การให้ความหมายต่อประเด็นด้านศาสนาซึ่งส่งผลต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส เรื่อง ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 147 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
จิรกร ปิฎกรัชต์ การให้ความหมายต่อประเด็นด้านศาสนาซึ่งส่งผลต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส เรื่อง ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99550
Title
การให้ความหมายต่อประเด็นด้านศาสนาซึ่งส่งผลต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส เรื่อง ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2
Alternative Title(s)
The meanings of religion having an influence on film broadcasting : a case study of Thai independent film Thi-Baan the series 2.2
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้ความหมายในประเด็นด้านศาสนาที่ส่งผลต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2 โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) วิเคราะห์ภาพยนตร์ด้วยทฤษฎีสัญวิทยา และ 2) สัมภาษณ์เชิงลึกกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์จำนวน 3 ท่าน และ ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2 จำนวน 2 ท่าน ในประเด็นอุดมการณ์และการให้ความหมายประเด็นศาสนาในภาพยนตร์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีมายาคติ เพื่อหาคติความเชื่อทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงนำ แนวคิดมิติทางวัฒนธรรมเรื่องระยะห่างเชิงอำนาจของฮอฟสเตดเข้ามาอภิปรายบทบาทการพิจารณาภาพยนตร์ของคณะกรรมการฯ ร่วมด้วยจากการวิเคราะห์ภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2 ด้วยทฤษฎีสัญวิทยาพบว่าภาพยนตร์มีการเล่าเรื่องเพื่อสะท้อนความเป็นจริงในสังคม ตัวละครทุกตัวสะท้อนความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่จริงในสังคม ในส่วนของการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ด้วยทฤษฎีมายาคติ พบว่าผู้ผลิตภาพยนตร์มีคติความเชื่อทางวัฒนธรรมเรื่องการประกอบสร้างความเป็นจริง และยังมีคติความเชื่อเรื่องการชี้ปัญหาในสังคม ส่วนคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีคติความเชื่อเรื่องการปกป้องการรับรู้ของประชาชนเพื่อยกระดับศีลธรรมอันดีของสังคม ผู้วิจัยยังพบว่าช่องว่างระหว่างอำนาจส่งผลให้การรับรู้ต่อกระบวนการพิจารณาภาพยนตร์ของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกัน
This qualitative research has an objective to study the interpretation of religious issue in Thi-Baan The Series 2.2 which affects the distribution of the film. The study was conducted through 1) the film semiotic analysis and 2) the in-depth interview with three committee members from The Film Censorship Board and 2 producer-directors of Thi- Baan The Series 2.2 in the aspects of ideal and meanings given to the religious issue appearing on the film. The data from the interview were analyzed with the mythology concept. Moreover, the concept of power distance in Hofstede's cultural dimensions was used to analyze the role of The Film Censorship Board. The finding from the film semiotic analysis demonstrates the realistic narrative that reflects a social fact. All characters show the reality of human life in a society. The results from the in-depth interviews reveals that the producer-directors have two beliefs: to construct social reality and to point out the social problems. On the contrary, the censorship committee believe in protecting the people's perception in order to raise public morals. The researcher also found that power distance between The Film Censorship Board and the film producers shapes different perceptions of censorship process.
This qualitative research has an objective to study the interpretation of religious issue in Thi-Baan The Series 2.2 which affects the distribution of the film. The study was conducted through 1) the film semiotic analysis and 2) the in-depth interview with three committee members from The Film Censorship Board and 2 producer-directors of Thi- Baan The Series 2.2 in the aspects of ideal and meanings given to the religious issue appearing on the film. The data from the interview were analyzed with the mythology concept. Moreover, the concept of power distance in Hofstede's cultural dimensions was used to analyze the role of The Film Censorship Board. The finding from the film semiotic analysis demonstrates the realistic narrative that reflects a social fact. All characters show the reality of human life in a society. The results from the in-depth interviews reveals that the producer-directors have two beliefs: to construct social reality and to point out the social problems. On the contrary, the censorship committee believe in protecting the people's perception in order to raise public morals. The researcher also found that power distance between The Film Censorship Board and the film producers shapes different perceptions of censorship process.
Description
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล