Browsing by Author "นารีรัตน์ จิตรมนตรี"
Now showing 1 - 13 of 13
Results Per Page
Sort Options
- Itemความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล(2557) กาญจน์ศิริ พูนทอง; ดวงใจ บรรทัพ; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; พัชรา เดชโฮม; ภุชงค์ ลิขติธนสมบัติ; มงคล เลิศศรีสุริยะ; อาภา ภัคภิญโญ
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล , 2567) อภิรฎี พิมเสน ; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ; นารีรัตน์ จิตรมนตรีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิด Theory of Planned Behavior กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 88 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน การวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับเจตคติและระดับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.3, Mean = 37.09, S.D.= 8.02 และร้อยละ 42, Mean = 15.84, S.D. = 4.36 ตามลำดับ) ระดับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.4, Mean = 21.34, S.D. = 6.87) ระดับความตั้งใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 56.9, Mean = 2.05, S.D.= 1.33) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาพบว่า เจตคติและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .585, p < .01, r = .615, p < .01) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงกับความตั้งใจไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) จากผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลและทีมสุขภาพควรประเมินเจตคติและความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมการความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุ
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะสุขภาพความกลัวการหกล้มและพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558) ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีประวัติเคยหกล้มในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในชุมชนภายใต้การดูแลของศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี เขตปทุมวัน กทม.จำนวน 130 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนที่เคยหกล้ม ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา มีความกลัวการหกล้มในระดับสูง (Mean = 27.28, SD = 7.93) และมีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในระดับสูง (Mean = 85.07, SD = 9.56) อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.179, p < 0.05) และความกลัวการหกล้ม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.408, p < 0.01) ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และ ภาวะสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มพยาบาล ควรส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุตั้งแต่ผู้สูงอายุวัยต้น และควรประเมินความกลัวการหกล้มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล , 2567) ประภัสสร พิมพาสาร ; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ; นารีรัตน์ จิตรมนตรีการวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของ Riegel และคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 - 79 ปีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 116 คน โดยใช้แบบบันทึกโรคร่วม แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปสัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรุนแรงของโรคร่วมในระดับต่ำ (X =2.48, SD = 1.24) สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับสูง (X = 68.85, SD =12.69; X = 20.62, SD = 5.46; X = 44.16, SD = 4.28; X = 83.70, SD = 10.64) ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า โรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน และความไว้วางใจในทีมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.191, p < 0.05, r = 0.360, p < 0.01, r = 0.348, p < 0.01, r = 0.221, p < 0.05) ตามลำดับ จากผลการศึกษา พยาบาลและทีมสุขภาพสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีและส่งเสริมให้มีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- Itemโครงการวิจัยบูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ระยะที่ 2(2558) สุภา เพ่งพิศ; กุศล สุนทรธาดา; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; เสาวภา พรสิริพงษ์; พัตธานี วินิจจะกูล; เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล; มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
- Publicationประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแล(2560) จิตชญา อยู่เย็น; Jitchaya Yooyen; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์; Virapun Wirojratana; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; Narirat Jitramontree; วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล; Wanpen Pinyopasakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ต่อความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมพิเศษของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์เฉพาะเจาะจงที่ฝ่ายผู้ป่วยนอกคลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ กลุ่มควบคุม 26 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง 26 ราย ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการดูแลครอบครัว รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความพร้อมในการดูแล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย: ผู้ดูแลผู้สูงอายกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความหร้อมในการดูแลมีค่าเฉลี่ย ของคะแนนความพร้อมในการดูแลก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและสูงกว่าผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการดูแลสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการเตรียมความพร้อมมีประสิทธิผลในการเพิ่มความพร้อมในการดูแล และความพึงพอใจของในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ดังนั้น พยาบาลควรเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลให้มีส่วนร่วมในการดูแล โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมตั้งแต่กระบวนการสอนสุขศึกษาก่อนวันรับผู้ป่วยเข้านอนโรงพยาบาล
- Itemประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแล(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) จิตชญา อยู่เย็น; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุลการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแลโดยใช้กรอบแนวคิด The Family Care Model ของ Archbold & Stewart กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมพิเศษของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - เมษายน2559เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์เฉพาะเจาะจงตั้งแต่ที่ฝ่ายผู้ป่วยนอกคลินิกศัลยกรรม กระดูกและข้อ กลุ่มควบคุม 26 รายได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง 26 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความพร้อมในการดูแลและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบไคสแควร์และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลร่วมกับการพยาบาลปกติ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมในการดูแลก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล สูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 (t = -5.523, p = .000)และมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมใน การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สูงกว่า ผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ .05 (t = -3.225, p = .002) ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการเตรียม ความพร้อมในการดูแล สูงกว่า ผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 (t = -6.453, p = .000) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลในการเพิ่มความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลควรเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลตั้งแต่กระบวนการสอนสุขศึกษาก่อนวันรับผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านเกิดผลลัพธ์ที่ดีของทั้งผู้ป่วยสูงอายุและครอบครัวต่อไป
- Publicationปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(2558) จิราวรรณ เผื่อแผ่; Jirawan Phuaphae; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; Narirat Jitramontree; วีนัส ลีฬหกุล; Veenus Leelahakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และศึกษาความสัมพันธ์รวมทั้งอำนาจการทำนายของตัวแปรต้น ดังกล่าวต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบหาอำนาจการทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ อายุ 60-79 ปีและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อย 1 ข้อ จาก General Cardiovascular Risk Profile for Use in Primary Care คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 85 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2557 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับสูง (X = 14.4, SD = 3.2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อยู่ในระดับสูง (X = 237.6, SD = 41.2) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 61.7, SD = 11.3) และพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง (X = 74.0, SD = 9.9) และผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ตัวแปรต้นทั้ง 3 สามารถทำนายพฤติกรรมจัดการตนเองได้ร้อยละ 70.6 (R2 = .706, F = 68.314, p = .000 สรุปและข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดควรประกอบด้วยหลายส่วน ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว พยาบาลควรมีการพัฒนาวิธีการให้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และควรใช้วิธีการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุให้สูงขึ้น เช้น ใช้สมุดบันทึกแสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูง รวมทั้งควรกระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมการจัดการตนเองด้วย
- Itemผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2567) สุนิสา ค้าขึ้น; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มารับบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดผู้ใหญ่ โรงพยาบาลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 54 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณลักษณะที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura ประกอบด้วยสื่อวิดิทัศน์ให้ความรู้และนำเสนอตัวแบบผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คู่มือการดูแลตนเองและแบบบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แผนการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ และแบบวัดการรับรู้ความเหนื่อยในการออกกำลังกายของ Borg ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ non-parametric แบบ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนมีค่าเฉลี่ยอันดับที่ของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) โดยมีการเพิ่มขึ้นของคะแนนพฤติกรรมสุขภาพรายด้านทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การผ่อนคลาย การบริหารการหายใจและออกกำลังกาย ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนไปใช้กับผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลช่วงของการเตรียมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
- Itemผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล , 2567) ศิริลักษณ์ ผมขาว ; นารีรัตน์ จิตรมนตรี ; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษา 2 กลุ่ม วัดก่อนการทดลอง, 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์หลัง การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช หรือสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 44 คน คัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าและจับคู่กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลปกติร่วมกับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test และ Repeated measure one-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังสิ้นสุดโปรแกรมสัปดาห์ที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มทดลองแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพก่อนการทดลองและสัปดาห์ที่ 1 แตกต่างกนั อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่หลังการทดลองระหว่างสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 ไม่แตกต่างกัน โปรแกรมนี้มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง พยาบาลควรนำโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
- Itemผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) กมนทรรศน์ ยันต์เจริญ; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและเปรียบเทียบการฟื้นสภาพใน ผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจกับกลุ่ม ควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาล สมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 รายและ กลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจตามกระบวนการของ Gibson เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถ ตนเองในการออกกำลังกล้ามเนื้อขา 3) แบบสัมภาษณ์การทำหน้าที่ของข้อเข่า (Modified WOMAC Scale) ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีคะแนนการรับรู้ความสามารถ ตนเองในการออกกำลังกล้ามเนื้อขามากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ในการออกกำลังกล้ามเนื้อขามากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3) กลุ่มทดลองมีการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีผลส่งเสริมการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดดีขึ้น พยาบาลควรนำไปใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยเหล่านี้
- Publicationผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(2559) กมนทรรศน์ ยันต์เจริญ; Kamontad Yuncharoen; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; Narirat Jitramontree; เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ; Saovaluck Jirathummakoon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน ที่มารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจตามกระบวนการของ Gibson เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกล้ามเนื้อขา และแบบสัมภาษณ์การทำหน้าที่ของข้อเข่า (Modified WOMAC Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย, Wilcoxon signed-rank test, Mann Whitney U test, X2-test, Kolmogorov–Smirnov test และ t-test. ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกล้ามเนื้อขามากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกล้ามเนื้อขามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลุ่มทดลองมีการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป และข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีผลส่งเสริมการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรนำไปใช้ในการฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุกลุ่มนี้
- Itemผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) วิทยา วาโย; นารีรัตน์ จิตรมนตรี; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองรูปแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ (Health Belief Model) เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุเพศหญิงและเพศชาย ที่อาศัยอยู่บ้านเป็ด หมู่ที่ 1, 2 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น อายุระหว่าง 60 - 75 ปี จำนวนทั้งสิ้น 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้น เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน แบบประเมินความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และ ภายนอกบ้าน แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา chi-square test และ independent t-test ผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มภายหลังการทดลอง พบว่า คะแนนพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนกลุ่มทดลอง มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) (t = - 30.29, p = .000) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยของผู้สูงอายุในชุมชน ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการป้องกันการ หกล้มดีขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมไปใช้อย่างต่อเนื่อง