การศึกษาความคาดหวังและคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 149 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
รวิญญู อุทัย การศึกษาความคาดหวังและคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ . วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91890
Title
การศึกษาความคาดหวังและคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
Alternative Title(s)
A study of expectancy and valence of outcomes of public welfare smart card project on people state
Author(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่องการศึกษาความคาดหวังและคุณค่าความพึงพอใจในผลลัพธ์ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความหวังประสิทธิภาพจากความพยายามต่อผลงาน (Effort Performance Expectancy) และระดับความคาดหวังผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน (Performance-Outcome Expectancy) 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความคาดหวังและความพึงพอใจ ภายใต้คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence of Outcomes) ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.เพื่อศึกษาระดับคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence of Outcomes) และเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ถือบัตรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ตามแนวคิดของครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ 0.829 สถิติวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบความแตกต่างใช้สถิติแบบ t - test, F -Test และ การเปรียบเทียบความแตกต่างและจัดลำดับ ใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลวิจัย ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในช่วง มากกว่า 50 ปี ขึ้นไป สถานภาพ สมรส (คู่) ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด ปริญญาตรีหรือสูงกว่า ประกอบอาชีพค้าขาย/กิจการส่วนตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,000 - 5,000 บาท ตามลำดับ ในส่วนความคาดหวังของผู้มีสิทธิ์ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเป้ าหมายมีระดับความหวังประสิทธิภาพจากความพยายามต่อผลงาน (Effort Performance Expectancy) มากกว่าระดับความคาดหวังผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน (Performance-Outcome Expectancy) ตามลำดับ ผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นต่อความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจภายใต้คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence of Outcomes) โดยมีความคาดหวังสูงสุดในระดับมากและมีความพึงพอใจสูงสุดในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับความคาดหวังและความพึงพอใจภายใต้คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence of Outcomes) ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และ รายได้ต่อเดือนมีผลต่อความคาดหวังต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน และความแตกต่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความพึงพอใจต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน ผลเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ความคาดหวังและความพึงพอใจภายใต้คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence of Outcomes) ต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้ใช้บริการมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจ โดยมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างสูงสุดในด้านเงื่อนไขบัตรและการใช้บัตร และ ภาพรวมค่า PNI Modified หรือดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมีค่า PNI Modified เท่ากับ 0.118
The research aimed to 1) study the effort performance expectancy and performance-outcome expectancy, 2) compare the differences between personal factors with expectancy and satisfaction on valence of outcomes toward public welfare smart card project on people-state, and 3) study the valence of outcomes level and compare expectancy and valence towards public welfare smart card project on peoplestate especially in Bangkok. A quantitative method using survey research was employed. Data were collected using questionnaire from 400 persons in Bangkok metropolitan area. Testing thereliability of the research instrument was based on Cronbach Alpha Formula for 30 samples tested for reliability. The data were analyzed using descriptive statistics: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Quantitative Data Analysis t-test, F -Test, and Modified Priority Needs Index (PNI Modified) at 0.05 significance level. The results indicated that most of the respondents were female over 50 years old, married, bachelor's degree graduates, and having their own business with a monthly income around 3,000 - 5,000 baht. In the expectancy of earning beneficiary by using public welfare smart card, the target groups had higher effort performance expectancy than performanceoutcome expectancy, respectively. Card holder review had higher level in expectancy than valence of outcomes with the highest expectancy and the highest valency in the medium. Research results of hypothesis testing showed that personal factors, expectancy and valence of outcomes such as marital status, education level, and monthly income, had an impact on the expectancy of public welfare smart card project on people-state especially in Bangkok. Personal factors and educational level affected the valency of public welfare smart card project on people-state .Also, the results showed that the average of card holder's expectancy was higher than valence of outcomes. The average difference rate was revealed in terms of card terms and conditions and card usage. Entirely, total PNI or Index Ordering Modified value equally needed should be at 0.118.
The research aimed to 1) study the effort performance expectancy and performance-outcome expectancy, 2) compare the differences between personal factors with expectancy and satisfaction on valence of outcomes toward public welfare smart card project on people-state, and 3) study the valence of outcomes level and compare expectancy and valence towards public welfare smart card project on peoplestate especially in Bangkok. A quantitative method using survey research was employed. Data were collected using questionnaire from 400 persons in Bangkok metropolitan area. Testing thereliability of the research instrument was based on Cronbach Alpha Formula for 30 samples tested for reliability. The data were analyzed using descriptive statistics: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Quantitative Data Analysis t-test, F -Test, and Modified Priority Needs Index (PNI Modified) at 0.05 significance level. The results indicated that most of the respondents were female over 50 years old, married, bachelor's degree graduates, and having their own business with a monthly income around 3,000 - 5,000 baht. In the expectancy of earning beneficiary by using public welfare smart card, the target groups had higher effort performance expectancy than performanceoutcome expectancy, respectively. Card holder review had higher level in expectancy than valence of outcomes with the highest expectancy and the highest valency in the medium. Research results of hypothesis testing showed that personal factors, expectancy and valence of outcomes such as marital status, education level, and monthly income, had an impact on the expectancy of public welfare smart card project on people-state especially in Bangkok. Personal factors and educational level affected the valency of public welfare smart card project on people-state .Also, the results showed that the average of card holder's expectancy was higher than valence of outcomes. The average difference rate was revealed in terms of card terms and conditions and card usage. Entirely, total PNI or Index Ordering Modified value equally needed should be at 0.118.
Description
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล