MULKC-Proceeding Document

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/159

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 49
  • ItemOpen Access
    "The Author Room” นิทรรศการเสมือนจริง บนแพลตฟอร์ม Spatial
    (2566) นภัสวรรณ สุพัตร; Naphatsawan Supat
    ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก หลังจากเกิดการแพร่ ระบาดของ COVID-19 ผู้คนส่วนมากดำเนินชีวิตด้วยการบริการตนเองเป็นส่วนใหญ่ (Self-service) เช่น การสั่งซื้อสินค้าอย่างอิสระผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์เป็นต้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำนิทรรศการ เสมือนจริง “The Author Room” บนแพลตฟอร์ม Spatial ที่ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งยังเป็นการนำเสนอข้อมูลของโครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยสื่อวีดิทัศน์” ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเพียงแค่มีเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี ADDIE Model ในการพัฒนา สรุปได้ว่าหลังจากพัฒนามีการ ประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ และด้านการใช้งาน ค่าเฉลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.71 สามารถนำไปใช้งานจริงได้โดยการออกบูธจัดแสดงนิทรรศการ เสมือนจริงผ่านอุปกรณ์แว่น VR ในงานประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ผลสำรวจความพึงพอใจ ภาพรวมต่อการรับชมค่าเฉลี่ย 4.50 อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด
  • ItemOpen Access
    วินวิน : พี่ได้น้องได้ โครงการนักศึกษาช่วยงาน คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
    (2565) ทิพย์สุดา วนะวนานนท์; ชญานิษฐ์ นิยม; สาวิตรี บุญปาลิต
    คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เป็นคลังความรู้ที่รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล มีการปฏิบัติงานหลายขั้นตอน เช่น คัดเลือก ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม ทำ Document Properties ปรับแก้อักขระที่ไม่สามารถอ่านได้ เป็นต้น จนถึงนำเข้าผลงานในคลังสารสนเทศสถาบันฯ ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินงานมาก จึงขอรับนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานผ่านโครงการของกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์ 1) ต้องการแบ่งเบาภาระงานของบุคลากร 2) เพื่อมีส่วนช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ใช้กระบวนการทำงานแบบ PDCA ครั้งที่ 1 กำหนดปริมาณงาน หน้าที่รับผิดชอบ ถ่ายทอดงานและให้ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย ตรวจทาน และให้คำแนะนำ พบว่า ได้ปริมาณงานตามที่ต้องการ แต่ต้องปรับปรุงเรื่องการวางแผน ในครั้งที่ 2 ปรับปรุง Plan (P) วางแผนงานให้เป็นรูปธรรม Do (D) ดำเนินงานตามแผน Check (C) ตรวจสอบเป็นระยะ ให้คำแนะนำและรายงานผล Action (A) ทบทวนปัญหาระหว่างและหลังการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ คือ ได้ปริมาณงานตามแผน นักศึกษาได้ทักษะและประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่น ขยายผลด้วยการรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบันฯ ต่อไป
  • ItemOpen Access
    คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) : เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
    (2566) ทิพย์สุดา วนะวนานนท์; ชญานิษฐ์ นิยม; สาวิตรี บุญปาลิต
    คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เป็นแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Digital Collection ที่เข้าถึงได้โดยเสรีบนเว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งให้บริการผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนจาก ๓๙ หน่วยงาน มีข้อมูลจำนวนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ รายการ เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลและผู้สนใจทั่วไป ให้สามารถสืบค้นและเข้าถึงผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูลออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Greenstone เมื่อปี ๒๕๔๙ และโปรแกรม DSpace เวอร์ชัน ๕.๔ ดำเนินการโดยงานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย ฝ่ายคลังความรู้ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านกระบวนการรวบรวมผลงานวิชาการ ทำรายการเมทาดาทา และประมวลผลการสืบค้นได้แบบ Real Time ระยะเวลา ๑๗ ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในการพัฒนา Collection ให้เติบโตได้ไม่เต็มที่ ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาในด้านกระบวนการปฏิบัติงานและปัจจุบันได้ปรับปรุงฐานข้อมูลไปสู่โปรแกรม DSpace เวอร์ชัน ๗.๔ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพการดำเนินงานและให้บริการที่มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
  • Item
    การพัฒนากระบวนการจำหน่ายออกและการจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศในระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วยเครื่องมือพัฒนาคุณภาพ ADLI
    (2566) ธัญญาดา ดวงมณี
    การยกระดับกระบวนการจำหน่ายออกและการบริหารจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดและ คลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Sierra ด้วย ADLI มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการ จำหน่ายออกหนังสือและกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Sierra ให้ เป็นระบบ (Systematic) โดยใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพองค์กร คือ ADLI (A - Approach D-Deployment Learning I-Integration) มาเป็นแนวทางดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนหนังสือของหอสมุดกลางลงให้ได้ มากกว่าร้อยละ 40 ภายในเวลา 60 วัน พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพของระเบียนบรรณานุกรมและระเบียนฉบับใน ฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ตรงตามจำนวนที่ยังคงมีให้บริการและจำนวนที่จำหน่ายออก ผลการ ดำเนินงานพบว่า สามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบตามแนวทาง ADLI โดยการจำหน่ายหนังสือที่เกินความต้องการใช้งานได้จำนวน 101,076 เล่ม (ร้อยละ 53.60) ภายในเวลา 46 วัน ใน ระหว่างปฏิบัติการมีการประเมินผลและปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำบันทึกและพัฒนาเป็น คู่มือปฏิบัติงานเผยแพร่ให้ห้องสมุดเครือข่ายในมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พัฒนาระบบบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการศึกษา และการเรียนรู้ “Mahidol Library Book Delivery” App.
    (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2021) รุ่งนภา แสงระวี; สมาชิกเครือข่ายให้บริการของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การใช้องค์ประกอบการทำงาน 5 ตัวชี้วัดในการดำเนินงานระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อความเป็นเลิศและยั่งยืน
    (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2020) รุ่งนภา แสงระวี; ปัทมา ปานมีทรัพย์; วิชาดา บุญจันทร์กุล
  • Thumbnail Image
    Item
    เจาะลึกสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศแบบบูรณาการ
    (2565) ธัญญาดา ดวงมณี; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการรวบรวมสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Sierra (Sierra) ในส่วนของการยืมออกจากห้องสมุดเท่านั้น ทั้งนี้ยังขาดสถิติส่วนของการยืมต่อ และการหยิบใช้ภายในห้องสมุด ที่ไม่สามารถเก็บสถิติได้ ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเก็บสถิติทุกวันด้วยวิธีการรีวิวไฟล์จากระบบ ทำให้เป็นเหตุให้มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บสถิติการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท จากการนำข้อมูล Circulation Transaction ของห้องสมุดอัตโนมัติ ด้วยการเขียนคำสั่ง SQL และใช้โปรแกรมภาษา PHP พร้อมทั้งแสดงผลด้วยโปรแกรม Power BI ซึ่งพบว่าวิธีการเขียนคำสั่งSQL สามารถเรียกข้อมูลการใช้งานได้ครบถ้วนทุกรูปแบบ ทั้งการยืมออกนอกห้องสมุด การคืน การยืมต่อ และการใช้ภายในห้องสมุดของทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและสามารถเรียกดูข้อมูลได้อย่างละเอียด ครบถ้วน สิ่งสำคัญคือลดภาระในการทำงาน ทั้งนี้การนำข้อมูลสถิติการใช้งานมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Power BI ทำให้การแสดงผลมีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถแสดงให้เห็นแนวโน้มการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศได้ชัดเจนขึ้นทั้งนี้งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสามารถนำข้อมูลไปใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจในการจัดหา คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ 2 ระบบงานหลัก + 1 ระบบงานสนับสนุน
    (2560) อังคณา อินทรพาณิชย์; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    รูปแบบใหม่ของระบบสมัครสมาชิกเครือข่ายห้องสมุด หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล “ลดขั้นตอน ทราบทันที ลดเวลา/หน้าที่ ได้สิทธินี้รวดเร็ว”
    (2564) รุ่งนภา แสงระวี; ปัทมา ปานมีทรัพย์; Rungnapa Saengrawee; Pattama Panmeesap; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้องสมุดเนวิน เอส สกริมชอว์ สถาบันโภชนาการ
    การสมัครสมาชิกเครือข่ายห้องสมุด หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นบริการหนึ่งในบริการทรัพยากรสารสนเทศ มี 2 รูปแบบ คือ แบบฟอร์มกระดาษ(Paper) และแบบฟอร์มออนไลน์(e-Form) กรณีศึกษาของห้องสมุดสถาบันโภชนาการใช้รูปแบบออนไลน์(e-Form) สามารถช่วยอานวยความสะดวกในการสมัครสมาชิกแทนการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มกระดาษ และช่วยให้ผู้ให้บริการนาข้อมูลไปบันทึกเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้โดยไม่ต้องพิมพ์ แต่พบว่าผู้ปฏิบัติงานยังต้องเข้าระบบสมัครสมาชิกเพื่อนาข้อมูลการสมัครสมาชิกออกมาบันทึกเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทาให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน และผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทราบได้ทันทีเมื่อมีการสมัครสมาชิกใหม่ หลังจากทราบปัญหาทางห้องสมุดจึงได้ศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการนา Google Form และบริการ Line Notify ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย มาประยุกต์ใช้ในการสมัครสมาชิกเครือข่ายห้องสมุด พบว่า ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบส่งข้อมูลแจ้งในทันที ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลการสมัคร ลดภาระหน้าที่การเข้าระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลการสมัครสมาชิกใหม่ ลดระยะเวลาการบันทึกข้อมูลสมาชิกเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ อีกทั้งช่วยอานวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการให้สามารถใช้สิทธิในการเป็นสมาชิกได้เร็วยิ่งขึ้น
  • Item
    Time Series Forecasting of E- Databases Subscription Mahidol University Library with Exponential Smoothing, LSTM, and ARIMA Models
    (2020) Vanaphol Chamsukhee; Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
    To forecast the number of access to E-Databases website is very important electronic databases subscript planning, electronic databases renewal, maintenance time, performance systems, etc. The EZproxy server is generated monthly log files by collecting the user activities access to e-database website. This paper uses the internet access log in year 2019 using three forecasting models in order to compare and identify the most appropriate model for forecasting the number of access to the website in the future. The comparison are made by evaluating model with Mean Square Error (MSE) method on three models which are ETS, LSTM, and ARIMA. The MSE results for each model are 0.150, 0.127, and 0.153 respectively. The LSTM model is the best model to obtain the minimum average error value and has shown suitability with such as time series data and seasonality including number of access to E-Database can be precise training model.
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การรับรู้และความคาดหวังของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
    (2563) ทิพย์สุดา วนะวนานนท์; ชญานิษฐ์ นิยม; สาวิตรี บุญปาลิต; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการรับรู้ ช่องทางการเข้าใช้ จุดประสงค์ และความคาดหวังในการเข้าใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 279 คน ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรรับรู้การมีบริการคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) ร้อยละ 59.86 ช่องทางเข้าใช้ คลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) ผ่านเว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลมากที่สุด ร้อยละ 63.4 จุดประสงค์ในการเข้าใช้คลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) ใช้สืบค้นข้อมูลทำวิจัยมากที่สุด ร้อยละ 32.5 ข้อเสนอแนะคาดหวังให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงให้เข้าถึงได้ง่าย เชื่อมโยงเว็บลิงก์กับเว็บไซต์คณะ สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงซึ่งส่งผลให้มีการใช้งานคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) เพิ่มขึ้น
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ความต้องการใช้หนังสือฉบับพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในเครือข่ายห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) ดาริกา เชื้อสมัน; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และปัญหาในการใช้งานหนังสือฉบับพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในเครือข่ายห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเปรียบเทียบสถานภาพของผู้ใช้บริการกับความต้องการใช้หนังสือฉบับพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1,242 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการต้องการให้ห้องสมุดจัดหาหนังสือฉบับพิมพ์ เพราะอ่านง่าย ไม่เสียสุขภาพตา ส่วนการเปรียบเทียบสถานภาพผู้ใช้บริการกับความต้องการใช้ พบว่านักศึกษาปริญญาตรีส่วนใหญ่ต้องการใช้หนังสือฉบับพิมพ์ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เป็นตำราประกอบการเรียน ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนต้องการใช้หนังสือฉบับพิมพ์ เนื่องจากหนังสือทั่วไปที่มีให้บริการยังผลิตในรูปแบบฉบับพิมพ์ ในขณะที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษา และอาจารย์นั้นต้องการให้ห้องสมุดจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า เนื่องจากการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การเตรียมการสอน และการวิจัยจำเป็นต้องใช้เอกสารประกอบที่เข้าถึงได้ง่าย พกพาสะดวก ง่ายต่อการเก็บรักษา และสืบค้นง่าย ส่วนนักวิจัยต้องการทั้ง 2 รูปแบบเท่ากัน
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol Book Delivery) “แจ้งเตือน LINE Notify เตือนง่าย.. ได้ใจ”
    (2563) รุ่งนภา แสงระวี; ปัทมา ปานมีทรัพย์; ปิยวัฒน์ ชวนวารี; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้องสมุดสถาบันโภชนาการ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลมีบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Book Delivery) เกิดจากความร่วมมือของห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งในและนอกสังกัด จำนวน 28 แห่ง ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายให้บริการ จัดให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมีบริการรถรับส่งหนังสือวิ่งระหว่างศาลายา-พญาไท-ศิริราช เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า และตอบสนองความต้องการใช้บริการของผู้ใช้บริการ มีสถิติการขอใช้บริการเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 พบว่ามีผู้ใช้บริการหลายรายไม่พึงพอใจต่อระยะเวลาการให้บริการที่มีความล่าช้า และจากการสอบถาม/สัมภาษณ์ ปัญหา อุปสรรค และความต้องการของผู้ให้บริการ ผู้ควบคุม กำกับ ดูแล ผู้ประสานงานรับ-ส่ง และพนักงานรับส่ง พบประเด็นปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน อาทิเช่น ด้านบุคลากร กระบวนการทำงาน อุปกรณ์ เป็นต้น จึงนำไปสู่การพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol Book Delivery) ด้วยการประยุกต์นำบริการ Line Notify ของ Application LINE ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันมาใช้ปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก มีรูปแบบมาตรฐาน ลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินให้แก่องค์กร ผู้ให้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน โดยการพัฒนาชุดคำสั่ง Line Notify ทดสอบระบบ และนำไปสู่การทดสอบใช้ปฏิบัติงานจริง พร้อมจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการ ผู้ประสานงานรับ-ส่ง และพนักงานรับส่งของงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีต่อการใช้งานระบบ Line Notify พบว่า ระบบ Line Notify ช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลระดับเห็นด้วยมาก(3.52) ระบบ Line Notify ช่วยให้การบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลสะดวกขึ้น ระดับเห็นด้วยมาก(3.53) มีความพึงพอใจต่อระบบ Line Notify ในระดับพึงพอใจมาก(3.87) และผู้ปฏิบัติงานทุกคนเห็นด้วยที่จะใช้งานระบบ Line Notify ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Book Delivery) ต่อไป(ร้อยละ100) ดังนั้น การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนและพัฒนาระบบการบริการเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ ทำให้ประสบผลสำเร็จเกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีรูปแบบมาตรฐาน ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงานให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและองค์กร และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานบริการต่าง ๆ ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันได้ในอนาคต
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พฤติกรรมการใช้เว็บ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความภักดี ต่อเว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) อุทัยวรรณ สุวรรณยั่งยืน; สิขริน สุวรรณนที, ว่าที่ ร.ต.; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานบริหารและธุรการ สำนักงานผู้อำนวยการ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความภักดีต่อเว็บไซต์หอสมุด และคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน คือ นักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษา ปริญญาโท และนักศึกษาปริญญาเอก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบเอกสาร การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพฤติกรรม พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เปิดเว็บไซต์หอสมุดและ คลังความรู้ฯ ที่มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสมาร์ทโฟนและใช้งานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (MU WIFI) ผ่าน เว็บเบราเซอร์ Google Chrome ความถี่ในการใช้งาน 1-2 ครั้งต่อเดือน และใช้เวลาน้อยกว่า 15 นาที ใช้ประโยชน์ในการค้นหาหนังสือ ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความภักดีต่อเว็บไซต์หอสมุดและ คลังความรู้ฯ คือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ คุณภาพเว็บไซต์ ความพึงพอใจ ส่งผลในเชิงบวกต่อความภักดีต่อ เว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้ฯ อย่างมีนัยสำคัญ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบจองห้องศึกษารายกลุ่ม หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) ปิยวัฒน์ ชวนวารี; โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    การพัฒนาระบบจองห้องศึกษารายกลุ่ม หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้แนวคิด ทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Life Cycle : SDLC) ร่วมกับการประเมิน ประสิทธิภาพของระบบ และความพึงพอใจของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการต่อระบบจองห้องศึกษารายกลุ่ม ในการพัฒนาระบบได้ใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ร่วมกับภาษา PHP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการจองห้องศึกษารายกลุ่มผ่านระบบออนไลน์ และลดปัญหาการจัดเก็บข้อมูลสถิติ การบริการ ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการลดจำนวนการใช้กระดาษ ให้มีการทำงานที่รวดเร็วขึ้นมากกว่า รูปแบบเดิม ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจองห้องศึกษารายกลุ่ม ในส่วนของผู้ให้บริการ ให้ผล การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับดี (x􀇉 = 4.38, S.D. = 0.57) โดยได้รับผลการประเมิน ประสิทธิภาพสูงสุดในเรื่อง ระบบมีความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการจอง ความรวดเร็วในการประมวลผล ของระบบ และระบบนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการที่จะนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผล การประเมินความพึงพอใจต่อระบบจองห้องศึกษารายกลุ่ม ในส่วนของผู้ใช้บริการ ให้ผลการประเมินความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับดี (x􀇉 = 4.27, S.D. = 0.71) โดยได้รับผลการประเมินความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องการมีระบบ Login เพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ระบบและตรวจสอบข้อมูลการจอง ข้อมูลการจองของระบบมีความถูกต้อง และระบบ สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบจองห้องศึกษารายกลุ่มที่พัฒนาขึ้นมา มีการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และสามารถลดขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ถอดบทเรียนผลการตรวจประเมิน EdPEx ของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (2559-2562)
    (2563) พรจิตต์ หมีงาม; อุทัยวรรณ สุวรรณยั่งยืน; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานบริหารและธุรการ สำนักงานผู้อำนวยการ
    บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลประเมินการดำเนินการ จุดเด่นและโอกาสพัฒนาตาม เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ เป็นแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จุดเด่นและโอกาสพัฒนาจากรายงานการตรวจประเมินตามเกณฑ์ EdPEx ปี 2559, ปี 2560, ปี 2561 และ ปี 2562 ของหอสมุดฯ จำนวน 4 เล่ม ผลการวิเคราะห์ พบว่า การนำเกณฑ์ EdPEx มาเป็นเครื่องมือบริหารองค์กรตามนโยบายการ ประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้มีหอสมุดฯ มีการพัฒนากระบวนการดำเนินการและผลลัพธ์ ตามเกณฑ์ EdPEx ที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการสำคัญเริ่มมีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ระดับพัฒนาการองค์กรอยู่ในแถบ Band 2 (ช่วงคะแนน 276-370) ผลวิเคราะห์นำมาเป็นแนวทางการพัฒนาตนเอง และเพิ่มประสิทธิผลให้องค์กรให้ดีขึ้นได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิห้องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง
    (2563) กฤษฎา แก้วผุดผ่อง; โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี; ปิยวัฒน์ ชวนวารี; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิห้องเซิร์ฟเวอร์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องเซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งเป็นการเฝ้าระวัง และ แจ้งเตือนข้อมูลการแสดงผลอุณหภูมิภายในห้องเซิร์ฟเวอร์ที่มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาการ ตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องเซิร์ฟเวอร์ จะทำได้ต่อเมื่อมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณห้องเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น หาก ผู้ปฏิบัติงานอยู่นอกสถานที่ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องเซิร์ฟเวอร์มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่ทราบข้อมูล ในทันที หรือเกิดความไม่สะดวกในการตรวจสอบ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา การทำงานของระบบที่ ได้พัฒนาขึ้นจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) แบบ DHT11 ทำการตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นที่ได้ ส่งผ่านระบบเครือข่าย แบบไร้สายไปยังโปรแกรม Blynk บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อแสดงผลอุณหภูมิและความชื้นที่วัดค่าได้แบบ Real time มีการจัดเก็บบันทึกค่าของอุณหภูมิที่วัดได้ในแต่ละช่วงเวลา โดยสามารถนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ได้ในภายหลัง และหากพบว่าอุณหภูมิภายในห้องเซิร์ฟเวอร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็จะมีการแจ้งเตือนในทันทีไปยัง Line Notify ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) และเซนเซอร์ (Sensor) ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น มาประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดและบันทึกข้อมูล จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในการตรวจสอบได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ทำให้เกิดความปลอดภัย และลด ความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้องเซิร์ฟเวอร์
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การวิเคราะห์ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์จากการเข้าใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ EZProxy ของผู้ใช้บริการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) สิขริน สุวรรณนที, ว่าที่ ร.ต.; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
    บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลการจราจรอีแซดพร็อกซี่ (EZProxy logs) โดยใช้วิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ (Log Analysis) ด้วยซอฟต์แวร์ ezPAARSE ที่เป็นโอเพนซอร์ส วิเคราะห์ ข้อมูลการเข้าใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการผ่านระบบอีแซดพร็อกซี่ EZProxy ระยะเวลา 1 ปี ในปี 2561 ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นำมาสร้างกราฟแสดงผลทางสถิติ ได้ 8 รูปแบบ ได้แก่ สถิติการเข้าใช้งาน ตามชื่อวารสาร (Journal), สถิติการเข้าใช้งานตามชื่อโดเมน (Domain), สถิติการเข้าใช้งานตามชนิดของทรัพยากร (Formats), สถิติการเข้าใช้งานตามชื่อของฐานข้อมูล (Platform), สถิติการเข้าใช้งานรายเดือน (Month), สถิติการ เข้าใช้งานตามประเภทของทรัพยากร (Types), สถิติการเข้าใช้งานตามเวลารายชั่วโมง (Hour), แสดงสถิติการเข้าใช้ งานตามรายชื่อฐานข้อมูลเทียบกับผู้ใช้ตามคณะ (Faculty) ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลการจราจรอีแซดพร็อกซี่ (EZProxy logs) นำมาใช้ประกอบในการ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ตรงความต้องการของผู้ใช้ และใช้ในการวางแผนการจัดหาทรัพยากร สารสนเทศให้สอดคล้องกับงบประมาณของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    MUPY Book Delivery Service : No Waste for the Best & Press LIKE
    (2562) อังคณา อินทรพาณิชย์; สุพรรณษา นนทเกษ; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์
    Mahidol Book Delivery เป็นบริการให้ยืมและรับคืนหนังสือระหว่างเครือข่ายห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล 28 แห่ง (5 วิทยาเขต) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดงบประมาณจัดซื้อหนังสือด้วยการใช้ทรัพยากรร่วมกันและจัดรถบริการรับส่งในวันทำการ โดยมีหอสมุดกลางเป็นผู้ประสานงานหลักและจัดตารางรถรับส่งประจำวัน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับการตอบรับที่ดีมากจากผู้รับบริการของห้องสมุดทุกแห่ง แต่ยังพบปัญหาในด้านความล่าช้าของขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีข้อผิดพลาดในการสื่อสาร และความสิ้นเปลืองทรัพยากร เมื่อวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงานด้วย Lean พบว่าในปีที่ผ่านมาสามารถลดงบประมาณจัดซื้อหนังสือได้เป็นจำนวน 113,677.85 บาท (PY) ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณค่าโดยความร่วมมือของหอสมุดและคลังความรู้ฯ กับบริษัทผู้ส่งมอบ (EBSCO) การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างผู้รับบริการกับผู้ปฏิบัติงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ปัญหาที่พบในการปรับกระบวนงาน ได้แก่ การยึดติดกับวิธีการปฏิบัติงานแบบเดิม และการรับส่งหนังสือระหว่างหลายวิทยาเขตยังเป็นอุปสรรคต่อการประกันคุณภาพบริการด้านเวลา