Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

dc.contributor.authorภัทรนุช วิทูรสกุลen_US
dc.contributor.authorชญาภา ชัยสุวรรณen_US
dc.contributor.authorสมสิริ รุ่งอมรรัตน์en_US
dc.contributor.authorPattaranuch Witoonsakulen_US
dc.contributor.authorChayapa Chaisuwanen_US
dc.contributor.authorSomsiri Rungamornraten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-03-29T07:44:54Z
dc.date.available2022-03-29T07:44:54Z
dc.date.created2565-03-29
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูหรือผู้ดูแลที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 100 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: การรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ร้อยละ 32.5% (R2 = .33, F = 23.33, p < .001) และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .46, p < .001) และการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (β = .21, p = .020) สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทีมสุขภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูหรือผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูหรือผู้ดูแลและการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the predictive power of self-efficacy, health literacy, and support from the provincial administrative organizations on behaviors of teachers or caregivers in preventing infection and transmission of COVID-19 in child care centers. Design: Correlational predictive design. Methods: The sample comprised of 100 teachers or caregivers in child care centers. This study was done with a convenience sampling who met the inclusion criteria. The instruments for data collection included a demographic questionnaire, a self-efficacy questionnaire, a health literacy questionnaire, a questionnaire on perceived support from provincial administrative organizations, and a COVID-19 preventive behaviors questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. Main findings: Perceived self-efficacy and support from the provincial administrative organizations could be jointly predicted teachers’ or caregivers’ behaviors in preventing infection and transmission of COVID-19 in child care centers 33% (R2 = .33, F = 23.33, p < .001). The factors that significantly predicted teachers’ or caregivers’ behaviors in preventing infection and transmission of COVID-19 in child care centers were perceived self-efficacy (β = .46, p < .001) and support from the provincial administrative organizations (β = .21, p = .020). Conclusion and recommendations: Perceived self-efficacy and support from the provincial administrative organizations are key predictors of behaviors in preventing infection and transmission of COVID-19. The healthcare team will be able to use the research findings to guide the development of programs that promote preventive behaviors of COVID-19 infection and transmission for teachers or caregivers in child care centers by enhancing perceived self-efficacy and support from the provincial administrative organizations.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2564), 13-26en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64406
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen_US
dc.subjectโควิด-19en_US
dc.subjectพฤติกรรมการป้องกันen_US
dc.subjectครูen_US
dc.subjectcaregiversen_US
dc.subjectchild care centersen_US
dc.subjectCOVID-19en_US
dc.subjectpreventive behaviorsen_US
dc.subjectteachersen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Behaviors in Preventing COVID-19 of Teachers and Caregivers in Child Care Centersen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/250609

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-chayapa-2564.pdf
Size:
1.59 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections