การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวตี้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสูงเนิน ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

dc.contributor.advisorเอี่ยม ทองดี
dc.contributor.authorสรณา อนุสรณ์ทรางกูร
dc.date.accessioned2024-01-25T01:24:21Z
dc.date.available2024-01-25T01:24:21Z
dc.date.copyright2550
dc.date.created2567
dc.date.issued2550
dc.descriptionพัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชุมชนลาวตี้บ้านสูงเนิน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของชุมชนลาวตี้บ้านสูงเนิน ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2475 ชาวลาวตี้เข้ามาครั้งแรก 5 ครอบครัว จากบ้านนาสมอ บ้านอ้อนางเขียว บ้านห้วยกระบอก และตำบลเขาแร้ง จังหวัดราชบุรี และเกิดเป็นชุมชนย่อย 4 กลุ่มที่อยู่ตั้งในหมู่เดียวกัน คือ ชุมชนหนองชะนาง ชุมชนสูงเนิน ชุมชนหนองกง และชุมชนหนองตาโต ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนมีเชื้อสายลาวตี้ และส่วนน้อยเป็นกลุ่มคนไทยพื้นถิ่นราชบุรีและคนไทยเชื้อสายจีน 2) ลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนลาวตี้ มี 10 ลักษณะ คือ ครอบครัวและเครือญาติ การศึกษา ความเชื่อและประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ภาษา ดนตรีและการละเล่น การสาธารณสุข การคมนาคม และเทคโนโลยี วัฒนธรรมเหล่านี้มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบดังนี้คือ แบบก้าวหน้า แบบวิวัฒนาการ แบบพัฒนา แบบกระทำให้เป็นสมัยใหม่ และแบบปฏิวัติ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และปัญหาในชุมชนลาวตี้บ้านสูงเนิน 3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัจจัยและเงื่อนไขภายใน คือ อัตราการขยายตัวของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติลดลง การค้นพบนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ และการเคลื่อนไหวภายในชุมชนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และปัจจัยและเงื่อนไขภายนอก คือ ประชากรที่เพิ่มขึ้นจากการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมที่เข้ามาในชุมชน การดำเนินนโยบายของภาครัฐ และบทบาทของสื่อสารมวลชน และ 4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมี 2 ลักษณะ คือ เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเดิมกับวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ได้แก่ ครอบครัวและเครือญาติ ความเชื่อและประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ภาษา ดนตรีและการละเล่น การสาธารณสุข และเทคโนโลยี และเกิดวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ได้แก่ การศึกษา และการคมนาคมขนส่ง
dc.description.abstractThis research aimed at studying the history, culture, factors and conditions of cultural change and effects in the Lao Ti community at Ban Sungneon. The methodologies of qualitative research used for data collection were observation, indepth interview and focus group discussion. The research revealed that 1) the history of the Lao Ti community began from five families that moved to Nasamor village, Or-nangkiew village, Huaykrabok village and Kaoraeng sub-district in Ratchaburi province, in 1932. Later it became four sub-communities in the same village; Nongchanang community, Sungneon community, Nongkong community, and Nongtato community. Most populations in the community are of the Lao Ti race and a minor population is native people and Thai-Chinese. 2) The culture of the Lao Ti community has 10 characteristics: family and relatives, education, beliefs and customs, economics, politics and government, language, music and play, public health, communication and technology. These cultures have changed in forms of progressiveness, evolution, development, modernization and revolution which bring about benefits and problems to the Lao Ti community at Ban Sungneon. 3) Factors and conditions of cultural change can be understood as having two aspects: inner and outer factors and conditions. The inner factors are the increase of populations, the decrease of natural resources, discovering new innovations and new technology and rapid movement within the community and the outer factors are the increase of populations by marrying with other ethnic groups, expanding of outer cultures to the community, the government policy and the role of mass media. 4) The effects of cultural change have two aspects: the assimilation of the old cultures and new cultures related to family and relatives, beliefs and customs, economics, politics and government, language, music and play, public health and technology and the inclusion of new forms of culture related to education and communication.
dc.format.extentก-ซ, 174แผ่น : แผนที่, แผนภูมิ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93915
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์
dc.subjectลาวตี้ -- การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
dc.titleการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวตี้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสูงเนิน ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
dc.title.alternativeCultural change of Lao Ti ethnic group in Ban Sungneon, Pakchong sub-district, Chombung district, Ratchaburi province, Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4536450.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
thesis.degree.disciplineพัฒนาชนบทศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files