ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุโขทัย

dc.contributor.advisorสุธี อยู่สถาพร
dc.contributor.advisorปิยธิดา ตรีเดช
dc.contributor.advisorสุคนธา ศิริ
dc.contributor.authorชยพล สิริบุญกล่อม
dc.date.accessioned2024-01-13T05:17:08Z
dc.date.available2024-01-13T05:17:08Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionบริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractทุกองค์การคงต้องการบุคลากรที่มีลักษณะการมีความยึดมั่นผูกพัน เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของ องค์การให้ได้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ทำให้องค์การต้องพยายามสร้างความยึดมั่นผูกพันและรักษาบุคลากรทุกคนที่มี คุณภาพไว้ให้นานที่สุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลสุโขทัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่น ผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุโขทัย จำนวน 176 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามระหว่างวันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งในด้านภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดฐาน และด้านความคงอยู่ ขณะที่ผล การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อายุการปฏิบัติงาน และ รายได้ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ทั้งในด้านภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดฐาน และ ด้านความคงอยู่พบว่าไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) 2) ปัจจัยคุณภาพชีวิตกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ พบว่า ด้านความภูมิใจในองค์การ และด้าน ลักษณะการบริหารงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับภาพรวมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = 0.80, p < 0.01) ส่วน ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพด้านการพัฒนาศักยภาพ ด้านภาวะอิสระจากงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และด้านรายได้และผลประโยชน์ที่เพียงพอ มีความสัมพันธ์ ทางบวกระดับปานกลาง กับภาพรวมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.63, p < 0.01), (r = 0.58, p < 0.01), (r = 0.58, p < 0.01), (r = 0.51, p < 0.01), (r = 0.47, p < 0.01) และ (r = 0.42, p < 0.01) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะการวิจัย องค์การควรสร้างความรู้สึกให้บุคลากรในทิศทางบวกต่อองค์การโดยการให้ ความ สำคัญต่อบุคลากรในการออกไปปฏิบัติกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนเพื่อสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจใน ตนเองและเป็นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์การในด้านบวกมากยิ่งขึ้น
dc.description.abstractEvery organization wishes for its personnel to provide commitment towards the best progressive development of the organization as possible. Therefore, organizations are required to build up their personnel with commitment and keep those personnel as long as possible. The objectives of this study were: 1) to assess the organizational commitment of personnel working in Sukhothai Hospital, and 2) to study the relationships between personal factors and quality of working life towards the organizational commitment. The studied samples consisted of 176 healthcare workers in Sukhothai Hospital, and questionnaires were used in this study between May 1st, 2013 to May 31st, 2013. Chi-Square test and Pearson's Correlation Coefficient were used to analyse the data. The results of this study showed that: 1) The personal factor of gender provided different commitment at a statistically significant level (p <0.05) in both overall and aspects including affective commitment, normative commitment, and continuance commitment. But others personal factors including age, education level, marital status, work experience, and income towards the organizational commitment had no difference both overall and in aspects including affective commitment, normative commitment, and continuance commitment (p >0.05). 2) The quality of life towards the organizational commitment showed that the organizational pride and constitutionalism had a high positive correlation overall towards the organizational commitment, and was statistically significant (r = 0.80, p <0.01). The persistence consisted of social integration, growth and security, development of human capacities, total life space, safety , healthy environment, and adequate and fair compensation all of which had a moderate positive correlation overall towards the organizational commitment at a statistically significant level (r = 0.63, p <0.01), (r = 0.58, p <0.01), (r = 0.58, p <0.01), (r = 0.51, p <0.01), (r = 0.47, p <0.01), and (r = 0.42, p <0.01), respectively. The study suggests that the organizations should create positive thinking and give a positive direction to personnel by implementation of activities involved with the public in order to create a sense of pride in themselves and as a fringe activity which will result in a more positive side.
dc.format.extentก-ฌ, 91 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92598
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การ -- ไทย -- สุโขทัย
dc.titleความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุโขทัย
dc.title.alternativeThe organizational commitments of personnel in Sukhothai Hospital
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd487/5137641.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineบริหารสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files