การศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
dc.contributor.author | จรวยพร สุภาพ | en_US |
dc.contributor.author | ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา | en_US |
dc.contributor.author | พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | Jarueyporn Suparp | en_US |
dc.contributor.author | Chaiwat Wong-Arsa | en_US |
dc.contributor.author | Pimsurang Taechabunsermsak | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-01-26T01:54:02Z | |
dc.date.accessioned | 2020-10-12T06:57:15Z | |
dc.date.available | 2016-01-26T01:54:02Z | |
dc.date.available | 2020-10-12T06:57:15Z | |
dc.date.created | 2543-01-26 | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการทดลองให้บริการสุขภาพจิตผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม 2 รูป แบบ คือรูปแบบเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และรูปแบบผสมผสาน โดยการให้บริการแก่ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อส่งออก 2 โรงงาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 433 คน ระยะเวลาดำเนินการให้บริการการทดลองตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2541 ถึง มกราคม 2542 และระยะเวลาการประเมินผลโครงการ กุมภาพันธ์ 2542 ถึง มกราคม 2543 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของปัญหาสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยความเครียด คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเริมสุขภาพ ระหว่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับบริการสุขภาพจิตเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และแบบผสมผสาน ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในโครงการ การรับรู้ประโยชน์ของโครงการ ความคิดเห็นในการดำเนินการโครงการ ความคิดเห็นโครงการที่เหมาะสมต่องาน และการรับรู้ต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการทำงานของตนเองหลังเข้าร่วมโครงการระหว่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับบริการสุขภาพจิตเป็นหน่วยเคลื่อนที่ และแบบผสมผสาน หลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนปัญหาสุขภาพจิต คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของทั้งกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่และแบบผสมผสาน หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 เดือน ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 เดือน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของทั้ง 2 กลุ่ม เพิ่มขึ้น แต่กลุ่มแบบผสมผสานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยความเครียดของทั้ง 2 กลุ่ม หลังการทดลองทันทีลดลงจากของก่อนการทดลอง แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 เดือน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 6 เดือนของทั้ง 2 กลุ่ม คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม หลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการทดลองทันทีกลุ่มแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโครงการ การรับรู้ประโยชน์ของโครงการต่อตนเอง ความคิดเห็นในการดำเนินโครงการต่อไป การรับรู้ต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการทำงานของตนเอง สูงกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นโครงการที่เหมาะสมต่อคนงานไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง 6 เดือนกลุ่มแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโครงการ ความคิดเห็นในการดำเนินโครงการต่อไป สูงกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ว่าโครงการได้มีการดำเนินการต่อเนื่องโครงการที่สิ้นสุดไปของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่สูงกว่าของกลุ่มแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่ารูปแบบการบริการสุขภาพจิตทั้ง 2 รูปแบบ คือเป็นหน่วยเคลื่อนที่และแบบผสมผสาน สามารถส่งเสริมสุขภาพจิตกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้คล้ายคลึงกัน แต่กลุ่มตัวอย่างได้รับบริการสุขภาพจิตแบบผสมผสานมีความพึงพอใจโครงการอยากให้โครงการดำเนินการต่อไป การรับรู้ประโยชน์ของโครงการมากกว่าของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า การรับรู้ความเหมาะสมของโครงการต่อคนงานทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกัน และการรับรู้การดำเนินการต่อเนื่องของโครงการของกลุ่มเป็นหน่วยเคลื่อนที่มีมากกว่า ดังนั้นแสดงว่าคนงานมีความพึงพอใจและรับรู้ประโยชน์ของโครงการแบบผสมผสานมากกว่า แต่ความเป็นไปได้ของความต่อเนื่องของโครงการเป็นหน่วยเคลื่อนที่มีมากกว่า | en_US |
dc.description.abstract | The study of mental health service models for factory workers is a quasi experimental research which provided mental health services to factory workers. The models which had been serviced from February 1998 to January 1999 with 433 factory workers from 2 export garment factories in Pharkkreth district, Nonthaburi province, were categorized into 2 models, namely mobile and comprehensive services. Subsequently, mental health problem ratio, the average score of mental health, stress and health promoting behaviour were calculated chronologically from the beginning, the end to the 6th following month after the end of the services provided. Moreover, the service satisfactory, the service advantage perception, the service practice and suitability opinions, factory worker acknowledgement of their own physical health, mental health and work condition after the service participation would be compared between the mobile and the comprehensive services attended workers As a result, the mental health problem ratio and the mental health average score of the mobile and comprehensive service workers declined significantly at the end and the 6th following month after the end of the services compared to the beginning of the research. However, the mental health average score at 6th following month after the end of the service grew up from those at the end of the practice, with a significant increase in the mental health average score of the comprehensive service group. The stress average score of both sample groups at the end of the services were slightly lower than those at the beginning. Also, there were a significant decrease of the stress average score at the 6th following month after the end of the service compared to at the beginning. However, they were no statistical difference between stress average score at the end and those at the 6th following month after the end of the services in both sample group. The health promoting behaviour average score of both sample groups at the end and the 6th following month after the and significantly increased from those at the beginning. At the and of the services, the average score of the service satisfactory, the service advantage perception, the service practice opinion, the acknowledgement of worker’s physical health, mental health and work condition after the service participation of comprehensive group were significantly higher than those of the mobile group. However, the service suitability opinion were similar. At the 6th following month after the service ended, the average score of the service satisfactory and the service practice opinion of the comprehensive service group were significantly higher than those of the mobile service group, whereas the average score of the continuation services perception among the mobile service group was significantly higher than that of the comprehensive service group In conclusion, both mental health service models, namely, mobile and comprehensive services, are similar in mental health promotion. However, the service satisfactory, the service advantage perception of comprehensive service group was higher than those of the mobile service group, whereas the service suitability opinion was similar in both service groups. The continuation of the service perception was higher in the mobile group. Therefore, the perception of service continuation feasibility of the mobile service group was higher, whereas the perceptions of the service satisfactory and service advantages were higher in the comprehensive service group. | |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินปี พ.ศ.2541 และ 2542 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59356 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | รูปแบบการให้บริการสุขภาพจิต | en_US |
dc.subject | ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม | en_US |
dc.subject | Mental Health Service Model | en_US |
dc.subject | Factory Worker | en_US |
dc.title | การศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพจิตผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม | en_US |
dc.title.alternative | The Study of Mental Health Service Models for Factory Workers | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
mods.location.copyInformation | https://library.mahidol.ac.th/record=b1136928 |
Files
License bundle
1 - 1 of 1