ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Issued Date
2551-04
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
52335928 bytes
Rights
Mahidol University
Suggested Citation
โชคชัย มานะดี, วันเพ็ญ แก้วปาน (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58871
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Alternative Title(s)
Factors relared to treatment compliance of elderly patients with essential hypertension in Kabinburi, Prachinburi
รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Author(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยซึ่งสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากทะเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการในระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2550จำนวน 425 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุมีความร่วมมือในการรักษาโรคและการปฏิบัติในการควบคุมโรค ในระดับมาก ร้อยละ 58.1 และระดับปานกลาง ร้อยละ 41.9 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยเห็นว่าตนเองมีความสมบูรณ์แข็งแรงในระดับพอใช้ ร้อยละ 54.3 มีความเชื่อด้านสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 94.6 และพบว่าปัจจัยที่ส่วนสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาโรค และการปฏิบัติตนในการควบคุมโรค ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ) การรับรู้ภาวะสุขภาพ และความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับความร่วมมือในรักษาโรคและการปฏิบัติในการควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r = 0.62 และ 0.266 ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าเมื่อพิจารณาจำแนกรายองค์ประกอบของความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่าแรงจูงใจด้านสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาโรคและการปฏิบัติตนในการควบคุมโรคในเชิงบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.225, 0.378 และ 0.264 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -0.264 และ -0.241 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างและสนับสนุนความร่วมมือในการรักษาโรคของผู้ป่วยผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โดยควรสอนและแนะนำรวมทั้งกระตุ้นผู้ป่วยให้ทราบถึงประโยชน์ของการมาตรวจตามนัด การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และการปฏิบัติในเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การแนะนำถึงภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากไม่สามารถควบคุมระดับความดันได้ และควรจัดเวลาตรวจตามนัดโดยใช้ระบบนัดหมายเวลาล่วงหน้าเพื่อลดเวลารอคอย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสะดวกและให้ความร่วมมือในการรักษาโรคเพิ่มขึ้น
The purpose of this study was to examine the treatment compliance and behaviors for blood pressure control of patients aged 60 years and older receiving services at hypertensive clinic, Kabinburi, hospital, Prachinburi. Subjects were 425 patients selected by simple random sampling from patient registry. Data were collected by using questionnaire and were analyzed by statistical software package. Results showed that most of the elderly patients complied with the treatment and behaviors for blood pressure control at high (58.1%) and moderate level (41.9%). They mostly perceived their health at fair level (54.3%) and had overall health belief at moderate level (94.6%). Factor related to treatment compliance and behaviors for blood pressure control were individual factors including gender, educational level, and occupation. Perceived health status and overall health belief had significantly positive correlation with treatment compliance and behaviors for blood pressure control (r=0.62 and 0.266, respectively, p<0.05). Considering each aspect of health belief, it was found that health motivation, perceived benefits, and perceived barriers of behaviors for blood pressure control had significantly positive relationship with treatment compliance and behaviors for blood pressure control at low level (r=0.225, 0.378, and 0.264, respectively). While perceived risk of complications and perceived severity of disease had significantly negative relationship with treatment compliance and behaviors for blood pressure control at low level (r = -0.264 and -0.241, respectively). Findings suggested that to promote treatment compliance of elderly patients, patients should be advised on benefits of follow-up, taking medication regularly, and behaviors related to diet control, exercise, stress management, and complication of uncontrolled disease. Medical appointment using advanced scheduling system should be developed to reduce waiting time at the clinic and promote treatment compliance.
The purpose of this study was to examine the treatment compliance and behaviors for blood pressure control of patients aged 60 years and older receiving services at hypertensive clinic, Kabinburi, hospital, Prachinburi. Subjects were 425 patients selected by simple random sampling from patient registry. Data were collected by using questionnaire and were analyzed by statistical software package. Results showed that most of the elderly patients complied with the treatment and behaviors for blood pressure control at high (58.1%) and moderate level (41.9%). They mostly perceived their health at fair level (54.3%) and had overall health belief at moderate level (94.6%). Factor related to treatment compliance and behaviors for blood pressure control were individual factors including gender, educational level, and occupation. Perceived health status and overall health belief had significantly positive correlation with treatment compliance and behaviors for blood pressure control (r=0.62 and 0.266, respectively, p<0.05). Considering each aspect of health belief, it was found that health motivation, perceived benefits, and perceived barriers of behaviors for blood pressure control had significantly positive relationship with treatment compliance and behaviors for blood pressure control at low level (r=0.225, 0.378, and 0.264, respectively). While perceived risk of complications and perceived severity of disease had significantly negative relationship with treatment compliance and behaviors for blood pressure control at low level (r = -0.264 and -0.241, respectively). Findings suggested that to promote treatment compliance of elderly patients, patients should be advised on benefits of follow-up, taking medication regularly, and behaviors related to diet control, exercise, stress management, and complication of uncontrolled disease. Medical appointment using advanced scheduling system should be developed to reduce waiting time at the clinic and promote treatment compliance.
Description
ก-ช, 111 หน้า ; 30 ซม.