ศึกษาความพึงพอใจของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 193 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
สุมาลี สว่างสุขสกุล ศึกษาความพึงพอใจของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93919
Title
ศึกษาความพึงพอใจของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
A study on the level of satisfaction of people with physical disability regarding architectural accessibility for hospitals in the Bangkok area
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาล ความแตกต่างระหว่างปัจจัยของคนพิการ ระดับการศึกษา ระดับความพิการ และเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวกับความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาล ระดับความพึงพอใจของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน และ สังเกตการณ์เกี่ยวกับ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาลที่คนพิการทางการเคลื่อนไหวกลุ่มตัวอย่าง ไปใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคนพิการทางการเคลื่อนไหวจากประชากรด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Circular systematic sampling)เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจและแบบสังเกตสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาลระหว่างลักษณะทางประชากรที่มีระดับการศึกษา เครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว ที่แตกต่างกันและทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ที่แตกต่างกัน (Multiple Comparison) โดยวิธีแอล เอสดี (LSD) ผลการศึกษาพบว่าคนพิการมีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสถาปัตยกรรมในโรงพยาบาล ในระดับปานกลาง คนพิการมีความพึงพอใจต่อโรงพยาบาลเอกชน แตกต่างกับโรงพยาบาลรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทีระดับ0.05 คนพิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันส่วนระดับความพิการ และ ลักษณะเครื่องช่วยในการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนต้องเร่งดำเนินการปรับปรุง และแก้ไขคือ หมวดอาคาร ทางเดินจากบริเวณภายนอกเข้าสู่อาคาร ป้ายบอกทาง ทางลาด มือจับปิดเปิดประตู ปุ่มกดเรียกลิฟต์และปุ่มบังคับลิฟท์ ภายในลิฟท์ ที่ พื้นที่ในห้องส้วม อ่างล้างมือมีมือจับปิดเปิดประตุเป็นชนิดก้าน หมวดสถานที่ ที่สำหรับจอดรถคนพิการ มีที่จอดรถสำหรับคนพิการและเพียงพอ มีเส้นสีบอกทางที่มองเห็นชัดเจนไปยังห้องต่างๆ กรณีมีสิ่งกีดขวางที่จำเป็นบนทางเดินจัดให้อยู่ในแนวเดียวกัน มีช่องจ่ายเงินสำหรับเก้าอี้เข็นคนพิการอย่างน้อย 1 ช่องมีความกว้างรถเข็นเข้าได้สะดวก หมวดบริการสาธารณะ กรณีฝาปิดท่อระบายน้ำเป็นชนิดตะแกรง มีซี่หรือรูเล็ก ทางลาดมีความลาดเอียง รถเข็นสามารถขึ้นลงได้เอง ขนาดตัวอักษรที่เขียนบนป้ายมีความเหมาะสมกับระยะทางและความลาดเอียง โต๊ะหรือเคาน์เตอร์มีที่ว่างข้างใต้ให้เก้าอี้เข็นคนพิการสอดเข้าได้ มีผัง (Directory) แสดงให้ทราบถึงข้อมูลสถานที่/ห้องต่างๆ เครื่องโทรศัพท์มีที่ว่างให้เก้าอี้เข็นคนพิการสอดเข้าได้ พื้นที่ภายในตู้โทรศัพท์ (นอกอาคาร) สามารถให้รถเข็นใช้ได้ หมวดสัญลักษณ์. คนพิการทางการเคลื่อนไหวมีสัญลักษณ์สีขาวรูปคนพิการทางกายหรือทางการเคลื่อนไหวบนเก้าอี้เข็นคนพิการหันหน้าออกทางขวามือพื้นที่สีฟ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละไม่น้อยกว่า 10 ซม. และควรมีการวิจัยเกี่ยวกับคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในพื้นที่ที่เป็นชนบท หรือชุมชนแออัด
This study was survey research that studied level of satisfaction of people with physical disability regarding architectural accessibility to hospitals in Bangkok, area, and the associated difference in education level, degree of physical disability, and movement supporting tools, and observe the architectural accessibility of hospitals in the Bangkok area, Thailand. The sample group was composed of 123 people with physical disability, obtained with the circular systematic sampling method. The reliability value of satisfaction was 0.70. The descriptive statistics percentage, frequency, mean, and standard deviation were used. Inferential statistics, One Way ANOVA and t-test were employed for testing, the differences of education level, degree of disability, movement supporting tools, and between government hospitals and private hospitals. Least significant difference (LSD) was used for Multiple Comparison. The findings found that people with physical disability had a satisfaction at a moderate level for architectural accessibility of hospitals. They were satisfied with private hospitals more than government hospitals, with statistical significance at a level of 0.05. The difference in education level did not cause a difference in satisfaction (statistical significance at level .05), but difference in degree of disability, and tool use caused difference in their satisfaction, with a statistical significance at the level of 0.05. From research findings, it can be seen that public and private health care settings rapidly need to modify facilities for persons with disability. The following areas have been identified. a) Buildings: divided into 1) wheelchair accessibility: the entrance to the building, doors and door handles, slopes, signposts (to toilet, cafeteria, elevator etc.); 2) elevators: controlled-buttons, inside area; 3) toilets for disabled persons: area, basin, door handles. b) Location: sufficient disabled parking, providing clear colored lines throughout the building, appropriate wheelchair accessibility in the building, payment area for wheelchair users. c) Public services: focus more on accessibility for wheelchair users, such as providing safe covers of drainage ditches, slop level and size of signposts appropriate to wheelchair users, having space for wheelchair under counter or tables, information directory boards, disabled telephone booths. d) Disabled symbols: for physical and mobility impairment friendly areas, appropriate symbols area required. Additional research on physical and mobility impairment is required in rural and slum areas.
This study was survey research that studied level of satisfaction of people with physical disability regarding architectural accessibility to hospitals in Bangkok, area, and the associated difference in education level, degree of physical disability, and movement supporting tools, and observe the architectural accessibility of hospitals in the Bangkok area, Thailand. The sample group was composed of 123 people with physical disability, obtained with the circular systematic sampling method. The reliability value of satisfaction was 0.70. The descriptive statistics percentage, frequency, mean, and standard deviation were used. Inferential statistics, One Way ANOVA and t-test were employed for testing, the differences of education level, degree of disability, movement supporting tools, and between government hospitals and private hospitals. Least significant difference (LSD) was used for Multiple Comparison. The findings found that people with physical disability had a satisfaction at a moderate level for architectural accessibility of hospitals. They were satisfied with private hospitals more than government hospitals, with statistical significance at a level of 0.05. The difference in education level did not cause a difference in satisfaction (statistical significance at level .05), but difference in degree of disability, and tool use caused difference in their satisfaction, with a statistical significance at the level of 0.05. From research findings, it can be seen that public and private health care settings rapidly need to modify facilities for persons with disability. The following areas have been identified. a) Buildings: divided into 1) wheelchair accessibility: the entrance to the building, doors and door handles, slopes, signposts (to toilet, cafeteria, elevator etc.); 2) elevators: controlled-buttons, inside area; 3) toilets for disabled persons: area, basin, door handles. b) Location: sufficient disabled parking, providing clear colored lines throughout the building, appropriate wheelchair accessibility in the building, payment area for wheelchair users. c) Public services: focus more on accessibility for wheelchair users, such as providing safe covers of drainage ditches, slop level and size of signposts appropriate to wheelchair users, having space for wheelchair under counter or tables, information directory boards, disabled telephone booths. d) Disabled symbols: for physical and mobility impairment friendly areas, appropriate symbols area required. Additional research on physical and mobility impairment is required in rural and slum areas.
Description
งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล