PY-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
- Itemรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนายาจากกัญชาสำหรับใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จังหวัดลพบุรี(2565) อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์; รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล; อุไร เงินงอก; ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์; ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน; ณัฏฐินี อนันตโชค; อนันต์ชัย อัศวเมฆิน; ไพโรจน์ สุรัตนวนิช; ตุลาภรณ์ รุจิระยรรยง; วนิดา ขุมแร่; มาดีนา จริยศาสน์; ชินวัธ มิ่งทอง
- Itemการศึกษาการใช้พืชสมุนไพร Family cucurbitaceae ในการป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัสในการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ(2546) วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์
- Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการผลของน้ำหนักโมเลกุลและรูปเกลือของไคโตแซนต่อการซึมผ่านเซลล์เยื่อบุผิวโดยใช้เซลล์คาโก; ผลของนํ้าหนักโมเลกูลและรูปเกลือของไคโตแซนต่อการซึมผ่านเซลล์เยื่อบุผิวโดยใช้เซลล์คาโก(2549) ประณีต โอปณะโสภิต; สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร; มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะเภสัชศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรมวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของน้ำหนักโมเลกุลและไคโตแซนรูปเกลือ 4 ชนิด ได้แก่ แอสพาร์เตรต กลูตาเมท แลคเตรต และไฮโดรคลอไรด์ ต่อค่า tranepithelial electrical resistance (TEER) และค่าการซึมผ่านของสาร FITC-Dextran 4000 (FD-4) ผ่านเซลล์เยี่อบุผิวเซลล์คาร์โก-2 ไคโตแซนรูปเกลือเตรียมโดยทำการพ่นแห้ง ผลการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์แสดงสภาวะของเกลือทั้ง 4 ชนิดอยู่ในรูปอสัณฐาน สเปกตราของ FTIR และ solid-state (13)C NMR ยืนยันโครงสร้างโมเลกุลของเกลือไคโตแซนทั้ง 4 ชนิด ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มการซึมผ่านสารคือ น้ำหนักโมเลกุบ รูปเกลือ ค่าความเป็นกรดด่าง และปริมาณของไคโตแซน การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าค่า TEER จะลดลงตามความเข้มข้นของไคโตแซนที่เพิ่มขึ้นและค่านี้สามารถกลับเป็นปกติได้เมื่อใช้ความเข้มข้นที่ต่ำ (0.001-0.1% w/v) ทั้งในสภาวะที่เป็นกรด (pH 6.2) และกลาง (pH 7.4) ค่า TEER ที่ pH 7.4 ได้ผลในลักษณะเดียวกันกับที่ pH 6.2 แต่การลดลงนั้นจะน้อยกว่าที่ pH 6.2 ผลของน้ำหนักโมเลกุลของเกลือไคโตแซน พบว่าน้ำหนักโมเลกุลของเกลือไคโตแซนแลคแตรตและไฮโดรคลอไรด์ให้ผลในทางเดียวกันคือ ค่า TEER ลดลงทุกน้ำหนักโมเลกุล และจะลดมากขึ้นเมื่อน้ำหนักโมเลกุลสูงขึ้น (mw 20 < 45 < 200 < 460 kDa) ส่วนไคโตแซนแอสพาร์เตรตและไคโตแซนกลูตาเมทแสดงการลดลงของค่า TEER อย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 นาที โดยน้ำหนักโมเลกุลทั้ง 4 ชนิดให้ผลไม่แตกต่างกัน ผลของเกลือไคโตแซนต่อการลดค่า TEER และค่า FD-4 transport เมื่อเปรียบเทียบการลดค่า TEER ที่เวลา 20 นาที พบว่าไคโตแซนแอสพาร์เตรตให้ผลต่อการลดค่า TEER มากที่สุดทั้งในสภาวะที่เป็นกรด (pH 6.2) และกลาง (pH 7.4) ค่าความเป็นพิษของไคโตแซนรูปเกลือพบว่า ความเป็นพิษจะแปรผันตรงกับความเข้มข้นของไคโตแซนและไม่มีผลกับน้ำหนักโมเลกุล แต่มีผลกับชนิดของเกลือพบว่าไคโตแซนไฮโดรคลอไรด์ที่น้ำหนัดโมเลกุล 45 kDa มีความเป็นพิษมากที่สุด โดยมีค่า (C(50) คือ 0.22+/- 0.06 mg/ml.
- Itemรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการใช้สารโพลีแซคคาไรด์ที่เตรียมจากพืชชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยา(2545) อำพล ไมตรีเวช; ณัฐนันท์ สินชัยพานิช; เจนจิรา เรืองชยจตุพร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่งเป็นสารโพลีแซคคาไรด์ที่นิยมใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณ สารช่วยแตกตัวและสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมยา ในขณะที่ประเทศไทยสามารถปลูกพืชที่ให้สารโพลีแซคคาไรด์ได้หลายชนิด เช่น ถั่วเขียว ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วดำ และมะตูม นอกจากนี้ประเทศไทยยังผลิตแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่จะศึกษาสารโพลีแซคคาไรด์ที่ไดจากพืชเหล่านี้ และแป้งที่ผลิตได้มากในประเทศไทยเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในการศึกษานี้ทำการเตียมยาเม็ดโดยใช้ hydrochlorothiazide เป็นยาแม่แบบ Emcompress(R) และ dicalcium phosphate dihydrate เป็นสารเพิ่มปริมาณในตำรับยาเม็ดตอกโดยตรงสำหรับการประเมินคุณสมบัติในการช่วยแตกตัว และวิธีแกรนูลเปียกสำหรับการประเมินความสามารถในการยึดเกาะของแป้งที่ปริมาณ 2% ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า แป้งลูกเดือยมีประสิทธิภาพในการเป็นสารช่วยแตกตัวโดยให้การละลายของยา HCTZ เทียบเท่ากับแป้งข้าวโพดและเป็นไปตามข้อกำหนดของ USP ส่วนแป้งถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ และมะตูมไม่มีศักยภาพในการเป็นสารช่วยแตกตัว แป้งมะตูมสามารถใช้เป็นสารช่วยยึดเกาะได้โดยให้ยาเม็ดที่มีความแข็ง การแตกตัว การสึกกร่อน และการละลายเทียบเท่ากัน polyinylpyrrolidone K-30 (PVP) คือมีการละลายของ HCTZ มากกว่า 70% ที่เวลา 60 นาที ยาเม็ดที่ใช้แป้งสาคูเป็นสารช่วยยึดเกาะจะมีความแข็งใกล้เคียงกับแป้งชนิดอื่นและมีความแข็งมากกว่า Starch(R) 1500 (S1500) และ PVP นอกจากนี้ัแป้งสาคูจะให้การละลายของ HCTZ ประมาณ 20% ที่เวลา 60 นาที แสดงให้เห็นว่าแป้งสาคูสามารถใช้เป็นสารยึดเกาะในตำรับที่ไม่ต้องการให้ยาละลายเร็ว ส่วนแป้งที่มีการผลิตหรือจำหน่ายในประเทศไทยที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง 2 ชนิด และ แป้งมันฝรั่ง โดยนำมาประเมินประสิทธิภาพการเป็นสารช่วยแตกตัวในตำรับยาเม็ดตอกโดยตรงที่ปริมาณ 1, 2 และ 4% ผลการศึกษาพบว่าชนิดประปริมาณของแป้งที่มีผลต่อความแข็ง การแตกตัว และการละลายของยาเม็ดเช่นเดียวกับแรงตอก ซึ่งผลของแรงตอกจะลดลงเมื่อปริมาณของแป้งเพิ่มขึ้นที่ปริมาณ 4% จะให้ผลการแตกตัวและการละลายที่เทียบเท่ากันทุกตัว จากการศึกษาประสิทธิภาพการเป็นสารช่วยยึดเกาะพบว่าชนิดของแป้งมีผลต่อความแข็งของยาเม็ดอย่างมีนัยสำคัญ (p0.05) ที่แรงตอก 117 และ 137 MPa tapioca starch จะให้ยาเม็ดที่มีความแข็งสูงสุด เมื่อเพิ่มแรงตอกแป้งทุกขนิดให้ความแข็งเพิ่มขึ้น การสึกกร่อนลดลง การแตกตัวนานขึ้น และการละลายช้าลง จากการศึกษาความสามารถในการแขวนตะกอนในน้ำ พบว่า potato starch ตกตะกอนเร็วที่สุด ส่วน alpha topioca starch จะมีลักษณะเป็นวุ้นใส ตกตะกอนช้าที่สุดและให้ตะกอนสูงที่สุด ความสูงของตะกอนเรียงตามลำดับดังนี้ alpha tapioca starch National 1551(R) Era-Gel(R) Starch(R)1500 rice starch tapioca flour corn starch tapioca starch potato strch. สรุปผลการวิจัยได้ว่า แป้งมะตูมสามารถใช้เป็นสารช่วยยึดเกาะในตำรับยาเม็ดที่ต้องการให้ปล่อยยาเร็ว ในขณะที่แป้งสาคูจะให้การปลอดปล่อยยาช้า แป้งลูกเดือยมีคุณสมบัติในการเป็นสารช่วยแตกตัวเทียบเท่ากับแป้งที่มีจำหน่ายในท้องตลาด alpha tapioca starch และ pregelatinized starch สามารถใช้ในตำรับยาน้ำแขวนตะกอน
- Itemองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฤทธิ์ต้านมะเร็ง และฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ของพืชในวงศ์คิวเคอร์บิตาซี(2526) วีณา ศิลปอาชา; จงกล หนูขวัญ; จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัยจากการสำรวจพืชวงศ์คิวเคอร์บิตาซีที่นำมาใช้เป็นยากลางบ้าน 6 ต้น ได้แก่ เถาและผลมะระ (Momordica carantia L.) ผลบวบขม (Trichosanthes sueurmerina L.) ลูกขี้กาแดง (T. integrifolia Kurz.) ใบตำลึง (Coccinia grandis voigt.) ใบฟักข้าว (Momordica cochinchinensis) ต้นน้ำเต้า (Lagenaria siceraria Standl.) หลักฐานทางเคมีและเภสัชวิทยาแสดงว่า ผลบวบขมมีสารสำคัญ คือ คิวเคอร์บิตาซินบี ทำให้ออกฤทธิ์ทำลายเซลมะเร็ง (ในหลอดทดลอง) ผลบวบขมมีพิษปานกลาง จึงเป็นที่น่าสนใจหากจะมีการศึกษาต่อไปเพื่อนำพืชนี้มาใช้เป็นยารักษามะเร็ง ต้นที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี้กาแดง และ มะระ ส่วนสารในมะระที่ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจำเป็นต้องมีการศึกษาทางเคมีและเภสัชวิทยาต่อไป
- Itemรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดลอยตัวในกระเพาะอาหารในรูปของแคลเซียมเพคติเนตเจลบีด(2548) พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์; สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร; มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะเภสัชศาสตร์.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม.งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดลอยตัวเพื่อยืดระยะเวลาคงอยู่ในกระเพาะอาหารในรูปของแคลเซียมเพคติเนตเจลบีด โดยใช้แนวทางการลดความหนาแน่นของระบบโดยใช้น้ำมันหรือสารสร้างแก๊สผสมเข้าในสูตรตำรับ การเตรียมเป็นแคลเซียมเพคตินเจลบีดชนิดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ อาศัยวิธีการเกิดเป็นอิมัลชั่นและการเกิดเป็นเจลซึ่งได้พัฒนาและเสนอขึ้นมาใหม่ และได้ศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อรูปร่างลักษณะของเม็ดบีดและการลอยตัว เช่น ชนิดและปริมาณของน้ำมันที่ใช้และชนิดของเพคติน เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้ศึกษาผลของการปรับสูตรตำรับวิธีต่าง ๆ ต่อการปลดปล่อยตัวยาเมโทรนิดาโซลอีกด้วย ภาพถ่ายอิเล็กตรอนแสดงให้เห็นโครงสร้างของเม็ดบีดซึ่งมีรูขนาดเล็กสำหรับบรรจุน้ำมันอยู่ทั่วเม็ดเจลบีด ผลการศึกษาการลอยตัวและการปลดปล่อยยาพบว่าการใช้น้ำมันในประมาณที่เหมาะสมช่วยให้เม็ดบีดลอยตัวได้ในสภาวะที่ทดสอบ การเพิ่มอัตราส่วนของยาต่อเพคตินมีผลชะลอการปลดปล่อยตัวยาออกจากเม็ดเจลบีด อย่างไรก็ตามการปลดปล่อยยาออกจากเม็ดบีดยังค่อนข้างเร็ว การปรับอัตราการปลดปล่อยยาโดยการปรับสูตรตำรับด้วยวิธีต่าง ๆ พบว่ามีการเติมสารชะลอการปลดปล่อยยาทั้งที่เป็นสารพอลิเมอร์ สารจำพวกแว็กซ์ทั้งที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ มีผลชะลอการปลอดปล่อยยาไม่แตกต่างจากระบบที่ไม่ได้ปรับสูตรตำรับอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การแช่เม็ดบีดในสารเพิ่มความแข็ง (กลูตาราลดีไฮด์) มีผลทำให้การปลดปล่อยยาช้าลงประมาณ 2 เท่า ส่วนวิธีการเคลือบเม็ดบีดด้วยพอลิเมอร์ชนิดไม่ละลายน้ำทำให้มีการปลดปล่อยยาช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่เม็ดบีดยังคงสามารถลอยตัวได้ งายวิจัยนี้ยังได้พัฒนาวิธีการเตรียมแคลเซียมเพคติเนตเจลบีดชนิดลอยตัวในกระเพาะอาหารโดยใช้สารกลุ่มคาร์บอเนตซึ่งเป็นสารสร้างแก๊ส และได้ศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อรูปร่างลักษณะของเจลบีด การลอยตัวและการปลดปล่อยตัวยาจากเม็ดเจลบีด เช่น ชนิดและปริมาณของสารคาร์บอเนต ชนิดของสารตัวกลางก่อเจลและวิธีการทำให้แห้ง เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าเม็ดบีดที่ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตและแคลเซียมคาร์บอเนตมีโครงสร้างเป็นรูพรุนและลอยตัวได้ การเลือกใช้สารตัวกลางก่อเจลที่มีความเป็นกรดทำให้โครงสร้างมีรูพรุนมากขึ้น และยังพบว่าการทำให้แห้งโดยวิธีเยือกแข็งทำให้ได้เม็ดบีดที่มีโพรงขนาดใหญ่และทำให้เม็ดบีดลอยตัวได้ดีกว่าวิธีการทำให้แห้งโดยการอบแห้ง นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษามีผลต่อการปลดปล่อยยาออกจากเม็ดบีดแตกต่างกันไป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแคลเซียมเพคตินเจลบีดชนิดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบและชนิดที่ใช้สารกลุ่มคาร์บอเนตเป็นระบบที่สามารถพัฒนาเป็นระบบนำส่งยาชนิดลอยตัวในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งคุณสมบัติของเม็ดบีดที่ลอยตัวได้นี้สามารถพัฒนาให้เป็นระบบที่ชะลอการปลดปล่อยตัวยาหรือเป็นระบบที่เจาะจงเป้าหมายที่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารได้
- Itemรายงานการวิจัยการศึกษาองค์ประกอบเคมีของพืชสกุลทริโคแซนเทสในประเทศไทย(2539) วีณา จิรัจฉริยากูล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัยการศึกษาองค์ประกอบเคมีของพืชสกุลทริโคแซนเทสในประเทศไทย จากการสำรวจองค์ประกอบเคมีเบื้องต้นด้วย Thin-layer chromatography ของพืชสกุล Trichosanthes 3 ชนิด ได้แก่ ผลขี้กาแดง รากขี้กาแดง ผลขี้กาขาว ผลบวบขมและรากบวบขม พบว่าบวบขมมีปริมาณสารคิวเคอร์บิตาซินมาก ทำการสกัดและแยกสารจากผลและรากบวบขมด้วยเทคนิคทางโครมาโตกราฟี่ พิสูจน์สูตรโครงสร้างโดยอาศัยเทคนิคทางนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ที่ทันสมัย และตรวจสอบคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารที่แยกได้ สารสำคัญที่แยกได้เป็นกลุ่มสาร Triterpenes จากรากบวบขมสามารถแยกสาร Pentacyclic tritepene 2 ชนิด ได้แก่ 3 beta-hydroxy-olean-13(18)-ene-28-oic (I) และ 3-oxo-olean-13Z18)-ene-30-oic (II) และสาร phytosterolds 2 ชนิด ได้แก่ 24Xi-ethyl-cholest-7,22-diene-3beta-ol (III) และ 24Xi-ethyl-cholest-7,3beta-ol (IV) สารทั้งสี่ชนิดไม่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ พบว่าสาร Pentacyclic tritierpene II ละสารสกัดอัลกอฮอล์รากบวบขมมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลองด้วยค่า ED50 60 mcg/ml และ 0.3 mcg/ml ตามลำดับ จากผลบวบขมสามารถแยกสาร Triterpenes กลุ่ม cucurbitacinus ได้ดังนี้ cucurbitacins B (V), dihydrocucurbitacin B (VI), dihydrocucurbitacin D (VII) และสาร phytosterol คือ III, IV และ 24beta-ethyl-8alpha-cholesta-7,22-25-triene-3beta-ol นำ cucurbitacin B และ dihydrocucurbitacin B ที่แยกได้มาตรวจสอบฤทธิ์ Cytotoxicity ด้วยวิธี MTT colorimetric assay พบว่า cucurbitacin B แสดงว่า ED(50) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (SK-BR-3) ที่ 0.05 mcg/ml และ dihydrocucurbitacin B ที่ 0.40 mcg/ml.
- Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนาแบบจำลอง QSPR ของการซึมผ่านผิวหนังของระบบนำส่งยาทางผิวหนังโดยการใช้วิธีจินิติกอัลกอริทึมร่วมกับวิธีวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวเชิงพหุแบบเชิงส่วนและวิธีเครือข่ายประสาทเทียม(2549) สุชาดา พิริยะประสาธน์ (วรรณชนะ); สาธิต พุทธิพิพัฒน์จร; มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรมการพัฒนาแบบจำลอง Quantitative structure/property relationship (QSPR) ของการซึมผ่านตัวแทนผิวหนังชนิดต่าง ๆ ของยาชนิดทำโดยเก็บข้อมูลการซึมผ่านผิวหนังมนุษย์ ผิวหนังหนู และคราบงูของยาจำนวน 14 ตัว จากการทบทวนวรรณกรรม คำนวณ topological descriptors ของยาแต่ละตัวจากสูตรโครงสร้างสองมิติโดยใช้ Molconn-Z software ได้ connectivity, shape และ atom-type E-state indices รวม 220 ตัว genetic algorithm (GA) ถูกนำมาใช้ในการคัดเลือก molecular discriptor ที่สำคัญของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปใช้ในการสร้างแบบจำลอง QSPR และใช้ feed-forward back-propagation artificial neural networks (ANN) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่าง molecular descriptor และการซึมผ่านผิวหนังของยา พบว่าสามารถใช้ ANN ในการสร้างแบบจำลองการซึมผ่านผิวหนังของคน หนู และคราบงูได้ดี โดยกลุ่ม molecular descriptor จากชุดข้อมูลการซึมผ่านผิวหนังหนูที่เลือกโดย GA สามารถนำมาใช้ในการทำนายการซึมผ่านผิวหนังของหนูและมนุษย์ได้ ในขณะที่กลุ่ม molecular descriptor จากชุดข้อมูลการซึมผ่านผิวหนังมนุษย์สามารถนำมาใช้ในการทำนายการซึมผ่านผิวหนังของหนู มนุษย์ และคราบงูได้ โดยมีค่า predictive root mean square errors (RMSE) อยู่ในช่วง 0.111-0.782 เมื่อทำการประเมินความสามารถการทำนายของแบบจำลอง ANN โดยใช้วิธี Leave-one-out cross validation นอกจากนี้เมื่อนำข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในการสร้างแบบจำลองจำนวน 3 ข้อมูลมาทำการทดสอบแบบจำลอง ANN ที่สร้างขึ้นพบว่าค่าที่ได้จากการทดลองและค่าที่ได้จากการทำนายไปในทิศทางเดียวกัน นี่แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยใช้ Molconn-Z descriptors เป็น molecular descriptors สามารถใช้ทำนายการซึมผ่านผิวหนังของสารต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามกลุ่ม molecular descriptor จากชุดข้อมูลการซึมผ่านคราบงูไม่สามารถนำมาใช้ในการทำนายการซึมผ่านผิวหนังของหนูและมนุษย์ได้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างทางสายพันธุ์ นอกจากนี้พบว่าแบบจำลอง ANN ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปทำนายค่าการซึมผ่านผิวหนังของระบบนำส่งยาทางผิวหนังของยา methimazole ได้
- Itemรายงานการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์เรื่องการศึกษาสมุนไพรที่มีคุณสมบัติต้านเอดส์(2543) วีณา จิรัจฉริยากูล; ปัทมา สุนทรศารทูล; เอมอร โสมนะพันธุ์; ปัทมา สุนทรศารทูล; มลวิภา วงษ์สกุล; Frahm, A.W.; จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์โปรตีนบริสุทธิ์จากเมล็ดมะระพันธุ์ไทยมีชื่อ purified Momordica protein 29 (MRK 29) มีขนาดน้ำหนักโมเลกุล 29 kD และลำดับกรดอะมิโน 20 ตัวจาก N-terminal ดังนี้ Asp Val Ser Phe Arg Leu Ser Gly Ala Asp Pro Arg Ser Tyr Gly Meth Phe Ile Lys Asp มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ HIV-reverse transcriptase และแสดงแนวโน้มในการเพิ่ม tumor necrosis factor (TNF) เมื่อกระตุ้น macrophage ด้วย lipopolysaccharide MRX 29 สกัดได้จากเมล็ดมะระพันธุ์ไทยด้วยน้ำเกลือที่ 4ํC แยกโปรตีนออกจากสารอื่นด้วยการตกตะกอนด้วยเกลือ ammomium sulfate ที่ 30-60% saturation (0ํC) เรียกโปรตีนที่ได้นี้ว่า active protein fraction ซึ่งแสดงคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ HIV-reverse transcriptase และผลต่อระบบภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกันกับ MRK 29 แต่มีคุณสมบัติอ่อนกว่า นำ active protein fraction ไปทำให้บริสุทธิ์โดยวิธี gel filtration chromatography ที่ต่อกับเครื่อง high-pressure liquid chromatography สามารถแยกโปรตีนเด่น (major component) ได้จาก active protein fraction คือ purified Monordica protein 29 (MRK 29) ซึ่งมี retention time ประมาณ 29 นาที