ระยะเวลาการเฝ้าระวังและสังเกตอาการในห้องพักฟื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มารับการระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจตาแบบผู้ป่วยนอก
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
เพ็ญศิริ พุ่มหิรัญ, พิชญา ธัญภัทรกุล, ยุพยงค์ มิ่งโอโล, วิชญา ศุภโอภาสพันธุ์, Pensiri poomhirun, Pichaya Thanyaphattarakun, Yupayong Mingolo, Witchaya Supaopaspan (2564). ระยะเวลาการเฝ้าระวังและสังเกตอาการในห้องพักฟื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มารับการระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจตาแบบผู้ป่วยนอก. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79788
Title
ระยะเวลาการเฝ้าระวังและสังเกตอาการในห้องพักฟื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มารับการระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจตาแบบผู้ป่วยนอก
Other Contributor(s)
Abstract
การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นนั้นสามารถใช้หลักเกณฑ์ได้
2 แบบคือ 1) การใช้ลักษณะความพร้อมทางกายภาพเป็นตัวชี้วัด (Criteria
Based Discharge; CBD) 2) การใช้เวลาเป็นตัวกำหนด (Time Based
Discharge; TBD) ซึ่งนโยบายของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ป่วยจะต้องครบทั้ง
CBD และครบทั้ง TBD คือเวลา 1 ชั่วโมง ดังนั้นในห้องพักฟื้นของห้องผ่าตัด
ตาบางวันจะมีผู้ป่วยจำนวนมากสุดถึง 25 รายต่อวัน จึงเกิดปัญหาจำนวนเตียง
ในห้องพักฟื้นไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตอาการ
ในห้องพักฟื้นจนครบ 1 ชั่วโมง ถึงแม้จะฟื้นตัวดีและครบ CBD แล้วก็ตาม
หลายการศึกษาก่อนหน้าพบว่าการใช้ CBD สามารถลดระยะเวลาการพักใน
ห้องพักฟื้นได้เมื่อเทียบกับการใช้ TBD และมีความปลอดภัย การศึกษานี้ จึงมี
วัตถุประสงค์เพื่อหาเวลาเฉลี่ยในห้องพักฟื้นของผู้ป่วยที่ครบ CBD เพื่อนำมา
เปรียบเทียบกับ TBD ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และยังต้องการหาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วย
มีการฟื้นตัวช้า รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างพักฟื้นอีกด้วย
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 144