Publication: ความแม่นยำในการประเมินการสูญเสียเลือดหลังคลอดระหว่างการใช้ถุงตวงเลือด และการคาดคะเนด้วยสายตาในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2562), 48-56
Suggested Citation
ศิริกัญญา ไผ่แก้ว, โสภาพรรณ พวงบุญมี, Sirikanya Phaikaew, Sophaphan Ploungbunmee ความแม่นยำในการประเมินการสูญเสียเลือดหลังคลอดระหว่างการใช้ถุงตวงเลือด และการคาดคะเนด้วยสายตาในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2562), 48-56. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72264
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความแม่นยำในการประเมินการสูญเสียเลือดหลังคลอดระหว่างการใช้ถุงตวงเลือด และการคาดคะเนด้วยสายตาในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
The Accuracy of Postpartum Blood Loss Estimation Using Plastic Collector Bag and Visual Estimation at Ramathibodi Hospital
Other Contributor(s)
Abstract
บทนำ: ภาวะตกเลือดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการตายของผู้คลอด การประเมินการสูญเสียเลือดหลังคลอดที่แม่นยำจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยเหลือผู้คลอดก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบปริมาณเลือดหลังคลอดและสัดส่วนของมารดาที่มีภาวะตกเลือดจากการประเมินการสูญเสียเลือดจากการใช้ถุงตวงเลือด และการคาดคะเนด้วยสายตา
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์เดี่ยว คลอดทางช่องคลอด ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี อายุครรภ์ 34 - 40 สัปดาห์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณเลือด สัดส่วนของมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด และความสอดคล้องของวิธีประเมินโดยใช้ถุงตวงเลือดและการคาดคะเนด้วยสายตา จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ t test, Fisher exact test และ Bland-Altman method ตามลำดับ
ผลการศึกษา: ปริมาณเลือดหลังคลอดและสัดส่วนของมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการใช้ถุงตวงเลือดมากกว่าการคาดคะเนด้วยสายตาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) โดยค่าเฉลี่ยความแตกต่างเท่ากับ 112.25 มิลลิลิตร และความสอดคล้องของวิธีประเมินทั้งสองวิธีตรวจสอบที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้ Bland-Altman method เท่ากับ -212.15 ถึง 436.66 มิลลิลิตร
สรุป: การประเมินการสูญเสียเลือดจากการใช้ถุงตวงเลือดมีความแม่นยำกว่าการคาดคะเนด้วยสายตา ทำให้ประเมินภาวะตกเลือดได้ดีกว่าและสามารถดูแลให้การรักษาพยาบาลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยหลังคลอดได้อย่างรวดเร็ว
Background: Postpartum hemorrhage is a common cause of maternal death. Accurate estimation of postpartum blood loss is important to help parturients before crisis. Objectives: To compare estimation of postpartum blood loss and proportion of postpartum hemorrhage between plastic collector bag and visual estimation. Methods: This study is quasi-experimental design. Participants were 20 singleton parturients, gestational age at 34 - 40 weeks and without complications during pregnancy who delivered at Ramathibodi Hospital. T test was used for comparing the difference of blood loss with Fisher exact test employed for calculating the proportion of parturients postpartum hemorrhage. The Bland-Altman method was used to determine the level of agreement between methods. Results: Postpartum blood loss collected via a plastic collector bag was significantly more than the visual estimation (P < .05). The mean difference of postpartum blood loss between 2 methods was 112.25 with 95% confidence limits of agreement between -212.15 and 436.66. Conclusions: The plastic collector bag was more accurate in blood loss assessment than visual estimation. It can provide early care and prevention of complications that may occur with parturients.
Background: Postpartum hemorrhage is a common cause of maternal death. Accurate estimation of postpartum blood loss is important to help parturients before crisis. Objectives: To compare estimation of postpartum blood loss and proportion of postpartum hemorrhage between plastic collector bag and visual estimation. Methods: This study is quasi-experimental design. Participants were 20 singleton parturients, gestational age at 34 - 40 weeks and without complications during pregnancy who delivered at Ramathibodi Hospital. T test was used for comparing the difference of blood loss with Fisher exact test employed for calculating the proportion of parturients postpartum hemorrhage. The Bland-Altman method was used to determine the level of agreement between methods. Results: Postpartum blood loss collected via a plastic collector bag was significantly more than the visual estimation (P < .05). The mean difference of postpartum blood loss between 2 methods was 112.25 with 95% confidence limits of agreement between -212.15 and 436.66. Conclusions: The plastic collector bag was more accurate in blood loss assessment than visual estimation. It can provide early care and prevention of complications that may occur with parturients.