Publication: การพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้พลังอำนาจตนเองโดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ในนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 43, ฉบับที่ 3 (2556), 218-229
Suggested Citation
สุปรียา ตันสกุล, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, Supreya Tansakul, Paranee Vatanasomboon การพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้พลังอำนาจตนเองโดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ในนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 43, ฉบับที่ 3 (2556), 218-229. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2518
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้พลังอำนาจตนเองโดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ในนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Alternative Title(s)
Improving public speaking skill and perceived self-empowerment through experiential learning among students of bachelor of science program in public health, major in health education and behavioral sciences
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ ดำเนินการในนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ จำนวน 21 คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดในที่ชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้พลังอำนาจตนเองของผู้เรียนโดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ นักศึกษาได้รับการสอนซึ่งออกแบบบนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และแนวคิดการเรียนรู้บนฐานสมอง (Brain-Based Learning) โดยใช้ 5 ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ได้แก่ สร้างประสบการณ์/ลงมือทำ (Experience/Doing) แลกเปลี่ยน (Share) กระบวนการเรียนรู้ตนเอง (Process) นำสิ่งที่เรียนมาประมวลเป็นภาพรวม (Generalize) และประยุกต์ให้ตรงกับตัวเอง (Apply) จำนวน 15 ครั้งๆละ 2 ชั่งโมง ผลจากการประเมินทั้งจากผู้สอนและผู้เรียนแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และวิธีการสอนที่จัดขึ้นได้ผล นักศึกษามีทักษะการพูดในระดับดีถึงดีมาก มีคะแนนการประเมินตนเองในการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้พลังอำนาจก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังจบการทดลองนักศึกษาทั้งหมดมีคะแนนประเมินตนเองในการพูดในที่ชุมชนเพิ่มจากเดิมร้อยละ 100 และมีคะแนนการรับรู้พลังอำนาจตนเองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 95.2 จากผลการวิจัยการนำรูปแบบการเรียนการสอนนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการพูดในที่ชุมชนและการรับรู้การเพิ่มพลังอำนาจตนเอง ควรเน้นการใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับจากวิดิโอการพูดของแต่ละคน และควรนำนักศึกษาออกฝึกการพูดในที่ชุมชนนอกห้องเรียนซึ่งจะเป็นการถ่ายโอนความสามารถในชั้นเรียนเข้าสู่สถานการณ์จริง
This classroom action research was conducted among 21 students of Bachelor of Science Program in Public Health, major in Health Education and Behavioral Sciences who registered for public speaking course. The objectives were to evaluate improvement of learners’ public speaking skills and perceived self-empowerment through experiential learning. The students were provided with instruction methods designed based on concepts of Constructivism theory and Brain-Based Learning,
using a 5-step experiential learning process: do/experience, share, process/refl ect, generalize and apply for fi fteen two-hour sessions. Assessment results from both an instructor and learners demonstrated an effective use of experiential learning and teaching methods provided. Students could perform their speaking skill at good and excellent levels. Pretest and posttest assessments of the research showed statistically signifi cant difference in scores of public speaking self-assessment and perceived self-empowerment. After fi nishing the course, all students (100%) had relatively increased public speaking self-assessment scores, while 95% of them had increased perceived selfempowerment scores. The results suggest that to use this instruction approach to increase learners’ public speaking ability and perceived self-empowerment, performance feedback from each individual video record should be emphasized. Also, outside-classroom practice of public speaking should be enhanced to provide students with an opportunity of transferring their in-class abilities to real situations.