คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัด
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
128 หน้า, Full Text (Intranet only)
Access Rights
restricted access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
วัลยา โชติการณ์ (2565). คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัด. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109728
Title
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัด
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
โรคหลอดเลือดขอดในสมอง (arteriovenous malformation) เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในเนื้อสมองและไม่ผ่านระบบหลอดเลือดฝอย (capillary) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด จะเห็นเป็นกลุ่มของหลอดเลือดที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดงต่อเข้ากับกลุ่มหลอดเลือดผิดปกติ จากนั้นก็จะไหลออกทางหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ โรคหลอดเลือดขอดในสมองเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ถึง 12.7% หากมีการแตกของหลอดเลือดขอดในสมองขึ้น (ruptured arteriovenous malformation) และพบการเกิดโรคได้ถึง 0.14% ของประชากรโลก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมาพบแพทย์โดยมีกลุ่มอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแตก ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งเกิดขึ้นทันที ในบางรายอาจหมดสติถ้าเลือดออกมามากจนเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่ (hematoma) นอกจากนั้นอาจมีอาการผิดปกติ เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติไปของสมองบริเวณที่หลอดเลือดแตก เช่น อาการอ่อนแรง ชาของแขนและขา พูดไม่ได้ และกลุ่มอาการหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติไปกดเบียดสมองทำให้เกิดความดันสูงในสมอง เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว อัมพาต มีการสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถึงขั้นรุนแรงจนสมองบวม อาจเกิดอาการชัก และเสียชีวิตได้ การรักษาโรคหลอดเลือดขอดในสมอง โดยทั่วไปใช้วิธีการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ศัลยกรรม ในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น จึงได้มีการนำวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาใช้ในการรักษาคือ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการตรวจหลอดเลือดสมองในขณะผ่าตัด (intraoperative cerebral angiogram) ซึ่งเป็นการผ่าตัดด้วยการฉีดสารทึบรังสีไปตามหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบของผู้ป่วยในขณะผ่าตัดโดยรังสีแพทย์ เป็นการตรวจสอบกายวิภาคและยืนยันตำแหน่งของหลอดเลือดให้ชัดเจนที่สุด เพื่อให้ประสาทศัลยแพทย์ตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกได้หมด ครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดยิ่งขึ้น และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย และกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วมากที่สุด สถิติการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram ของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 ได้แก่ 7 ราย 1 ราย 6 ราย 4 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ ซึ่งการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีขั้นตอนการผ่าตัดที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ระยะในการผ่าตัดยาวนาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น ภาวะตกเลือดในสมอง (intracerebral hemorrhage) ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure : IICP) เนื่องจากก้อนเลือดและกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองไปกดเบียดภาวะสมองบวมจนอาจเกิดอาการชักและหมดสติหรือเสียชีวิตได้ และการผ่าตัดนี้เป็นการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ รังสีแพทย์ พยาบาลรังสีร่วมรักษา ต้องใช้เครื่องมือสำหรับการผ่าตัดจำนวนมาก เช่น เครื่องมือพิเศษสำหรับผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดเลือดสมอง คีมหนีบหลอดเลือดสมอง อุปกรณ์สำหรับใส่สายสวนบริเวณขาหนีบเพื่อตรวจดูกายวิภาคหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของพยาบาลห้องผ่าตัด ปัจจุบันหน่วยงานยังไม่มีคู่มือปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัดนี้ จึงจัดทำขึ้นสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดในหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์และผู้ที่สนใจ โดยเนื้อหาสาระประกอบด้วยการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีคือผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด