อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยาความกังวลจากการใช้ยาผลข้างเคียงและระยะเวลาการรักษาต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด
dc.contributor.advisor | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ | |
dc.contributor.advisor | วิชชุดา เจริญกิจการ | |
dc.contributor.advisor | วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย | |
dc.contributor.author | ฉัตรสุรางค์ ขำรักษ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T02:36:07Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T02:36:07Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนายเพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการ ใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ผลข้างเคียงและระยะเวลาการรักษาต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุ 18 ถึง 60 ปี ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพ แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยา แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยา และแบบสอบถามผลข้างเคียงจากการใช้ยา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 48.92 ปี (S.D. = 9.86) มีระยะเวลาการรักษาเฉลี่ยเท่ากับ 58.77 เดือน (S.D. = 40.27) มีการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยาอยู่ในระดับสูงคิด เป็นร้อยละ 48.3 มีความกังวลจากการใช้ยาอยู่ในระดับต่ำ ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 47.5 และได้รับผลกระทบจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาเท่ากับ 7.39 คะแนน (S.D. = 8.37) กลุ่มตัวอย่างสามในสี่ (ร้อยละ 75) มีความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติค พบว่าทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด โดยอธิบายการผันแปรในสมการโลจิสติคได้ร้อยละ 21.1 (Nagelkerke R2= .211, p < 0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่าแพทย์และพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการประเมินความกังวลและผลข้างเคียงจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดหลังจากผู้ป่วยได้รับคำสั่งการรักษา และบันทึกในเวชระเบียนเพื่อสะดวกในการติดตามการรักษา และให้การดูแลผู้ป่วยของสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยโรคหืด | |
dc.description.abstract | This study was a descriptive predictive correlational research design aimed to study the influence of perceived medication necessity, medication concern, side effects and treatment time on medication adherence to inhaled corticosteroids (ICS) in adult asthma patients. The sample group was composed of 120 asthma patients aged between 18 and 60 years who sought treatment at the Asthma Clinic of Siriraj Hospital, Bangkok. Data collection employed a Demographic Questionnaire, Health Data Record Form, Medication Adherence Report Scale, Beliefs about Medicines Questionnaire-Specific and Inhaled Corticosteroids Questionnaire-Shortened version. Data analysis was done using descriptive statistics and logistic regression. According to the findings, the sample group was composed of females (70.8%) with a mean age of 48.92 years (S.D. = 9.86) and mean treatment time of 58.77 months (S.D. = 40.27). The subjects had high perceived medication necessity (48.3%) and low medication concern (47.5%). The subjects also encountered side effects from using inhaled corticosteroids at 7.39 points (S.D. = 8.37). In total, three fourths of the sample group (75%) practiced ICS adherence. Logistic regression analysis revealed all four variables to be capable of predicting ICS adherence in adult patients with asthma with fluctuations described in the logistic equation by 21.1% (NagelkerkeR2 = .211, p< 0.05) Based on the research findings, the researcher proposed that doctors and nurses should pay attention to evaluating medication concerns, and side effects from ICS use after patients are prescribed treatment instructions and record medical history in order to facilitate treatment follow-up. In addition, patients should be provided multidisciplinary care in order to adherence to ICS medication of asthma patients. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 163 แผ่น : ตาราง, ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93417 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | คอร์ติโคสเตียรอยด์ | |
dc.subject | ความวิตกกังวล | |
dc.subject | โรคหืด | |
dc.subject | หืด, โรค | |
dc.title | อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยาความกังวลจากการใช้ยาผลข้างเคียงและระยะเวลาการรักษาต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด | |
dc.title.alternative | Influences of perceived medication necessity , medication concern, side effect, and treatment time on inhaled corticosteroids adherence in adult patients with asthma | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd516/5636867.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |