การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

dc.contributor.advisorสมชาติ โตรักษา
dc.contributor.advisorนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์
dc.contributor.authorวุฒิยา แสงสมชัยพิพัฒน์
dc.date.accessioned2024-01-12T04:03:48Z
dc.date.available2024-01-12T04:03:48Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionการบริหารโรงพยาบาล (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractงานเวชศาสตร์ชะลอวัย เป็นศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อป้องกัน ชะลอ และรักษา ความเสื่อมของ ร่างกาย ให้มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ลดภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ ปัญหาคือ ผลการ ดำเนินงานเวชศาสตร์ชะลอวัยที่ผ่านมา ยังไม่ดีทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ เวลาและแรงงานที่ใช้ ความไม่พึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้อง และด้านเศรษฐศาสตร์ ของการดำเนินงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการดำเนินงานเวชศาสตร์ชะลอวัย ตามหลักวิชาการ ในบริบททั่วไป ที่สามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่ทั้งหลาย ให้ประสบความสำเร็จ สู่ความยั่งยืน ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ และ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการในโรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาจากแหล่งข้อมูลคือ หนังสือ ตำรา งานวิจัย อินเทอร์เน็ต แนวปฏิบัติที่ดี และผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การบรรยาย สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า รูปแบบการดำเนินงานเวชศาสตร์ชะลอวัยในบริบททั่วไปที่ พัฒนาขึ้น เป็นหน่วยงานบริการเวชศาสตร์ชะลอวัย แบบคลินิคพิเศษผู้ป่วยนอก ด้วยการนำหลักวิชาการต่างๆที่ เกี่ยวข้องมาประยุกต์ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 5 กลุ่ม 2) มีโครงสร้างที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งโครงสร้างด้านของ ด้านคน ด้านเงิน และโครงสร้างด้านระบบงาน มีผังการไหลเวียนของมาตรฐานการบริการ เวชศาสตร์ชะลอวัย 9 ขั้นตอน 3) มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน ในการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการสู่ความยั่งยืน; ใน ด้านการเตรียมความพร้อม เพื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการในโรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ พบว่า แบบการศึกษาที่เหมาะสมคือการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบสองกลุ่ม ทดลอง-ควบคุม วัดผลก่อนและหลังการ ทดลอง เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือ โดยทำการวิเคราะห์รูปแบบเดิม หาสิ่งที่เป็นจุดเด่น และส่วนที่ต้อง พัฒนา ให้เป็นรูปแบบการดำเนินงานเวชศาสตร์ชะลอวัยที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลกรุงเทพ นำไปทดลองใช้จริง โดยมีการติดตามประเมินผลแล้วนำมาปรับปรุงเป็นระยะๆในขณะที่ดำเนินการทดลองอย่างต่อเนื่อง เสนอแนะให้ พัฒนาต่อไป เพื่อให้ได้ "ตัวแบบ" ของงานเวชศาสตร์ชะลอวัยระดับอาเซียน อย่างยั่งยืน
dc.description.abstractThe Anti-Aging field is a medical science to prevent and retard the aging process as well as extending one's lifespan and well-being. It also decreases the expense of chronic disease and healthcare for the elderly. The problems are poor overall operation, in which quantity, quality, time and consumed labour, stakeholder satisfaction, and the economics of the work. This study aimed to develop the working model of Anti-Aging theoretically in a general context, which would be able to be implemented in various places successfully and sustainably within the available resources. Furthermore, it is essential to prepare the newly developed model for implementation in Bangkok Hospital's Headquarters. This study is a descriptive study from books, textbooks, research, internet and good practice. Anti-Aging experts analysed the data by description, descriptive statistics and content analysis. They discovered that the working model of Anti-Aging in general, which was developed to be the Anti-Aging Center-Special OP, by applying related theories, consisted of 1) Work model principle in 6 groups 2) Solid written organizations such as the Manpower organization, Cost organization and Work System organization with an Anti-Aging standard workflow in 9 steps 3) Distinct procedures to implement newly developed models to the continuous sustainable working process and preparation to implement the newly developed model in Bangkok Hospital's Headquarters, revealed that a suitable study is The Experimental Development Research, with two groups in a pre-test and post-test design. It aims for high standard performance by analysing the old working model, searching for prominent features as well as weak points and be adjusted to be the Anti-Aging working model, which is suitable for practical use in Bangkok Hospital's Headquarters. Follow up was by evaluations and periodical improvements while conducting the experiment. Further development is recommended to gain a sustainable ASEAN Anti-Aging œRole Model
dc.format.extentก-ซ, 161 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92549
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการชะลอวัย
dc.subjectคลินิก
dc.subjectเวชศาสตร์ขะลอวัย
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย
dc.title.alternativeDevelopment of working model at Anti-aging Center
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/510/5636535.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการบริหารโรงพยาบาล
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files