ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี : ศึกษาในแนวทางทฤษฎีความผูกพันทางสังคม ทฤษฎีการควบคุมตนเอง และทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน

dc.contributor.advisorชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี
dc.contributor.advisorอุนิษา เลิศโตมรสกุล
dc.contributor.authorพระมหาสมชาย จำปาทอง
dc.date.accessioned2024-01-16T00:52:54Z
dc.date.available2024-01-16T00:52:54Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง และปัจจัยการคบหาสมาคมที่แตกต่างกันที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรีและเพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเรือนจำพิเศษธนบุรี จำนวน 254 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ(Multiple Linear Regression) พบว่า ผู้ต้องขังฯ ส่วนใหญ่มีอายุโดยเฉลี่ย 31 ปี มีอายุโดยเฉลี่ยในขณะกระทำความผิด 30 ปี นับถือศาสนาพุทธ ได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 19,030 บาท อยู่กับภรรยาโดยมิได้สมรส มีบุตรด้วยกันโดยเฉลี่ย 2 คน และพ่อแม่อยู่ด้วยกัน มีสภาพครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกันดี การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม โดยเฉพาะความผูกพันกับครอบครัว ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเองทั้ง 6 ด้าน ปัจจัยทางการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านความถี่-บ่อย มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรฝึกการควบคุมตนเองด้วยการรักษาศีล 5 หรือปฏิบัติตามหลักพระบัญญัติ สร้างความผูกพันในครอบครัวด้วยการปลูกความรักความเมตตาบนพื้นฐานของปัญญา ละเว้นการคบคนชั่วมุ่งคบคนดีเป็นมิตร และเรือนจำพิเศษธนบุรีและเรือนจำอื่นๆควรเน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจของผู้กระทำผิดด้วยการ ฝึกอบรมกรรมฐาน
dc.description.abstractThis research was to study factors of social bond, self-control, and differential association affecting crimes against property of inmates in the Thonburi Remand prison and to investigate preventive approaches and corrections of crimes against property among these inmates. 254 inmates convicted of crimes against property in the Thonburi Remand prison were the samples. The statistical applications were frequency, percentage, standard deviation, means, maximum values, minimum values, correlation analysis and multiple linear regression analysis. Most inmates were 31 years old, on average, while their average ages at time of the offense was 30 years old. The majority was Buddhist and educated at primary level. They earned their living by being general laborers with an average income of 19,030 Baht a month. They cohabited with their wives without registering their marriage certificate as expanded families with two children on average and with their parents. They had warmly harmonized families. The test of hypotheses revealed that the factors of social bonds particularly the family bond, the factors of self-control in six areas, the factors of differential association, especially frequency of association, affected crimes against property with A statistical significance at α 0.05 level. Recommendations are there should be training on self-control by abiding in the five precepts or following the Buddhist doctrines, building the family bond through cultivating affection and kindness founded on wisdom, avoiding association with the wicked persons, but associating and befriending virtuous persons. Also, the Thonburi Remand prison and other prisons should emphasize mental development for offenders with training in ascetic meditation.
dc.format.extentก-ฌ, 168 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92903
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการควบคุมตนเอง
dc.subjectทฤษฎีการสังสรรค์จำแนกแตกต่าง
dc.subjectนักโทษ -- ไทย
dc.subjectความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี : ศึกษาในแนวทางทฤษฎีความผูกพันทางสังคม ทฤษฎีการควบคุมตนเอง และทฤษฎีการคบหาสมาคมที่แตกต่างกัน
dc.title.alternativeFactors affecting crime against property of offenders in the Thonburi Remand Prison : using social bonds, self-control and differential association theories
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5536433.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files