Enhancing self-care ability and quality of life among rural-dwelling Thai elders with type2 diabetes through a self-help group : a participatory action research approach
Issued Date
2023
Copyright Date
2009
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 247 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2009
Suggested Citation
Arissara Sukwatjanee Enhancing self-care ability and quality of life among rural-dwelling Thai elders with type2 diabetes through a self-help group : a participatory action research approach. Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2009. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89209
Title
Enhancing self-care ability and quality of life among rural-dwelling Thai elders with type2 diabetes through a self-help group : a participatory action research approach
Alternative Title(s)
การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในชนบททีเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองโดยกลุ่มช่วยเหลือตนเอง : การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Author(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อการส่งเสริม ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ตลอดจนศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การเข้ากลุ่ม ช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุไทยในชนบทที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมที่มีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้ทฤษฎีวิพากษ์สังคมเป็นกรอบแนวคิดที่จะเสริมพลัง ผู้สูงอายุในชนบทที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองให้พ้นจากสภาพด้อยโอกาสที่เป็นอยู่ไปสู่สภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ร่วมวิจัย 20 คนถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้าน แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อเข้าร่วมประชุมกลุ่มเดือนละสองครั้งเป็นเวลาหกเดือน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณจากแบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง แบบวัดคุณภาพชีวิตและปริมาณน้ำตาลในเลือดก่อน รับประทานอาหารเช้าด้วยสถิติวิเคราะห์ความแตกต่างแบบ paired-samples t test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การสนทนากลุ่มและการสังเกตด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเองเป็นเวลา 6 เดือน ผู้ร่วมวิจัยมีคะแนนความสามารถใน การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทาน อาหารเช้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผู้ร่วมวิจัยยังรับรู้ถึงประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือ ตนเองว่าทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตดีขึ้น การได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ท้องถิ่นและการรับรู้ว่าตนเองมีพลังอำนาจได้ทำให้มีการควบคุมตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจที่จะบริหาร จัดการกับโรคเบาหวานที่เป็นอยู่ การรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถในการดูแลตนเองได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ ตามผู้อื่นเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือกลุ่มช่วยเหลือ ตนเองในรูปแบบการช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุในชนบทที่เป็น โรคเบาหวานชนิดที่สอง และสมควรนำไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพชุมชนต่อไป
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University