Browsing by Author "จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ"
Now showing 1 - 3 of 3
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแปรงสีฟันชนิดขนแปรงปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด(2011-01) วิกุล วิสาลเสสถ์; Wikul visalseth; จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ; Julalux Kasetsuwan; อารีรัตน์ ผลิตนนท์เกียรติ; Areerat Phalitnonkiat; นนทินี ตั้งเจริญดี; Nontinee Tangchareondee; สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา; Surat Mongkolnchai-aranya; กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์; Kanokwan Pattanapraison; จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ; Julalux Kasetsuwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยาวัตถุประสงค์ : การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดคราบจุลินทรีย์ การลดอาการเหงือกอักเสบและความปลอดภัยต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากของแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 ชนิด กับแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : อาสาสมัคร 120 คนถูกแบ่ง 4 กลุ่มด้วยวิธีไอโซดาต้าโดยใช้ค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีสภาพเหงือก สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 กลุ่ม และกลุ่มแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย 1 กลุ่ม ก่อนใช้แปรงสีฟัน 2 สัปดาห์อาสาสมัครได้รับการขูดหินน้ำลาย ขัดฟัน และฝึกแปรงฟันวิธีแปรงฟันแบบดัดแปลงจากวิธีของ Bass(Modified Bass technique) กำหนดให้อาสาสมัครแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ใช้ยาสีฟันชนิดเดียวกัน และงดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากอื่น อาสาสมัครงดทำความสะอาดฟันอย่างน้อย 12 ชั่วโมงเพื่อสะสมคราบจุลินทรีย์ก่อนการตรวจทุกครั้ง ผู้ตรวจบันทึกค่าดัชนีสภาพเหงือก ดัชนีเลือดออกที่เหงือก ดัชนีการเกิดแผลที่เหงือก ย้อมสีฟันด้วยสีเบสิกฟุคซินแล้วบันทึกค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ตามลำดับ จากนั้นอาสาสมัครแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟันที่กำหนดให้นาน 3 นาที และตรวจวัดดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีการเกิดแผลที่เหงือกอีกครั้ง การตรวจครั้งที่สอง หลังใช้แปรงสีฟัน 2 สัปดาห์และครั้งที่สาม หลังใช้แปรงสีฟัน 4 สัปดาห์ ให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในแปรงสีฟัน เมื่อจบการศึกษา ผลการศึกษา : แปรงสีฟันทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพในการลดคราบจุลินทรีย์หลังการแปรงฟันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่ม B หรือแบบที่ 1 มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยรวมได้ดีกว่าแปรงสีฟันมาตรฐาน กลุ่ม A (p<0.05) ในสัปดาห์ที่ 4 กลุ่ม C และกลุ่ม D หรือแบบที่2 และ 3 ด้อยกว่าแปรงสีฟันมาตรฐานในการกำจัดคราบจุลินทรีย์บริเวณขอบเหงือกด้านใกล้ลิ้น (p<0.05) ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 กลุ่ม B, C, D หรือแปรงสีฟันทั้ง 3 ชนิดสามารถลดอาการเหงือกอักเสบ ลดตำแหน่งเลือดออกที่เหงือก และทำให้เกิดแผลที่เหงือกหลังการแปรงฟันได้ไม่แตกต่างจากแปรงสีฟันมาตรฐาน โดยแปรงสีฟันมาตรฐานทำให้เกิดแผลฃน้อยที่สุด แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อาสาสมัครกลุ่ม D หรือแบบที่ 3 พึงพอใจมากที่สุดถึงร้อยละ 75 บทสรุป : แปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัดทั้ง 3 ชนิด กำจัดคราบจุลินทรีย์ ลดอาการเหงือกอักเสบ ตำแหน่งเลือดออก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปลอดภัยต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากPublication Open Access ผลทางคลินิกของการใช้ยาเจลฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาโรคปริทันต์อักเสบระยะเวลา 3 เดือน(2013-09) จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ; Julalux Kasetsuwan; มัลลิกา ศิริรัตน์; Mullika Sirirat; ราชพร สีจันทร์; Ratchaporn Srichan; ราชพร สีจันทร์; Ratchaporn Srichan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยาวัตถุประสงค์: การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีทางคลินิกในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบโดย การขูดหินน้ำลายเกลารากฟันขัดฟันและสอนการแปรงฟันร่วมกับใช้ยาเจลฟ้าทะลายโจร กับใช้เจลพื้นฐานเป็นระยะเวลา 3 เดือน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: อาสาสมัคร 12 คนเป็นโรคปริทันต์อักเสบจากโรง พยาบาลทันตกรรม มหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน ฟันที่ศึกษา 104 ซี่ เป็นฟันรากเดียวที่มีร่องลึกปริทันต์เท่ากับหรือมากกว่า 5 มิลลิเมตร วัดดัชนีทางคลินิก ก่อนการรักษา สุ่มแบ่งฟันที่อยู่คนละซีกปากเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 52 ซี่ ให้การรักษาด้วยวิธีขูดหินน้ำลายเกลารากฟันขัดฟัน สอนการแปรงฟันวิธีดัดแปลงจาก วิธีของ Bass ใช้ยาเจลฟ้าทะลายโจรหรือเจลพื้นฐานร่วมรักษาแต่ละกลุ่มโดยวิธีเดียวกัน วัดค่าดัชนีทางคลินิกหลังการรักษา 3 เดือน ผลการศึกษา: อาสาสมัครเพศชาย 3 คน หญิง 9 คนอายุเฉลี่ย 44.5±6.64 ปีก่อนรักษา เปรียบเทียบค่าดัชนีทางคลินิกระหว่างกลุ่มรับยากับกลุ่มรับเจลพื้นฐานพบว่าไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการรักษาทั้งสองกลุ่ม ค่าดัชนีคราบจุลิทรีย์มีค่าเฉลี่ย ที่ประมาณระดับ 1 และการแจกแจงความถี่ของดัชนีสภาพเหงือกพบฟันที่มีค่าสภาพ เหงือกที่ระดับ 2 มีจำนวนเกินครึ่ง แสดงได้ว่าอาสาสมัครยังไม่สามารถควบคุมอนามัย ช่องปากได้และเหงือกยังมีอาการอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีทางคลินิกก่อนและหลัง การรักษาภายในกลุ่มมีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่ายกเว้นค่าดัชนีการโยก ของฟันกลุ่มรับสารพื้นฐานเท่านั้นมีค่าหลังรักษาน้อยลงแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ค่าความลึกร่องลึกปริทันต์ เหงือกร่นและระยะยึดเกาะที่สูญเสียเมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มรับยากับรับเจลพื้นฐานต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบ เทียบระหว่างช่วงเวลาจะต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเพิ่มขึ้นของระดับการ ยึดเกาะกลุ่มรับยามีค่าดีกว่ากลุ่มรับเจลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทสรุป: กลุ่มผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ยังคงมีการอักเสบของเหงือกหลังรักษา การใช้ยา เจลฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาให้ผลดีกว่าไม่ใช้เล็กน้อยในระยะเวลาวัดผล 3 เดือนPublication Open Access ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแปรงสีฟันใช้งาน 4 สัปดาห์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด(2013-01) จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ; Julalux Kasetsuwan; วิกุล วิสาลเสสถ์; Wikul Visalseth; กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์; Kanokwan Pattanapraison; จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ; Julalux Kasetsuwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยาวัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบความบาน ดัชนีความบานและการเปลี่ยนแปลงของปลายขนแปรงสีฟันหลังการใช้ 4 สัปดาห์ ศึกษาเปรียบเทียบแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย (A) กับ แปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 ชนิด (B, C, D) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: อาสาสมัคร 120 คน แบ่ง เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสมปลายตัด 3 กลุ่ม และกลุ่มแปรงสีฟันมาตรฐานขนนุ่มปลายมนของกรมอนามัย 1 กลุ่ม ให้อาสาสมัครใช้แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และวิธีการแปรงฟันที่กำหนด ทุกวันๆละ 2 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากนั้นสุ่มเก็บตัวอย่างแปรงสีฟันชนิดละ 5 ด้าม นำแปรงสีฟันทั้ง 4 ชนิดมาประเมินระดับความบานของแปรงสีฟัน ดัชนีความบาน และนำมาตรวจดูปลายขนแปรงที่เปลี่ยนแปลงโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย 150 เท่า ผลการศึกษา: เมื่อพิจารณาระดับความบานพบว่าแปรงสีฟันใช้งานแล้วทั้ง 4 ชนิดส่วนมากมีความบานที่ระดับ 1 เมื่อพิจารณาดัชนีความบานพบว่า ทั้ง 4 ชนิดมีค่าเฉลี่ยดัชนีความบานเพิ่มขึ้นและแตกต่างจาก กลุ่มที่ยังไม่ได้ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปลายขนแปรงมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในแต่ละชนิดคือ ปลายมนของแปรงสีฟันมาตรฐานกลุ่ม A เปลี่ยนโดยสูญเสียความมนร้อยละ 77 ส่วนแปรงสีฟันขนนุ่มปลายเรียวแหลมผสม ปลายตัด 3 ชนิด กลุ่ม B, C และ D มีการเปลี่ยนแปลง ปลายตัดขอบมุมตัดจะมนไม่เรียบเป็นร้อยละ 65, 77 และ 60 ส่วนปลายเรียวแหลมสูญเสียความเรียวแหลมร้อยละ 60, 58และ 66 ตามลำดับ บทสรุป: แปรงสีฟันทั้ง 4 กลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงทั้งลักษณะการบานและปลายขนแปรงทุกกลุ่มเมื่อใช้ไป 4 สัปดาห์