แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลในห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประชามงคลจังหวัดกาญจนบุรี
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 97 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
พฤทธิพงษ์ ทรัพย์มงคล แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลในห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประชามงคลจังหวัดกาญจนบุรี . สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91982
Title
แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลในห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประชามงคลจังหวัดกาญจนบุรี
Alternative Title(s)
Additional western music course guidelines and organization for lower secondary classrooms in Prachamongkol school, Kanchanaburi province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่อง "แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลในห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนประชามงคลจังหวัดกาญจนบุรี" เป็นงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลเรื่องการอ่านโน้ตสากลไปพร้อมกับการปฏิบัติเครื่องดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนวัดดอนมะโนรา (รังสิยานุกูล) จังหวัดสมุทรสงคราม และ (2) เสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลเรื่องการอ่านโน้ตสากลไปพร้อมกับการปฏิบัติเครื่องดนตรี สำหรับห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับโรงเรียนประชามงคลจังหวัดกาญจนบุรี การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตัวอย่างทำโดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนจำนวน 1 ท่าน และการสังเกตชั้นเรียนแบบไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นให้เนื้อหามีความสอดคล้องกับองค์ประกอบการสอนตามหลักการบริหารงานวิชาการ สำหรับการเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลเรื่องการอ่านโน้ตสากลไปพร้อมกับการปฏิบัติเครื่องดนตรี ในห้องเรียนดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการ ประยุกต์ใช้วิธีการของโรงเรียนตัวอย่างให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมดนตรีสากลของโรงเรียนตัวอย่างมีเนื้อหาทางดนตรีที่เข้มข้น การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน เอกสารประกอบการสอน และสื่อการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติดนตรีและมีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังลักษณะเด่นที่สำคัญประการหนึ่งคือการใช้บทเพลงไทยเดิมในการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล สำหรับแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนประชามงคล จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการประยุกต์ใช้วิธีการของโรงเรียนตัวอย่างโดยมีการปรับให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเป้าหมาย
This study employed a qualitative approach to collecting primary data from a selected school sample in order to plan a successful music class at the target school. The obj ectives of this study were as follows: first, to study western music course structure, classroom approaches and materials in teaching musical instrument performance using sheet music for lower secondary students at Wat Don Manora Rangsiyanukul School, Samutsongkhram province; and second, to create additional western music course guidelines and organization for lower secondary classroom in Prachamongkol School, Kanchanaburi Province. Research methods included semi-structured interview question guides and observational checklists, which were developed based on the principles of academic administration. Primary data were collected through interviews with the teacher of the course and non-participatory observation of a music classroom. The findings of this study indicate that the class offered rigorous music content in which learning outcomes, class activities, assignments and materials were well planned in a way that supported student learning. One unique feature of the class teaching approach was the use of traditional Thai music pieces as a medium for western music learning. Guidelines for organization and course management at the target school were developed based on the achievement of the school sample and the context of the target school.
This study employed a qualitative approach to collecting primary data from a selected school sample in order to plan a successful music class at the target school. The obj ectives of this study were as follows: first, to study western music course structure, classroom approaches and materials in teaching musical instrument performance using sheet music for lower secondary students at Wat Don Manora Rangsiyanukul School, Samutsongkhram province; and second, to create additional western music course guidelines and organization for lower secondary classroom in Prachamongkol School, Kanchanaburi Province. Research methods included semi-structured interview question guides and observational checklists, which were developed based on the principles of academic administration. Primary data were collected through interviews with the teacher of the course and non-participatory observation of a music classroom. The findings of this study indicate that the class offered rigorous music content in which learning outcomes, class activities, assignments and materials were well planned in a way that supported student learning. One unique feature of the class teaching approach was the use of traditional Thai music pieces as a medium for western music learning. Guidelines for organization and course management at the target school were developed based on the achievement of the school sample and the context of the target school.
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล