ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว : กรณีศึกษาในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดกาญจนบุรี
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 104 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
เจตพล แสงกล้า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว : กรณีศึกษาในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93424
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว : กรณีศึกษาในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท จังหวัดกาญจนบุรี
Alternative Title(s)
Factors associated with exclusive breastfeeding : a case study in a semi-urban area, Kanchanaburi
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และ ลักษณะทางด้านประชากรและเศรษฐกิจของมารดา ด้านสุขภาพแม่และเด็กและด้านความรู้ ทัศนคติและการ วางแผนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะทางประชากรและ เศรษฐกิจของมารดา ด้านสุขภาพแม่และเด็ก และด้านความรู้ ทัศนคติและการวางแผนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ มารดา กับช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 3) เพื่อวิเคราะห์พหุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อช่วง ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดา โดยศึกษาเชิงปริมาณและใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก โครงการวิจัยเรื่องย่อย เรื่องการศึกษาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อแบบแผนและพฤติกรรม ทางด้านโภชนาการของแม่และเด็ก (2555) กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มีบุตรอายุ 0-2 ปี จำนวน 219 คน ผลการศึกษา พบว่า มารดามีอายุเฉลี่ย 27.3 ปี โดยมารดาวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี พบร้อยละ 11.4 ส่วนระยะเวลาเฉลี่ยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดา ประมาณ 32 วัน มีมารดาร้อยละ16.4 ที่เลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 3 เดือนขึ้นไป และมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนานครบ 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้น จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Chi-square) พบว่า ตัวแปรอาชีพ ระดับรายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือน ของมารดา ช่วงอายุครรภ์ที่เข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรก การผ่าตัดคลอด ระยะเวลาการหยุดทำงานหลังคลอดของ มารดาและการวางแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง เดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตามแบบจำลอง (Logistic Regression Analysis) พบว่า ระดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนของมารดา ระยะเวลาการหยุดทำงานหลังคลอด ของมารดา และความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดามีความสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ของมารดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานทางด้านสุขภาพในพื้นที่ควรมีการสร้างความเข้าใจและให้ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและให้ความรู้และสอนมารดาตั้งครรภ์ทุก รายเกี่ยวกับการบีบนมแม่ ให้รู้จักวิธีเก็บรักษานมแม่ไว้ให้ลูกอย่างถูกต้องกรณีที่แม่ต้องกลับไปทำงาน
The objectives of this research were to 1) investigate the exclusive breastfeeding situation, demographic and economic characteristics of mothers, health of mothers and children, and mothers' knowledge, attitude and planning for breastfeeding; 2) analyze the correlation between factors regarding demographic and economic characteristics of mothers, health of mothers and children, and mothers' knowledge, attitude and planning for breastfeeding, and duration of exclusive breastfeeding; and 3) analyze multiple influential factors during exclusive breastfeeding. This research was quantitative research and relied on secondary information from the minor research project on SocioCultural Factors Influencing Mother and Child Nutrition and Behavioral Patterns (2012). The sample group involved 219 mothers with children aged 0-2 years. The results showed that the average age of mothers was 27.3 years. About 11.4% of the sample were teenager mothers younger than 20. The average duration of exclusive breastfeeding was 32 days. About 16.4% of mothers gave the exclusive breastfeeding longer than 3 months, and only 5.3% of mothers gave exclusive breastfeeding for 6 months. According to chi-square analysis, the career, monthly family income of mothers, gestational age when receiving the first prenatal service, cesarean section, maternal leave after delivery, and planning for breastfeeding were correlated with the duration of exclusive breastfeeding at the statistical level of 0.05. According to the logistic regression analysis, the average monthly family income of mothers, maternal leave after delivery, and mothers' knowledge about breastfeeding were significantly correlated with the duration of breastfeeding. It is recommended that a policy be developed so that the local health agencies provide good understanding and knowledge about the advantages of exclusive breastfeeding, educate and teach all pregnant women about manual expression, and breast milk storing.
The objectives of this research were to 1) investigate the exclusive breastfeeding situation, demographic and economic characteristics of mothers, health of mothers and children, and mothers' knowledge, attitude and planning for breastfeeding; 2) analyze the correlation between factors regarding demographic and economic characteristics of mothers, health of mothers and children, and mothers' knowledge, attitude and planning for breastfeeding, and duration of exclusive breastfeeding; and 3) analyze multiple influential factors during exclusive breastfeeding. This research was quantitative research and relied on secondary information from the minor research project on SocioCultural Factors Influencing Mother and Child Nutrition and Behavioral Patterns (2012). The sample group involved 219 mothers with children aged 0-2 years. The results showed that the average age of mothers was 27.3 years. About 11.4% of the sample were teenager mothers younger than 20. The average duration of exclusive breastfeeding was 32 days. About 16.4% of mothers gave the exclusive breastfeeding longer than 3 months, and only 5.3% of mothers gave exclusive breastfeeding for 6 months. According to chi-square analysis, the career, monthly family income of mothers, gestational age when receiving the first prenatal service, cesarean section, maternal leave after delivery, and planning for breastfeeding were correlated with the duration of exclusive breastfeeding at the statistical level of 0.05. According to the logistic regression analysis, the average monthly family income of mothers, maternal leave after delivery, and mothers' knowledge about breastfeeding were significantly correlated with the duration of breastfeeding. It is recommended that a policy be developed so that the local health agencies provide good understanding and knowledge about the advantages of exclusive breastfeeding, educate and teach all pregnant women about manual expression, and breast milk storing.
Description
วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Degree Discipline
วิจัยประชากรและสังคม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล