ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาโรคต้อหินเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตาของผู้สูงอายุ
dc.contributor.advisor | พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ | |
dc.contributor.advisor | ปรารถนา สถิตย์วิภาวี | |
dc.contributor.advisor | นริศ กิจณรงค์ | |
dc.contributor.author | เรวดี สุราทะโก | |
dc.date.accessioned | 2024-01-13T05:17:08Z | |
dc.date.available | 2024-01-13T05:17:08Z | |
dc.date.copyright | 2557 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | การพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557) | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษา โรคต้อหินเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้สูงอายุโรค ต้อหิน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาโรคต้อ หินเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบ สัมภาษณ์ตัวแปรตามดังนี้ ความรู้เรื่องโรคต้อหิน การรับรู้ความรุนแรงของโรคต้อหินชนิดเรื้อรัง การรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อการเพิ่มระดับความดันลูกตา ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับ ความดันลูกตา ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจากการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันลูกตา และการช่วยเหลือของผู้ดูแลหลัก โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของตัว แปรตามระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติ Independent-t tested และ paired t-tested ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล รักษาโรคต้อหินเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา มีความรู้เรื่องโรคต้อหิน การรับรู้ความรุนแรงของโรคต้อหิน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเพิ่มระดับความดันลูกตา ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตัว เพื่อควบคุมระดับความดันลูกตา ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจากการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุม ระดับความดันลูกตา และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันลูกตา สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < 0.05 จากผลการวิจัย ควรมีการประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุกลุ่มโรคทางตาอื่นๆ เพื่อส่งเสริม พฤติกรรมในการดูแลตนเอง และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลัก ทำให้ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี | |
dc.description.abstract | The objective of this study was to explore the effects of the self-care behavior promotion program, based on the application of motivation theory for disease prevention of diseases in the elderly with glaucoma. This study was quasi-experimental research. The 60 samples were divided into 2 groups, the experimental group and the control group. The experimental group participated in the self-care behavior promotion program, while the control group received standard of nursing care. The data were collected by using 1) the interview form with respect of perceived severity of chronic glaucoma 2) perceived susceptibility of higher intraocular pressure 3) self-efficacy expectations in performing behaviors to control intraocular pressure 4) expectations on the effectiveness of feedback from performing behaviors to control intraocular pressure 5) behaviors to control intraocular pressure and 6) the assistance of main caregivers. The data were analyzed by using the independent t-test and paired t-test The findings of the study revealed that the experimental group, which participated in the self-care behavior promotion program, had higher mean scores of perceived severity of chronic glaucoma, perceived susceptibility of higher intraocular pressure, self-efficacy expectations in performing behaviors to control intraocular pressure, expectations on effectiveness of feedback from performing behaviors to control intraocular pressure, and behaviors to control intraocular pressure significance than the control group (p < .05). Based on the results of the study, it was recommended that the program be applied to provide care for elderly patients with other eye diseases in order to promote self-care behaviors and the participation of main caregivers. This would enable the elderly to perform behaviors appropriate to their diseases and have a good quality of life. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 161 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92590 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ต้อหิน -- การรักษา | |
dc.subject | ความดันในลูกตา | |
dc.subject | ต้อหิน | |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาโรคต้อหินเพื่อควบคุมระดับความดันลูกตาของผู้สูงอายุ | |
dc.title.alternative | The effect of self-care behavior promotion program for intraocular pressure control among the elderly with glaucoma | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2556/cd484/5236304.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |