SI-Work Manual

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/78

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 305
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้เครื่องบรรจุสารเภสัชรังสี MecMurphil รุ่น FastDOSE
    (2566) บันฑิตา อรุณวิภาดา
    คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การใช้เครื่องบรรจุสารเภสัชรังสี MecMurphil รุ่น FastDOSE จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้เครื่องบรรจุสารเภสัชรังสีได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการใช้งาน การทำความสะอาด รวมถึงการดูแลเครื่องบรรจุสารเภสัชรังสี MecMurphil รุ่น FastDOSE
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การสังเคราะห์สารเภสัชรังสีชนิด 18 F-Fluorocholine โดยใช้เครื่อง Sumitomo CFN-MPS200
    (2566) ญาณี กาฬกาญจน์
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การสังเคราะห์สารเภสัชรังสีชนิด 18 F-Fluorocholine โดยใช้เครื่อง Sumitomo CFN-MPS200 เป็นคู่มือในการเตรียมสารเภสัชรังสีชนิด F-Fluorocholine โดยใช้เครื่อง Sumitomo CFN-MPS200 ของศูนย์ไซโคลตรอนศิริราช ภายในห้องสะอาดปลอดเชื้อ (clean room) สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สารเภสัชรังสีชนิด 18 F-Fluorocholine โดยใช้เครื่อง Sumitomo CFN-MPS200 ไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับการวินิจฉัย กำหนดระยะโรคและการวางแผนการรักษา การประเมินผลการรักษาและการตรวจวินิจฉัยการกลับมาเป็นซ้ำของโรคได้ และเพื่อใช้เป็นคู่มือ เอกสารการสอนสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ
  • Item
    คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน
    (2564) จีรพรรณ เลิศวงศ์สกุล; นุสรา ศรีศรัยมณี
    คู่มือฉบับนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal Uterine Bleeding) ซึ่งเป็นภาวะที่พบบ่อยในทางนรีเวชกรรม โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนโดยเฉพาะ เนื้อหาจัดทำขึ้นอย่างละเอียดและเป็นระบบ โดยรวบรวมจากองค์ความรู้ทางการแพทย์และการพยาบาลที่ทันสมัย ผนวกกับประสบการณ์ทางคลินิกของผู้จัดทำ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการดูแลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกระดับคุณภาพการบริการ และสร้างความปลอดภัยสูงสุดให้แก่ผู้ป่วย ภายในคู่มือประกอบด้วยแนวทางการพยาบาลตามกระบวนการ ตั้งแต่การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ทั้งทางด้านร่างกาย เช่น การประเมินปริมาณเลือดที่ออก อาการปวด และสัญญาณชีพ ไปจนถึงการประเมินสภาวะทางจิตใจและสังคม เช่น ความวิตกกังวลและความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังให้แนวทางการวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลที่สำคัญ เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาฮอร์โมน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การปฏิบัติตัว และการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์ โดยเน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Care) ทั้ง 4 มิติ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความมั่นใจและสามารถมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดแบบส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery) ในผู้ป่วยนรีเวช
    (2567) วิรันตรี พันชูกลาง
    ปัจจุบัน ความก้าวหน้าในทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจรักษาและช่วยในการผ่าตัดเพื่อความสะดวก ลดขั้นตอนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเสริมสุขภาพเป็นอย่างมาก การส่องกล้องเพื่อการตรวจรักษาอวัยวะภายใน เป็นเทคโนโลยีในการตรวจรักษา ที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน มีแผลเล็ก ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัดและสามารถใช้ได้ในหลายระบบ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจ/ผ่าตัดระบบสืบพันธุ์เพศหญิง การส่องกล้องเพื่อการตรวจ/ผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ การส่องกล้องเพื่อการตรวจ/ผ่าตัด ระบบ หู ตา คอ จมูก การส่องกล้องเพื่อการผ่าตัดทางช่องท้อง การส่องกล้องเพื่อการผ่าตัดปอด การส่องกล้องเพื่อการผ่าตัดกระดูกและกล้ามเนื้อ และการส่องกล้องเพื่อการตรวจ/ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น การผ่าตัดแบบส่องกล้องทางหน้าท้องในผู้ป่วยหญิงในประเทศไทยได้พัฒนาไปใกล้เคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในระยะแรกเริ่มการผ่าตัดด้วยกล้องทางหน้าท้องไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักจึงเป็นเพียงการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยและให้การรักษาโรคในอุ้งเชิงกรานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การทำหมันเท่านั้น แต่ในระยะหลังได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ และวิธีผ่าตัดจนสามารถทำการผ่าตัดที่ซับซ้อนมากขึ้น ในปัจจุบัน การผ่าตัดแบบส่องกล้องทางหน้าท้องในผู้ป่วยหญิงได้มีการพัฒนาอย่างมากจนสามารถใช้ผ่าตัดทางนรีเวชได้เกือบทุกชนิด และกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม เนื่องจากสามารถใช้เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาในคราวเดียวกัน แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า ระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลสั้น และระยะฟื้นตัวหลังผ่าตัดสั้น
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัด
    (2565) วัลยา โชติการณ์
    โรคหลอดเลือดขอดในสมอง (arteriovenous malformation) เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในเนื้อสมองและไม่ผ่านระบบหลอดเลือดฝอย (capillary) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด จะเห็นเป็นกลุ่มของหลอดเลือดที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดงต่อเข้ากับกลุ่มหลอดเลือดผิดปกติ จากนั้นก็จะไหลออกทางหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ โรคหลอดเลือดขอดในสมองเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ถึง 12.7% หากมีการแตกของหลอดเลือดขอดในสมองขึ้น (ruptured arteriovenous malformation) และพบการเกิดโรคได้ถึง 0.14% ของประชากรโลก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมาพบแพทย์โดยมีกลุ่มอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแตก ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งเกิดขึ้นทันที ในบางรายอาจหมดสติถ้าเลือดออกมามากจนเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่ (hematoma) นอกจากนั้นอาจมีอาการผิดปกติ เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติไปของสมองบริเวณที่หลอดเลือดแตก เช่น อาการอ่อนแรง ชาของแขนและขา พูดไม่ได้ และกลุ่มอาการหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติไปกดเบียดสมองทำให้เกิดความดันสูงในสมอง เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว อัมพาต มีการสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถึงขั้นรุนแรงจนสมองบวม อาจเกิดอาการชัก และเสียชีวิตได้ การรักษาโรคหลอดเลือดขอดในสมอง โดยทั่วไปใช้วิธีการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ศัลยกรรม ในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น จึงได้มีการนำวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาใช้ในการรักษาคือ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการตรวจหลอดเลือดสมองในขณะผ่าตัด (intraoperative cerebral angiogram) ซึ่งเป็นการผ่าตัดด้วยการฉีดสารทึบรังสีไปตามหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบของผู้ป่วยในขณะผ่าตัดโดยรังสีแพทย์ เป็นการตรวจสอบกายวิภาคและยืนยันตำแหน่งของหลอดเลือดให้ชัดเจนที่สุด เพื่อให้ประสาทศัลยแพทย์ตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกได้หมด ครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดยิ่งขึ้น และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย และกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วมากที่สุด สถิติการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram ของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 ได้แก่ 7 ราย 1 ราย 6 ราย 4 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ ซึ่งการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีขั้นตอนการผ่าตัดที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ระยะในการผ่าตัดยาวนาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น ภาวะตกเลือดในสมอง (intracerebral hemorrhage) ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure : IICP) เนื่องจากก้อนเลือดและกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองไปกดเบียดภาวะสมองบวมจนอาจเกิดอาการชักและหมดสติหรือเสียชีวิตได้ และการผ่าตัดนี้เป็นการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ รังสีแพทย์ พยาบาลรังสีร่วมรักษา ต้องใช้เครื่องมือสำหรับการผ่าตัดจำนวนมาก เช่น เครื่องมือพิเศษสำหรับผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดเลือดสมอง คีมหนีบหลอดเลือดสมอง อุปกรณ์สำหรับใส่สายสวนบริเวณขาหนีบเพื่อตรวจดูกายวิภาคหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของพยาบาลห้องผ่าตัด ปัจจุบันหน่วยงานยังไม่มีคู่มือปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัดนี้ จึงจัดทำขึ้นสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดในหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์และผู้ที่สนใจ โดยเนื้อหาสาระประกอบด้วยการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีคือผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การบันทึกปัญหาเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบสารสนเทศบนระบบ Enterprise Helpdesk
    (2567) มลฤดี พึ่งสวัสดิ์
    ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้มีเสถียรภาพ มั่นคง และปลอดภัยได้ตามมาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยเอื้ออำนวยให้กระบวนการปฏิบัติงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทายาลัยมหิดล เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งด้านบริการทางการแพทย์ การศึกษา การวิจัย และวิชาการ พัฒนาระบบฐานข้อมูลของคณะฯ ทุกๆ ด้านให้ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทั้งข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลการบริหาร พัฒนาความรู้ด้านสารสนเทศแก่บุคลากรในคณะฯ ดูแลระบบสารสนเทศให้ดำเนินการได้ตลอดเวลาและ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้การบริการของฝ่ายสารสนเทศไม่หยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หรือ ระบบสารสนเทศของฝ่ายสารสนเทศ จึงได้มีการจัดตั้งทีมรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Helpdesk เพื่อให้บริการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ โดยหน้าที่ความรับผิดชอบหลักคือ การให้คำปรึกษาแนะนำ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้งานรวมถึงการบันทึกรายละเอียดเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขเหตุขัดข้อง สาเหตุของเหตุขัดข้อง ลงบนระบบ Enterprise Helpdesk เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินการเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ฝ่ายสารสนเทศสามารถนำข้อมูลที่มีการจัดเก็บมาวิเคราะห์ปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง และรวดเร็ว เป็นการลดเวลาในการแก้ไข และเป็นการลดปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทั้งนี้ฝ่ายสารสนเทศจึงมีการจัดหาโปรแกรม เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลการรับแจ้งปัญหาหรือเหตุขัดข้องระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ โดยได้มีการนำระบบ Enterprise Helpdesk มาใช้งานเพื่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ใช้งาน (User) ในการติดต่อเพื่อแจ้งปัญหา และติดตามเหตุขัดข้องรวมทั้งเป็นระบบที่ช่วยในการจัดการการรับแจ้งปัญหาเหตุขัดข้อง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในฝ่ายสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้องในการให้บริการหรือแก้ไขปัญหาเหตุขัดข้องต่างๆ ของฝ่ายสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้น คู่มือปฏิบัติงานการบันทึกปัญหาเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศบนระบบ Enterprise Helpdesk เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของทีมรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Helpdesk และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน สามารถดำเนินการงานเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน
  • Item
    คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดอบรมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (IT Security Awareness)
    (2567) นงนุช โกสียรัตน์
    ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ISO/IEC 27001 : 2013 โดยคณะฯ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กร ไปสู่ระดับสากล ในปัจจุบัน การใช้สื่อสารสนเทศ เพื่อการบริหารและดำเนินการพันธกิจด้านต่าง ๆ ของคณะฯ เป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีบทบาทสำคัญจนกลายเป็นแกนสำคัญ (Backbone) ที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งของการใช้งานระบบสารสนเทศ คือ ความน่าเชื่อถือ (Trusted) ที่ต้องมีทั้ง Confidentiality, Integrity และ Availability และการทำงานในระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล ตามมาตรฐาน ISO 27001: 2013 ซึ่งในมาตรการการลดความเสี่ยงนั้น จะต้องมีทั้งเครื่องมือ แนวทางปฏิบัติ และบุคลากรที่ทำหน้าที่ตามกระบวนการ Cyber Security Framework Identity, Protect, Detect, Response และ Recover และจุดอ่อนที่องค์กรอาจจะเกิดการถูกโจมตีได้นั้นก็คือ การ Protect ในระดับ บุคลากร หรือ User ของระบบ ซึ่งสามารถเข้าถึง (Access) ระบบสารสนเทศได้ตามสิทธิ และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หากบุคลากรซึ่งจะต้องใช้งานระบบสารสนเทศทั้งในการทำงาน และส่วนตัวละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยสารสนเทศ ก็จะเป็นช่องทางการโจมตี หรือรั่วไหลของระบบ ผ่านการใช้งานของบุคลากร เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ลดความเสี่ยง และสร้างความตระหนักรู้ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้กับบุคลากรคณะฯ ฝ่ายสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการสร้างกระบวนการเรียนรู้ประเมินความรู้ และสะท้อนกลับ ให้กับบุคลากร ครอบคลุมทั้งองค์กร ในการนี้ เพื่อการขับเคลื่อนพันธกิจดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ และตามประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทราบจรรยาบรรณบุคลากรและวิธีการพัฒนาบุคลากร ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน พ.ศ. 2564 ซึ่งในปัจจุบันบุคลากรคณะฯ มีจำนวน 16,563 คน ฝ่ายสารสนเทศได้ดำเนินการจัดอบรมให้บุคลากรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 12,647 คน ทั้งนี้ งานบริการสารสนเทศและฝึกอบรม ฝ่ายสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีทักษะในการบริหารจัดการอบรมที่มีความซับซ้อน และต้องมีความละเอียดรอบคอบ ในการจัดทำเนื้อหาการสอน การนำเนื้อหาเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนออนไลน์และการวัดผลประเมินผล พร้อมทั้งสามารถรายงานผลการอบรมให้กับบุคลากรรับทราบทั้งระดับตนเอง หน่วยงานและระดับคณะฯ ผู้จัดจึงจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การจัดอบรมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (IT Security Awareness) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานของหน่วยงาน ซึ่งได้รวบรวม ระเบียบ ประกาศ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง