวางมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจำเพาะในแต่ละพื้นที่ หลายปีมานี้ เกิดการระบาดของโรคสครับไทฟัสที่มีไรเป็นพาหะในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นพื้นที่ชายแดนที่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด และมีลักษณะการใช้พื้นที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อทำการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคนำโดยแมลงอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลของพาหะนำโรคในพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาเชื้อก่อโรคไข้ริคเค็ทเซีย และไข้ข้ออักเสบไลม์ในสัตว์ขาปล้องดูดเลือด ในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย แล้วสร้างเป็นแผนที่เสี่ยงต่อโรค ผลการสำรวจพื้นที่ 167 แห่งใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก เก็บตัวอย่างเห็บ หมัด เหาได้ 421 กลุ่มตัวอย่าง จากสัตว์เลี้ยง สัตว์ปีก ปศุสัตว์ และสัตว์ฟันแทะ ในพื้นที่สำรวจ 167 แห่ง เป็นเห็บ 6 สายพันธุ์ คือ Rhipicephalus sanguineus, R. haemaphysaloides, Dermacentor sp., Haemaphysalis sp. Boophilus microplus และ Ixodes sp. เป็นหมัด 3 สายพันธุ์ คือ Ctenocephalides felis orientis, C. felis felis และ Echidnophaga gallinacean และ เหา 6 สายพันธุ์ คือ Chelopistes meleagridis, Haematopinus eurysternus, Heterodoxus spinigerum, Liperus caponis, Menopon gallinae และ Trichodectes canis การตรวจด้วยเทคนิค real-time PCR พบดีเอ็นเอของเชื้อที่เป็นชิ้นส่วนยีน 17 kDa ของเชื้อริคเค็ทเซียในตัวอย่าง 187 กลุ่ม (ร้อยละ 44.4) และชิ้นส่วนยีน 23S rRNA ของเชื้อโบริเลีย ในตัวอย่าง 1 กลุ่ม (ร้อยละ 0.2) พบเห็บติดเชื้อริคเค็ทเซีย 44 กลุ่ม จากตัวอย่างเห็บทั้งหมด 217 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 20.3) และติดเชื้อโบริเลีย 1 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 0.5) พบเชื้อริคเค็ทเซียในหมัด 128 /158 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 81.0) และในเหา 14 กลุ่มจากตัวอย่างเหา 46 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 30.4) ผลการพิสูจน์ทราบชนิดสายพันธุ์เชื้อด้วยวิธีถอดรหัสพันธุกรรมของตัวอย่างติดเชื้อ 25 กลุ่มตัวอย่าง เป็นเชื้อก่อโรคไข้ข้ออักเสบไลม์ สายพันธุ์ Borrelia valaisiana ในตัวอย่างเห็บกวาง (Ixodes sp.) 1 กลุ่มที่เก็บจากหนูในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เป็นเชื้อริคเค็ทเซียก่อโรคไข้ผื่นเห็บสายพันธุ์ Rickettsia marmionii ในห็บสุนัขสีน้ำตาล (R. sanguineus) 4 กลุ่ม เก็บจากสุนัขในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และชลบุรี ตัวอย่างที่เหลือ 20 กลุ่ม เป็นเชื้อริคเค็ทเซียก่อโรคไข้หมัดแมว (Rickettsia felis, Cf1 and Cf5) ในเห็บสุนัขสีน้ำตาล (R. sanguineus) และหมัดแมว (C. felis orientis) ที่เก็บจากสุนัขในพื้นที่ 7 จังหวัดของภาคตะวันออก ผลการสำรวจแสดงอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้ริคเค็ทเซีย การโรคข้ออักเสบไลม์ เนื่องจากมีสัตว์ขาปล้องดูดเลือดที่เป็นพาหะ ข้อมูลถูกวิเคราะห์นำเสนอในรูปแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อโรคโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแจ้งเตือน สร้างความตระหนัก และการระวังป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคนำโดยแมลงในพื้นที่
การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยพาหะที่เป็นสัตว์ขาปล้องดูดเลือดทำได้ยาก เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกลไกการติดเชื้อ ข้อมูลจำเพาะของชนิดสายพันธุ์สัตว์พาหะที่นำเชื้อก่อโรคแต่ละสายพันธุ์ มีความสำคัญ และจำเป็นในการวางมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจำเพาะในแต่ละพื้นที่ หลายปีมานี้ เกิดการระบาดของโรคสครับไทฟัสที่มีไรเป็นพาหะในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นพื้นที่ชายแดนที่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด และมีลักษณะการใช้พื้นที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อทำการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคนำโดยแมลงอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลของพาหะนำโรคในพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาเชื้อก่อโรคไข้ริคเค็ทเซีย และไข้ข้ออักเสบไลม์ในสัตว์ขาปล้องดูดเลือด ในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย แล้วสร้างเป็นแผนที่เสี่ยงต่อโรค ผลการสำรวจพื้นที่ 167 แห่งใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก เก็บตัวอย่างเห็บ หมัด เหาได้ 421 กลุ่มตัวอย่าง จากสัตว์เลี้ยง สัตว์ปีก ปศุสัตว์ และสัตว์ฟันแทะ ในพื้นที่สำรวจ 167 แห่ง เป็นเห็บ 6 สายพันธุ์ คือ Rhipicephalus sanguineus, R. haemaphysaloides, Dermacentor sp., Haemaphysalis sp. Boophilus microplus และ Ixodes sp. เป็นหมัด 3 สายพันธุ์ คือ Ctenocephalides felis orientis, C. felis felis และ Echidnophaga gallinacean และ เหา 6 สายพันธุ์ คือ Chelopistes meleagridis, Haematopinus eurysternus, Heterodoxus spinigerum, Liperus caponis, Menopon gallinae และ Trichodectes canis การตรวจด้วยเทคนิค real-time PCR พบดีเอ็นเอของเชื้อที่เป็นชิ้นส่วนยีน 17 kDa ของเชื้อริคเค็ทเซียในตัวอย่าง 187 กลุ่ม (ร้อยละ 44.4) และชิ้นส่วนยีน 23S rRNA ของเชื้อโบริเลีย ในตัวอย่าง 1 กลุ่ม (ร้อยละ 0.2) พบเห็บติดเชื้อริคเค็ทเซีย 44 กลุ่ม จากตัวอย่างเห็บทั้งหมด 217 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 20.3) และติดเชื้อโบริเลีย 1 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 0.5) พบเชื้อริคเค็ทเซียในหมัด 128 /158 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 81.0) และในเหา 14 กลุ่มจากตัวอย่างเหา 46 กลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 30.4) ผลการพิสูจน์ทราบชนิดสายพันธุ์เชื้อด้วยวิธีถอดรหัสพันธุกรรมของตัวอย่างติดเชื้อ 25 กลุ่มตัวอย่าง เป็นเชื้อก่อโรคไข้ข้ออักเสบไลม์ สายพันธุ์ Borrelia valaisiana ในตัวอย่างเห็บกวาง (Ixodes sp.) 1 กลุ่มที่เก็บจากหนูในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เป็นเชื้อริคเค็ทเซียก่อโรคไข้ผื่นเห็บสายพันธุ์ Rickettsia marmionii ในห็บสุนัขสีน้ำตาล (R. sanguineus) 4 กลุ่ม เก็บจากสุนัขในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และชลบุรี ตัวอย่างที่เหลือ 20 กลุ่ม เป็นเชื้อริคเค็ทเซียก่อโรคไข้หมัดแมว (Rickettsia felis, Cf1 and Cf5) ในเห็บสุนัขสีน้ำตาล (R. sanguineus) และหมัดแมว (C. felis orientis) ที่เก็บจากสุนัขในพื้นที่ 7 จังหวัดของภาคตะวันออก ผลการสำรวจแสดงอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้ริคเค็ทเซีย การโรคข้ออักเสบไลม์ เนื่องจากมีสัตว์ขาปล้องดูดเลือดที่เป็นพาหะ ข้อมูลถูกวิเคราะห์นำเสนอในรูปแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อโรคโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแจ้งเตือน สร้างความตระหนัก และการระวังป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคนำโดยแมลงในพื้นที่
Description
Infectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2016)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Infectious Diseases and Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University