Publication: Radiation Dosimetry in Non-Hodgkin’s B-Cell Lymphoma Patients Treated with 131I-Rituximab Radioimmunotherapy
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Diagnostic and Therapeutic Radiology Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University,
Radioisotope Center Thailand Institiute of Nuclear Technology (Public Organization)
Radioisotope Center Thailand Institiute of Nuclear Technology (Public Organization)
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 40, No. 2 (Apr-Jun 2017), 8-15
Suggested Citation
Wirote Changmuang, Arpakorn Kositwattanarerk, Kittipong Thongklam, Kanokon Poonak, Putthiporn Charoenphun, Thanete Doungta, วิโรจน์ ช่างม่วง, อาภากร โฆษิตวัฒนฤกษ์, กิตติพงษ์ ทองกล่ำ, กนกอร ภู่นาค, พุทธิพรณ์ เจริญพันธุ์, ธเนศ ดวงตา Radiation Dosimetry in Non-Hodgkin’s B-Cell Lymphoma Patients Treated with 131I-Rituximab Radioimmunotherapy. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 40, No. 2 (Apr-Jun 2017), 8-15. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79576
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Radiation Dosimetry in Non-Hodgkin’s B-Cell Lymphoma Patients Treated with 131I-Rituximab Radioimmunotherapy
Alternative Title(s)
การคำนวณปริมาณรังสีในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารเภสัชรังสี Iodine-131-Rituximab
Abstract
Objective: The aim of this study was to calculate a therapeutic dose of 131I-Rituximab after a tracer patient-specific dosimetry based on whole body absorbed dose of 0.75 Gy.
Methods: Eight patients (mean ± S.D. age, 59.0 ± 11.6 years) were given initial tracer activity of 131I-Rituximab intravenously. Whole body images at 10 minutes, 3 days and 6 days were used to generate the Time-activity curve (TAC). TAC was fitted by plotting Log10 of the percentage administered activity remaining with time of scan and was used for calculation of the effective half-life, residence time and therapeutic dose. The organs dose was calculated by MIRDOSE 3.1 software.
Results: The mean effective half-life was 145.7 ± 13.4 hours, whereas the residence time was 210.3 ± 19.4 hours. The mean therapeutic dose was 1.16 ± 0.16 GBq. The mean absorbed dose to liver, lungs, ovaries, red marrow, testes and total body was 0.58 ± 0.05, 0.54 ± 0.05, 0.63 ± 0.06, 0.56 ± 0.05, 0.53 ± 0.05 and 0.54 ± 0.06 mGy/MBq, respectively.
Conclusions: The whole body radiation dose using a patient-specific tracer dose calculation based on whole body absorbed dose of 0.75 Gy was appropriate for therapeutic dose calculation in Radioimmunotherapy (RIT) patient.
วัตถุประสงค์: เพื่อคำนวณปริมาณความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อม น้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์ โดยอ้างอิงปริมาณรังสีดูดกลืนที่ร่างกายผู้ป่วยได้รับไม่เกิน 0.75 Gy วิธีการศึกษา: หลังจากการใช้รังสีปริมาณน้อยสำหรับการวินิจฉัย และใช้ในการถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยแต่ละราย โดยผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 8 ราย (อายุ 59.0 ± 11.6 ปี) ได้รับปริมาณความแรงรังสี 185 MBq ของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ จากนั้นถ่ายภาพรังสีทั้งตัวด้านหน้าและด้านหลังของผู้ป่วยที่ 10 นาที 3 วัน และ 6 วัน ตามลำดับ หลังจากผู้ป่วยได้รับสารเภสัชรังสี