Publication: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการความปวดเฉียบพลันของพยาบาลในผู้บาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
ISSN
2672-9784 (Online)
0858-9739 (Print)
0858-9739 (Print)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 228-239
Suggested Citation
วิจิตร ศรีสุพล, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, พิชญ์ประอร ยังเจริญ, Wijit Srisuphon, Kusuma Khuwatsamrit, Phichpraorn Youngcharoen ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการความปวดเฉียบพลันของพยาบาลในผู้บาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 228-239. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79929
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการความปวดเฉียบพลันของพยาบาลในผู้บาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
Alternative Title(s)
Relationships Among Nurses’ Personal Factors, Knowledge, Attitudes, and Acute Pain Management for Trauma Patients in Emergency Department
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลความรู้ในการจัดการความปวดเฉียบพลัน ทัศนคติในการจัดการความปวดเฉียบพลัน และการจัดการความปวดเฉียบพลันของพยาบาลในผู้บาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลประจำที่หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 86 ราย ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ในการจัดการความปวดเฉียบพลัน ทัศนคติในการจัดการความปวดเฉียบพลัน แบบสอบถามการจัดการความปวดเฉียบพลัน และแบบประเมินการจัดการความปวดเฉียบพลันของพยาบาลในผู้บาดเจ็บวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย หาค่าความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลมีคะแนนความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนทัศนคติโดยรวมอยู่ในเชิงบวก และคะแนนการจัดการความปวดเฉียบพลันโดยรวมอยู่ในระดับดี ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับทัศนคติอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ การจัดการความปวดเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และการได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความปวดเฉียบพลัน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนว
ปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ในการจัดการความปวดเฉียบพลันสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่หน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร โดยการจัดอบรมเกี่ยวกับการจัดการความปวดเฉียบพลันแก่พยาบาลหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินต่อไป
This descriptive research aimed to explore relationships among nurses’personal factors, knowledge, and attitudes toward acute pain management, and acute pain management (APM) for trauma patients in the emergency department. Eighty-six professional nurses who worked in an emergency department and met the inclusion criteria were recruited for this study. The questionnaires were used to elicit demographic data, nurses’ knowledge about APM, nurses’ attitudes towards APM, nurses’ APM,and an assessment checklist on nurses’ APM. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman’s rank correlation coefficients, and point-biserial correlation coefficients. The results demonstrated that the mean scores of nurses’ knowledge,attitudes, and APM for trauma patients in the emergency department were moderate,positive, and good, respectively. A moderate positive correlation was found between nurses’ knowledge and attitudes. Significant positive correlations were found between APM and nurses’ attitudes, years of working experience, and pain management training.However, nurses’ knowledge was not significantly correlated with APM. The findings could be used to develop clinical nursing practice guidelines for APM for trauma patients in the emergency department. Also, a regular APM training program should be provided for emergency nurses to improve nursing service quality.
This descriptive research aimed to explore relationships among nurses’personal factors, knowledge, and attitudes toward acute pain management, and acute pain management (APM) for trauma patients in the emergency department. Eighty-six professional nurses who worked in an emergency department and met the inclusion criteria were recruited for this study. The questionnaires were used to elicit demographic data, nurses’ knowledge about APM, nurses’ attitudes towards APM, nurses’ APM,and an assessment checklist on nurses’ APM. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman’s rank correlation coefficients, and point-biserial correlation coefficients. The results demonstrated that the mean scores of nurses’ knowledge,attitudes, and APM for trauma patients in the emergency department were moderate,positive, and good, respectively. A moderate positive correlation was found between nurses’ knowledge and attitudes. Significant positive correlations were found between APM and nurses’ attitudes, years of working experience, and pain management training.However, nurses’ knowledge was not significantly correlated with APM. The findings could be used to develop clinical nursing practice guidelines for APM for trauma patients in the emergency department. Also, a regular APM training program should be provided for emergency nurses to improve nursing service quality.