Publication: ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
Issued Date
2553
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1 (2553). 121-135
Suggested Citation
วันเพ็ญ ไสไหม (ชื่อเดิม), พีรญา ไสไหม, สุดาพรรณ ธัญจิรา, ณวีร์ชยา ประเสริฐสุขจินดา ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. รามาธิบดีเวชสาร, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1 (2553). 121-135. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3240
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
Abstract
การเผชิญกับผู้ป่วยและญาติที่มีความรุนแรง ก้าวร้าวเป็นปัญหาที่คุกคามต่อการ
ปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ลักษณะของความรุนแรง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำความรุนแรง ผลของความรุนแรง
และการจัดการกับเหตุการณ์ความรุนแรงของบุคลากรทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุ
และฉุกเฉิน โดยศึกษาจากบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานงานอุบัติเหตุและ
ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีจำนวนทั้งหมด 124 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการตอบกลับ 100% ผลการ
ศึกษาพบว่าร้อยละ 84.7 (จำนวน 105 คน) ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประสบการณ์ถูกกระทำ
รุนแรงในสถานที่ทำงาน ลักษณะความรุนแรงทางวาจาพบมากที่สุดร้อยละ 82.9 ปัจจัยที่ส่งเสริม
ให้เกิดการถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 91.4 คือ เมาสุรา สำหรับผลของการถูก
กระทำความรุนแรงตามความรู้สึกต่อเหตุการณ์มากที่สุดร้อยละ 72.4 คือ มีความรู้สึกโกรธ และ
ร้อยละ 76.2 รู้สึกสูญเสียความพึงพอใจในงาน การจัดการกับความรุนแรงในสถานที่ทำงาน
บุคลากรทางการพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 ใช้วิธีเดินหนีหรือหลีกเลี่ยง รองลงมาคือ
ขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงานและหัวหน้าเวร เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง บุคลากรส่วน
ใหญ่ไม่เขียนบันทึกรายงานถึงร้อยละ 77.1 ทั้งนี้ การจะเขียนบันทึกรายงานหรือไม่ขึ้นกับความ
รุนแรงของเหตุการณ์และการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา ส่วนหน่วยงานได้ดำเนินการสอบสวน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคลากรที่เขียนบันทึกรายงานคิดเป็นร้อยละ 95.8 และมีการดำเนินการ
ต่อกรณีร้องเรียนจากผู้ที่กระทำความรุนแรงคือ การติดต่อ/ชี้แจง สาเหตุของปัญหาที่ผู้ร้องเรียน
ไม่พอใจและก่อความรุนแรงถึงร้อยละ 87.5 จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน
การวางแผนป้องกันและจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในการ
สร้างระบบความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและบุคลากรทางการพยาบาล ควรจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กับความรุนแรง และส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรทางการพยาบาลในการจัดการความรุนแรง
อย่างเหมาะสม