พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการตีบซ้ำหลังใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ

dc.contributor.advisorพรรณวดี พุธวัฒนะ
dc.contributor.advisorขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ
dc.contributor.authorศันสนีย์ ดำรงค์ศิลป
dc.date.accessioned2024-01-22T01:42:33Z
dc.date.available2024-01-22T01:42:33Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionการพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาข้อมูลทางคลินิก พฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้สาเหตุของการตีบซ้ำและแนวทางการป้องกันการตีบซ้ำหลังใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ ของผู้ป่วยที่มารับการสวนหัวใจแล้วพบการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย ทุกรายที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ในช่วงเวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2559) จำนวน 22 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่พัฒนาจากแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดแดงแข็งระดับทุติยภูมิของสมาคมโรคหัวใจและสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และบันทึกข้อมูลทางคลินิกจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ร้อยละ 77.3 โดยหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจด้านขวาและด้านหน้าซ้ายเกิดการตีบซ้ำร้อยละ 45.5 เท่ากัน การรักษาที่ได้รับคือการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดต่อเนื่อง ร้อยละ 50 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลตรวจผิดปกติ เช่น ค่าน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงสูง (ร้อยละ 55.6) ไขมันชนิดเลวหรือแอลดีแอลสูง (ร้อยละ 75) ไขมันชนิดดีหรือเอชดีแอลต่า (ร้อยละ 57.1) มีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้านพบว่ามีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีด้านการเลิกบุหรี่และไม่อยู่ในที่มีควันบุหรี่ และด้านการรับประทานยา มีพฤติกรรมการดูแลตนเองปานกลางด้านการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ ด้านกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ด้านการติดตามการรักษาและการปฏิบัติตนตามแผนการรักษา และด้านการจัดการความเครียดและภาวะซึมเศร้า และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่ดีด้านจิตสังคมและการแสวงหาความช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย ส่วนใหญ่รับรู้สาเหตุของการตีบซ้ำว่าเกิดจากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บกพร่อง และวางแผนปรับปรุงพฤติกรรมนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเป็นแนวทางในการวางแผนการจาหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ
dc.description.abstractThe purpose of this descriptive research is to study about clinical data, self-care behavior, perceived causes of in-stent restenosis and an in-stent restenosis prevention plan among patients who have in-stent restenosis, who underwent cardiac catheterization at Pramongkutklao hospital. The 22 participants who met the inclusion criteria, during July 2015 to January 2016, were enrolled in the study. Self-care behavior was structured interviewed based on the guideline for secondary prevention and risk reduction therapy for patients with coronary and other atherosclerotic vascular disease. Clinical data was recorded from the computer based and cardiac catheterization records. Open ended questions were asked for perceived causes of in-stent restenosis and the in-stent restenosis prevention plan. Data was analysed by descriptive statistics and content analysis. It was shown that, the majority of the participants (77.3%) had triple- vessel disease and the in-stent restenosis were equal between right coronary artery and left anterior descending in 45.5 percent. The treatment that most of the participants got was continue antiplatelet drugs. Abnormal laboratory investigations of the participants were high haemoglobinA1c (55.6 percent), high levels of low-density lipoprotein (75%), and low levels of high-density lipoprotein for 57.1 percent of the participants. The total self - care behavior average score was at a moderate level. The good self - care behavior, were the part of smoking cessation and avoiding smoking areas, and the part of drugs consumption behavior. The average score, which is at a moderate level, were part of food consumption/nutrition status, physical activities/exercise and rest behaviors, treatment adherence/following the treatment plan behaviors, and stress/depression management behaviors. The part, which had the lowest score, was psychosocial support and seeking help behaviors. Most of the participants perceived that the in-stent restenosis were due to their poor self-care behaviors and they planned
dc.format.extentก-ซ, 130 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93332
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์, โรค
dc.titleพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการตีบซ้ำหลังใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ
dc.title.alternativeSelf-care behavior among patients with coronary in-stent restenosis
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/510/5636586.pdf
thesis.degree.departmentคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
thesis.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files