Self-reliance group of chemical-free cultivator at Tambon Huay-pra, Amphoe Dontoom, Nakhonpathom province

dc.contributor.advisorSaowapa Pornsiripongse
dc.contributor.advisorIam Thongdee
dc.contributor.advisorRenu Muenjanchoey
dc.contributor.authorChattarin Bunkerd
dc.date.accessioned2025-04-01T03:16:12Z
dc.date.available2025-04-01T03:16:12Z
dc.date.copyright2002
dc.date.created2025
dc.date.issued2002
dc.descriptionRural Development Studies (Mahidol University 2002)
dc.description.abstractThis study is a social science research study using qualitative analysis methods to study self-reliance of chemical-free cultivators in Tambon Huay Phra, Amphoe Dontoom, NakhonPathom Province. The target group of this study was chemical-free cultivators, their family and government officers of the project. This study aimed to study:1) management of chemical-free cultivation groups 2) how self-reliance in chemical-free cultivation works and 3) conditions and factors that lead to self-reliance. The findings of this research are revealing both of the history of this method of cultivation and the operation of this group of farmers as a group. Firstly chemical-free cultivation in Tambon Huay Phra was firstly promoted by NakhonPathom Province agricultural officer through use of clothing screens. Then, in the next period, it was promoted by the private sector in terms of outside clothing screens. The vegetables, mostly cultivated by this group are Chinese kale Chinese cabbage and Morning glory. Secondly chemical-free groups can be self-reliant in some aspects. The cultivators can not be self- reliant in technology in terms of soil preparation, however cultivators can be technologically self- reliant in terms of cultivation, maintenance, harvesting, packaging, and knowledge application. In economic aspects, cultivators can be economically self - reliant in savings, capital raising, production, and product distribution. In natural resource, cultivators can be self-reliant in terms of soil and water. In mind-set aspect, cultivators can be self-reliant in terms of family, group and community. Moreover, cultivators can be socially self-reliant harmonious and interdependent. Last title conditions and factors leading to self -reliance can be divided into internal and external factors. Internal factors are group, organization, leaders and members. External factors are economy, market, green consumption, and private and government support. This research highlights the need for cultivators to establish standard management practices and procedures in order to produce better more, acceptable products and contribute to a more sustainable society. The results of this study will not only be beneficial for further studies but can be a useful guideline.
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาการพึ่งตนเองของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มตัวอย่างดังนี้ คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลห้วยพระ และเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและเอกชนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา 1) ศึกษาลักษณะการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลห้วยพระ 2) ศึกษาลักษณะการพึ่งตนเองของเกษตรกร 3) ศึกษาเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพึ่งตนเองของเกษตรกร ทุกกระบวนการผลิตในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจ และสังคม ผลการศึกษามีดังนี้ 1) การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลห้วยพระ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือระยะแรกได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม เป็นการปลูกผักกางมุ้ง ระยะ ที่สองได้รับการส่งเสริมจากบริษัทเอกชนในรูปแบบของการปลูกผักนอกมุ้ง ชนิดผักที่เกษตรกรเพาะปลูกได้แก่ผัก คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง 2) การพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยีพบว่าเกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในขั้นตอน การเตรียมดิน แต่สามารถพึ่งตนเองได้ในขั้นตอนการเพาะปลูก การบำรุงรักษาผัก การเก็บเกี่ยว การบรรจุภัณฑ์ และการนำภูมิปัญญามาใช้ในการเกษตร การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจพบว่าเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ในทุกด้านในเรื่องของเงินออม แหล่งทุน ผลผลิต และการจัดจำหน่าย การพึ่งตนเองทางด้านทรัพยากรธรรมชาติดิน และ น้ำพบว่าเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ การพึ่งตนเองทางจิตใจในระดับครัวเรือน ชุมชนและกลุ่ม พบว่า เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ การพึ่งตนเองทางด้านสังคมในเรื่องความสามัคคีและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน พบว่าเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ 3) เงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพึ่งตนเองของเกษตรกรแบ่งเป็น 2 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยภายในคือการรวมกลุ่มของเกษตรกร การบริหารจัดการกลุ่ม สมาชิก ลักษณะของกลุ่ม สิ่งแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการพึ่งตนเองได้แก่กระแสการบริโภคผักปลอดสารพิษ สังคม สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และระบบตลาด ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา คือ เกษตรกรควรมีการควบคุมคุณภาพ และรูปแบบการเพาะปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้มีมาตราฐาน เพื่อที่การดำเนินงานปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจะเป็นที่ยอมรับ และได้รับความเชื่อถือทั้งผู้บริโภคและตลาดที่รับซื้อ จะ นำมาซึ่งความยั่งยืนในการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมต่อไป
dc.format.extentix, 112 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.A. (Rural Development Studies))--Mahidol University, 2002
dc.identifier.isbn9740417841
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/107337
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectSelf-reliance
dc.subjectSocial participation
dc.titleSelf-reliance group of chemical-free cultivator at Tambon Huay-pra, Amphoe Dontoom, Nakhonpathom province
dc.title.alternativeการพึ่งตนเองของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/scan/4237765.pdf
thesis.degree.departmentInstitute of Language and Culture for Rural Development
thesis.degree.disciplineRural Development Studies
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Arts

Files