Factors affecting voice therapy outcome in adults with voice disorders
Issued Date
2015
Copyright Date
2015
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 96 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Communication Disorders))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Tipwaree Aueworakhunanan Factors affecting voice therapy outcome in adults with voice disorders. Thesis (M.Sc. (Communication Disorders))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94072
Title
Factors affecting voice therapy outcome in adults with voice disorders
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีผลต่อผลของการฝึกพูดในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ
Author(s)
Abstract
The purpose of this research was to examine factors affecting voice therapy outcome and to investigate the direct and indirect factors affecting quality of life in adults with voice disorders at the speech clinic in Ramathibodi Hospital. The subjects consisted of 36 patients with voice disorders. All subjects received 10 sessions of voice therapy, each session 30 minutes per week. The voice therapy program consisted of vocal hygiene education, breathing exercise, muscle relaxation and others. Voice therapy outcome was measured by using the Grade, Instability, Roughness, Breathiness, Asthenicity, and Strain (GIRBAS) criteria and Dr. Speech program and quality of life was measured by using the Voice Handicap Index version in Thai. Obtained data were analyzed by using Descriptive and Inferential statistics (Chi-square test, Fisher's Exact test, Independent t-test and Mann-Whitney test). It was found that the voice quality after voice therapy was significant better than before therapy (p < 0.001). The factors, such as severity of voice disorders, voice usage, accuracy and progression of voice therapy at speech clinic were significantly affected by voice therapy outcomes (p = 0.006, 0.016, 0.021 and 0.009 respectively). The quality of life after voice therapy was significantly better than before voice therapy (p < 0.001). Only duration of voice disorders, an indirect factor was affected by quality of life (p = 0.040). This finding suggested that, speech and language pathologists should consider these factors during voice therapy in adults with voice disorders.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการฝึกพูดและปัจจัยทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ ที่คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 36 ราย ระยะเวลาในการฝึกพูด 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 30 นาที ด้วยวิธี การให้คำแนะนำการรักษาสุขอนามัยเส้นเสียง การฝึกหายใจ การบริหารผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น แล้ววัดผลการฝึกพูดโดยวัดคุณภาพเสียงจากเกณฑ์ Grade, Instability, Roughness, Breathiness, Authenticity, and Strain (GIRBAS) และจากโปรแกรม Dr. Speech และวัดผลคุณภาพชีวิตจากการตอบแบบสอบถาม The voice handicap index ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วย Chi-square test, Fisher's Exact test, Independent t-test และ Mann-Whitney test ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพเสียงหลังการฝึกพูดดีขึ้นกว่าก่อนการฝึกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และปัจจัยที่มีผลต่อผลของการฝึกพูด คือ ระดับความรุนแรงของเสียงผิดปกติปริมาณการใช้เสียง ความถูกต้องในการฝึกพูดที่คลินิกฝึกพูดและความก้าวหน้าในการฝึกพูดที่คลินิกฝึกพูด (p = 0.006, p = 0.016, p = 0.021 และ p = 0.009 ตามลำดับ) ส่วนคุณภาพชีวิตหลังการฝึกพูดดี ขึ้นกว่าก่อนการฝึกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต พบว่า มีเพียงปัจจัยทางอ้อมปัจจัยเดียว คือ ระยะเวลาของการเกิดเสียงผิดปกติมีผลต่อคุณภาพชีวิต (p = 0.040) จากการศึกษาครั้งนี้ เห็นว่า นักแก้ไขการพูดควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ในช่วงการฝึกพูดในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการฝึกพูดและปัจจัยทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ ที่คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 36 ราย ระยะเวลาในการฝึกพูด 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 30 นาที ด้วยวิธี การให้คำแนะนำการรักษาสุขอนามัยเส้นเสียง การฝึกหายใจ การบริหารผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น แล้ววัดผลการฝึกพูดโดยวัดคุณภาพเสียงจากเกณฑ์ Grade, Instability, Roughness, Breathiness, Authenticity, and Strain (GIRBAS) และจากโปรแกรม Dr. Speech และวัดผลคุณภาพชีวิตจากการตอบแบบสอบถาม The voice handicap index ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วย Chi-square test, Fisher's Exact test, Independent t-test และ Mann-Whitney test ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพเสียงหลังการฝึกพูดดีขึ้นกว่าก่อนการฝึกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และปัจจัยที่มีผลต่อผลของการฝึกพูด คือ ระดับความรุนแรงของเสียงผิดปกติปริมาณการใช้เสียง ความถูกต้องในการฝึกพูดที่คลินิกฝึกพูดและความก้าวหน้าในการฝึกพูดที่คลินิกฝึกพูด (p = 0.006, p = 0.016, p = 0.021 และ p = 0.009 ตามลำดับ) ส่วนคุณภาพชีวิตหลังการฝึกพูดดี ขึ้นกว่าก่อนการฝึกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต พบว่า มีเพียงปัจจัยทางอ้อมปัจจัยเดียว คือ ระยะเวลาของการเกิดเสียงผิดปกติมีผลต่อคุณภาพชีวิต (p = 0.040) จากการศึกษาครั้งนี้ เห็นว่า นักแก้ไขการพูดควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ในช่วงการฝึกพูดในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ
Description
Communication Disorders (Mahidol University 2015)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Degree Discipline
Communication Disorders
Degree Grantor(s)
Mahidol University