Publication:
การศึกษาสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการขายและการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อโซเชียลมีเดีย (social media network)การศึกษาสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการขายและการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อโซเชียลมีเดีย (social media network)

dc.contributor.authorศรีรัช ลาภใหญ่
dc.contributor.authorSirach Lapyai
dc.date.accessioned2025-04-09T09:11:52Z
dc.date.available2025-04-09T09:11:52Z
dc.date.created2568-04-09
dc.date.issued2568
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ใน 5 ประเด็น คือ 1)สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ 2) สถานการณ์ราคา 3) สถานการณ์การส่งเสริมการขาย 4) สถานการณ์แหล่งขาย และ 5) การโฆษณาและการสื่อสาร ผลการศึกษาในด้านสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ พบว่า มีผลิตภัณฑ์ยาสูบไฟฟ้า 10 ประเภท ผลิตภัณฑ์ยาสูบไฟฟ้าประเภทที่ได้รับความนิยมสูง คือ บุหรี่ไฟฟ้าแบบพอดใช้แล้วทิ้ง ในด้านสถานการณ์ราคา ราคาทุกผลิตภัณฑ์ลดลง สถานการณ์การจำหน่ายเน้นกลยุทธ์ด้านราคา ใช้ความคุ้มค่าด้านราคาและราคาถูก แหล่งขายออนไลน์ พบว่า มี 300 ID (ร้านค้า) ในปี 2565-2566 ใน 6 แพลตฟอร์ม พบใน Website ร้อยละ 23 Line shopping ร้อยละ 21 Youtube ร้อยละ 20 Facebook ร้อยละ 15 Twitter ร้อยละ 12 และ Instagram ร้อยละ 9 แต่พบว่าเพิ่มเป็น 459 ร้านในปี 2566 ผู้ค้าใช้ Line เป็นช่องทางติดต่อกับลูกค้ามากที่สุดเพราะเป็นส่วนตัวที่สุดและเลี่ยงกฎหมายได้มากที่สุด พบวิธีการสื่อสาร 22 วิธี ในช่องทางออนไลน์ hashtag ที่ผู้ค้าใช้มากที่สุด คือ #บุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ผู้ค้าใช้วิธีการสื่อสารโดยการเปิดร้านค้าในทุกแพลตฟอร์มและโยงทุกแพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน ในด้านวิธีการโฆษณา พบว่า ผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้านิยมถ่ายรูปสินค้าอย่างสวยงาม ใช้ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งประกอบข้อความสั้นและเพลงในการโฆษณาในสื่ออย่าง Tik Tok, Instagram และ Facebook รวมทั้งโฆษณาด้วยการสาธิตและการสูบให้ชมใน Youtube และ Tik Tok ในด้านการสื่อสาร พบว่า มีการใช้ผู้มีอิทธิพลในการสื่อสาร เช่น Youtuber และ reviewer ที่มีเทคนิคในการพูด แสดงตนเป็นผู้รู้ และสาธิตสินค้าด้วยตัวเองให้ชม จะมีส่วนสำคัญสูงสุดต่อการชวนให้ติดตามและรับรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า การศึกษายังพบว่า การสื่อสารและโฆษณาด้วยการ Live streaming ดึงดูดผู้ชมได้มากที่สุด การศึกษานี้ให้ข้อสรุปว่า มาตรการควบคุมตนเองของสื่อสังคมเครือข่ายในการคัดกรองการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อ ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติแต่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ค้าในเชิงพาณิชย์ และผู้ค้าใช้การเปิดร้านค้าในสื่อโซเชียลเพื่อเลี่ยงกฎหมาย
dc.description.abstractThis article aimed to investigate electronic cigarette products in five areas: 1) product situation 2) pricing situation 3) promotion situation 4) sales channels situation and 5) advertising and communication. This study used a qualitative approach and online survey. Result found 10 types of electronic cigarette products, disposable e-cigarette was the most popular one. Price situation showed decreased prices, focusing on offering good value for money. In terms of sales channels situation, 300 online stores were discovered in 2022 across six major platforms, with an increase to 459 stores in 2023. These platforms included website (23%), Line Shopping (21%), YouTube (20%), Facebook (15%). Twitter (12%) and Instagram (9%). The Line platform was mostly employed among sellers due to its private nature, allowing sellers to avoid legal scrutiny. The study found 22 advertising techniques, sellers used product photos with short messages to advertise on TikTok, Instagram, and Facebook. Demonstration of the product (such as smoking or using e-cigarette) was featured on YouTube and TikTok while YouTubers and reviewers had a significant role in influencing followers and spreading information. Live streaming proved to be the most effective method of engaging viewers. The study concluded that self-regulation by social media platforms was ineffective, since sellers used social media platforms to avoid regulations and laws.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2568), 147-157
dc.identifier.issn2697-6285 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109411
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectบุหรี่ไฟฟ้า
dc.subjectสื่อโซเชียลมีเดีย
dc.subjectการโฆษณา
dc.subjectการส่งเสริมการขาย
dc.subjecte-cigarette
dc.subjectsocial media network
dc.subjectadvertising
dc.subjectpromotion
dc.titleการศึกษาสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการขายและการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อโซเชียลมีเดีย (social media network)การศึกษาสถานการณ์ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการขายและการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อโซเชียลมีเดีย (social media network)
dc.title.alternativeElectronic Cigarette Product, Price, Promotion and Advertising Situation Study in Social Media Network
dc.typeOriginal Article
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/276944/185096
oaire.citation.endPage157
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage147
oaire.citation.titleวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข
oaire.citation.volume11
oaire.versionAccepted Manuscript
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
ph-ar-sirach-2568.pdf
Size:
2.9 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections