ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี
dc.contributor.advisor | วาทินี บุญชะลักษี | |
dc.contributor.advisor | กาญจนา ตั้งชลทิพย์ | |
dc.contributor.author | ฐิติพร สีวันนา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:37Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:37Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนะให้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ข้อมูลการสำรวจโครงการกาญจนบุรี พ.ศ.2547 เก็บข้อมูลโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 4,277 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ไคสแควส์และการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ประชากรที่ศึกษามีพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายถึงร้อยละ 96.5 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วงวัยสูงอายุตอนกลางและตอนปลาย ไม่ได้เรียนหนังสือ ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ มีหนี้สินในครัวเรือน อยู่ร่วมกับสมาชิกในครัวเรือนมากกว่า 3 คนขึ้นไป อาศัยในเขตชนบท และอยู่ในหมู่บ้านที่มีคนไม่ออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ พฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ ปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อม คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่อยู่อาศัย และร้อยละการไม่ออกกำลังกายของคนในหมู่บ้าน ตัวแปรทุกตัวในการศึกษานี้สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 21.04 (Pseudo R-square = 0.2104) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุขั้นตอน พบว่า ร้อยละการไม่ออกกำลังกายของคนในหมู่บ้านเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุได้ดีที่สุด คือร้อยละ 11.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนควรร่วมมือกันในการส่งเสริมความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ นอกจากนี้ควรจัดกิจกรรมการออกกำลังกายแบบกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนและครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายกับผู้สูงอายุ ตลอดจนจัดสรรเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการออกกาลังกาย และจัดสถานที่รวมทั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 105 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93595 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย | |
dc.subject | การออกกำลังกาย | |
dc.subject | ผู้สูงอายุกับการออกกำลังกาย | |
dc.subject | กายบริหาร | |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี | |
dc.title.alternative | Factors affecting on non-exercising of the elderly in Kanchanaburi Demographic Surveillance System | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd462/5336444.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.discipline | วิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |