ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองประสิทธิภาพการให้นมทารกและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย

dc.contributor.advisorพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม
dc.contributor.advisorทัศนี ประสบกิตติคุณ
dc.contributor.advisorโสภาพรรณ เงินฉ่ำ
dc.contributor.authorชูใจ อธิเบญญากุล
dc.date.accessioned2024-01-22T01:42:36Z
dc.date.available2024-01-22T01:42:36Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionการพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะตนเอง ประสิทธิภาพการให้นมทารก และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายครรภ์เดี่ยว คลอดปกติ มารดาไม่มีข้อห้ามในการให้นมบุตร และทารกไม่มีอุปสรรคในการดูดนม กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบสะดวกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองผู้วิจัยให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สอนสาธิตและสาธิตย้อนกลับวิธีการให้นมทารก การบีบเก็บน้ำนมและการป้อนนมด้วยแก้วด้วยวิธี hands off technique ทั้ง 2 กลุ่มทำแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะตนเอง ได้รับการประเมินประสิทธิภาพการให้นมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลโดยผู้ช่วยวิจัย และโทรศัพท์ติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติ Mann-Whitney U test และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า มารดากลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพในการให้นมทารกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่มีการรับรู้สมรรถนะตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่ายทารกออกจากโรงพยาบาล และเมื่อ 8 สัปดาห์หลังคลอด และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่แตกต่างกัน (p = .179, p = .198 และ p = .217 ตามลำดับ) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรนำกิจกรรมของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะตนเองสำหรับมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายสามารถให้นมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractThe study was based on a quasi-experimental research design aimed at studying the effects of the perceived self-efficacy promotion program on perceived self-efficacy, breastfeeding effectiveness and rate of breastfeeding in mothers of late preterm infants. The sample group consisted of naturally delivered, single-birth mothers of late preterm infants. Neither the mothers nor the infants had breastfeeding barriers. The sample group was obtained by convenience sampling and divided into two groups of 25 subjects each. The experimental group received breastfeeding knowledge from the researcher through demonstrations and return demonstrations for breastfeeding, breast milk expression and cup feeding using hands-off technique. Both groups completed the Perceived Self-Efficacy Questionnaire and were evaluated for breastfeeding effectiveness before hospital discharge by the research assistant. Lastly, the subjects received follow-up telephone calls on breastfeeding. Data were analyzed using descriptive statistics, Independent t-test, Mann-Whitney U Test and Chi-Square statistics. According to the findings, the mothers in the experimental group had higher breastfeeding effectiveness than the control group with statistical significance (p< .001). On the other hand, perceived self-efficacy in breastfeeding before discharge from the hospital and 8 weeks postpartum and breastfeeding rates were not different with statistical significance (p = .179, p = .198 and p = .217, respectively). Based on the study finding, it is recommended that nurses and related health personnel could apply this program to promote efficiency of breastfeeding in mothers of late preterm infants.
dc.format.extentก-ฌ, 127 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93345
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการรับรู้
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
dc.subjectทารกคลอดก่อนกำหนด
dc.subjectน้ำนมมารดา, การเลี้ยงลูก
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองประสิทธิภาพการให้นมทารกและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย
dc.title.alternativeThe effects of self-efficacy promoting program on perceived self-efficacy, efficiency of breastfeeding and breastfeeding rate among mothers of late preterm infants
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd521/5437184.pdf
thesis.degree.departmentคณะพยาบาลศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files