จากนั้นทำการสร้างกราฟการลดลงของปริมาณสารเภสัชรังสีในร่างกายผู้ป่วยตามเวลาที่ถ่ายภาพรังสี ข้อมูลที่ได้จากกราฟดังกล่าวใช้ในการประเมินครึ่งชีวิตยังผล ระยะเวลาที่สารเภสัชรังสีสะสมอยู่ในร่างกาย และคำนวณความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์ รวมถึงคำนวณปริมาณรังสีดูดกลืนที่อวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยด้วยโปรแกรม MIRDOSE 3.1 ผลการศึกษา: ค่าครึ่งชีวิตยังผล และระยะเวลาที่สารเภสัชรังสีสะสมอยู่ในร่างกายมีค่าเฉลี่ยเป็น 145.7 ± 13.4 ชั่วโมง และ 210.3 ± 19.4 ชั่วโมง ตามลำดับ ความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab สำหรับใช้รักษา ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์มีค่าเฉลี่ยเป็น 1.16 ± 0.16 GBq ค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีดูดกลืน ที่ตับ, ปอด, รังไข่, ไขกระดูกแดง, อัณฑะ และทั่วร่างกายมีค่าเป็น 0.58 ± 0.05, 0.54 ± 0.05, 0.63 ± 0.06, 0.56 ± 0.05, 0.53 ± 0.05 และ 0.54 ± 0.06 mGy/MBq ตามลำดับ สรุป: ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับโดยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในแต่ละราย โดยอ้างอิงปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยทั้งตัวได้รับไม่เกิน 0.75 Gy นั้น มีความเหมาะสมสำหรับการคำนวณปริมาณความแรงของสารเภสัชรังสี131I-rituximab ในการรักษาผู้ป่วยเพื่อช่วยลดอัตราการตายและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อคำนวณปริมาณความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อม น้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์ โดยอ้างอิงปริมาณรังสีดูดกลืนที่ร่างกายผู้ป่วยได้รับไม่เกิน 0.75 Gy วิธีการศึกษา: หลังจากการใช้รังสีปริมาณน้อยสำหรับการวินิจฉัย และใช้ในการถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยแต่ละราย โดยผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 8 ราย (อายุ 59.0 ± 11.6 ปี) ได้รับปริมาณความแรงรังสี 185 MBq ของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ จากนั้นถ่ายภาพรังสีทั้งตัวด้านหน้าและด้านหลังของผู้ป่วยที่ 10 นาที 3 วัน และ 6 วัน ตามลำดับ หลังจากผู้ป่วยได้รับสารเภสัชรังสี จากนั้นทำการสร้างกราฟการลดลงของปริมาณสารเภสัชรังสีในร่างกายผู้ป่วยตามเวลาที่ถ่ายภาพรังสี ข้อมูลที่ได้จากกราฟดังกล่าวใช้ในการประเมินครึ่งชีวิตยังผล ระยะเวลาที่สารเภสัชรังสีสะสมอยู่ในร่างกาย และคำนวณความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์ รวมถึงคำนวณปริมาณรังสีดูดกลืนที่อวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยด้วยโปรแกรม MIRDOSE 3.1 ผลการศึกษา: ค่าครึ่งชีวิตยังผล และระยะเวลาที่สารเภสัชรังสีสะสมอยู่ในร่างกายมีค่าเฉลี่ยเป็น 145.7 ± 13.4 ชั่วโมง และ 210.3 ± 19.4 ชั่วโมง ตามลำดับ ความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี 131I-rituximab สำหรับใช้รักษา ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินชนิดบีเซลล์มีค่าเฉลี่ยเป็น 1.16 ± 0.16 GBq ค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีดูดกลืน ที่ตับ, ปอด, รังไข่, ไขกระดูกแดง, อัณฑะ และทั่วร่างกายมีค่าเป็น 0.58 ± 0.05, 0.54 ± 0.05, 0.63 ± 0.06, 0.56 ± 0.05, 0.53 ± 0.05 และ 0.54 ± 0.06 mGy/MBq ตามลำดับ สรุป: ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับโดยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในแต่ละราย โดยอ้างอิงปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยทั้งตัวได้รับไม่เกิน 0.75 Gy นั้น มีความเหมาะสมสำหรับการคำนวณปริมาณความแรงของสารเภสัชรังสี131I-rituximab ในการรักษาผู้ป่วยเพื่อช่วยลดอัตราการตายและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย