ปัจจัยเสี่ยงต่อพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ในหญิงวัยเจริญพันธุ์คู่ ชาวเขาเผ่าอาข่าและลีซอ

dc.contributor.authorธวัชชัย คีรีคามสุขen_US
dc.contributor.authorณัฐจาพร พิชัยณรงค์en_US
dc.contributor.authorวิศิษฎ์ ฉวีพจน์กำจรen_US
dc.contributor.authorพิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุลen_US
dc.contributor.authorดุสิต สุจิรารัตน์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา.en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.en_US
dc.date.accessioned2015-11-27T08:17:11Z
dc.date.accessioned2021-09-20T09:16:29Z
dc.date.available2015-11-27T08:17:11Z
dc.date.available2021-09-20T09:16:29Z
dc.date.created2558-11-17
dc.date.issued2546
dc.descriptionประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง ความเป็นธรรมด้านสุขภาพกับความมั่นคงของมนุษย์: ความท้าทายในงานสาธารณสุข, วันที่ 17-19 ธันวาคม 2546 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546. หน้า 236.en
dc.description.abstractการศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้ว ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าอาข่าและลีซอ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2542 ถึง 31 สิงหาคม 2542 โดยใช้วิธี RPHA (Reverse Passive Hemagglutination) ในการตรวจหา HBsAg ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามและผลการตรวจหา HBsAg ในน้ำเหลือง ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ X2-test (p-value<0.05) และสมการถดถอยลอจิสติกเชิงพหุในการควบคุมตัวแปรภายนอก มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 540 คน จาก 625 คน คิดเป็นร้อยละ 86.40 โดยเป็นเผ่าลีซอ ร้อยละ 30.37 และเผ่าอาข่า ร้อยละ 69.63 ร้อยละ 88.71 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 50.93 เป็นกลุ่มที่มีรายได้ครอบครัวต่ำกว่า 9,999 บาทต่อปี ร้อยละ 96.67 มีอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 51.29 นับถือศาสนาพุทธ และพบว่า ร้อยละ 8.15 เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี หลังจากควบคุมปัจจัยรายได้ครอบครัวต่อปี วิธีการใช้ยาคุมกำเนิด และเผ่าพันธุ์ พบว่า เฉพาะกลุ่มที่มีประวัติการฉีดยาในรอบปีที่ผ่านมาเท่านั้นที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี โดยพบว่า กลุ่มที่มีประวัติการฉีดยา 1-5 เข็ม มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี เป็น 3.80 เท่า (95% CI=1.26-11.48) และกลุ่มที่มีประวัติการฉีดยาเท่ากับหรือมากกว่า 6 เข็ม มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี เป็น 5.46 เท่า (95% CI=1.45-20.58) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีประวัติการฉีดยา ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันว่าควรมีการรณรงค์ให้ใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63613
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectชาวเขาเผ่าอาข่าen_US
dc.subjectชาวเขาเผ่าลีซอen_US
dc.subjectไวรัสตับอักเสบ บีen_US
dc.subjectหญิงวัยเจริญพันธุ์en_US
dc.titleปัจจัยเสี่ยงต่อพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ในหญิงวัยเจริญพันธุ์คู่ ชาวเขาเผ่าอาข่าและลีซอen_US
dc.typeProceeding Posteren_US

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: