CE-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/35

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Publication
    The Inner Growth of Youths throughHospice Care:A Phenomenological Research
    (2561) Supre Kanjanaphitsarn; Jirattakarn Pongpakatien; Somsit Asdornnithee; สุปรียส์ กาญจนพิศศาล; จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร; สมสิทธิ์ อัสดรนิธี; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
    This qualitative research undertook a phenomenological research approach by collecting data through in-depth interview, focus group and day-to-day reportsof field experience of youths who volunteered in the project to visitthe patients in the last stageof livesby themselves . Six motives supporting the inner growth of youth from practically taking care of hospice patientswere: self-awareness, contemplation, intention, acquiring knowledge and taking action, continuation of practices until it becomes a part of one’s life, and sharing and learning, all of which coulddrive them for a great change to be evolving in their livesand further commit themselves to be a self-less service peopleto mankind and society.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การเปลี่ยนแปลงมิติภายในของพระสงฆ์กลุ่มอาสาคิลานธรรมภายหลังเข้าร่วมหลักสูตรการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและในระยะติดตามผลการปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยระยะท้าย.
    (2563) เพริศพรรณ แดนศิลป์; สมพร รุ่งเรืองกลกิจ; รุ้งนภา ผาณิตรัตน์; กวินฉัตระสิริ เมืองไทย; โสรีช์ โพธิแก้ว; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะพยาบาลศาสตร์. สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต; วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์. คณะพยาบาลศาสตร์. สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
    งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงมิติภายในของพระสงฆ์ ภายหลังการเข้าร่วมหลักสูตรการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและในระยะติดตามผลการปฏิบัติงานต่อ ผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ให้ข้อมูลหลักคือพระสงฆ์กลุ่มคิลานธรรมที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร 12 รูป และผู้ให้ ข้อมูลประกอบ 16 คน คือ (1) ญาติผู้ป่วย 11 คน (2) ผู้สอนและผู้นำกลุ่ม 5 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนา กลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจดบันทึก ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลงมิติภายใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจใน หลักพุทธธรรมและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (2) ด้านทัศนะต่อโลกและชีวิต และ (3) ด้านสภาวะ จิตใจที่เป็นกุศลและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก คือผู้สอนในฐานะกัลยาณมิตร กระบวนการสอนที่เอื้อให้ประสบตรงในหลักอริยสัจ 4 และการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ และปัจจัย ภายใน คือ โยนิโสมนสิการในผู้เรียนและต้นทุนการฝึกปฏิบัติในวิถีของพระสงฆ์ ในระยะติดตามผล ความเปลี่ยนแปลงมิติภายในมีความเข้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน และผลการปฏิบัติงานเยียวยาจิตใจของพระสงฆ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • Publication
    การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชน แอโก๋-แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา
    (2561) สมสิทธิ์ อัสดรนิธี; สุปรียส์ กาญจนพิศศาล; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
    วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงศักยภาพภายในและศักยภาพภายนอกของผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋-แสนคำลือที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาบทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองคล้ายธรรมชาติ โดยเน้นความสำคัญอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาให้แก่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่สมัครใจและทำการคัดเลือกมาเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้นำรุ่นใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนด้านการสื่อสารความรู้สึกออกมาอย่างซื่อตรง ความกล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน การมีสติ การเริ่มเห็นความสำคัญและแสดงออกในลักษณะของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา รวมถึงเกิดแรงบันดาลใจในการเป็นผู้นำที่ดีและการมีสัมพันธภาพในทางที่ดีขึ้นกับบุคคลใกล้ชิด ส่วนผลสัมฤทธิ์ภายนอกนั้นถึงแม้กลุ่มผู้นำจะสามารถพฒันาทักษะเรื่องการนำเสนอผลงาน การทำบัญชีครัวเรือนและการเขียนโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยยังไม่พบมุมมองร่วมที่สามารถเชื่อมโยงพลังของกลุ่มในการขับเคลื่อนงานเชิงระบบในภาพรวม ผู้วิจัยพบว่าผู้นำรุ่นใหม่กลุ่มนี้ควรได้เรียนรู้และพัฒนายกระดับศักยภาพทางมิติด้านในเพิ่มเติมผ่านการฝึกฝนทักษะการสื่อสารแนวสุนทรียสนทนา และฝึกฝนเจริญสติภาวนา รวมถึงการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิมและการฝึกฝนทักษะการเป็นกระบวนกร