Publication: พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด
Issued Date
2567
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
File Type
application/pdf
ISSN
2822-1370 (Print)
2822-1389 (Online)
2822-1389 (Online)
Journal Title
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล
Volume
30
Issue
3
Start Page
296
End Page
307
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
Bibliographic Citation
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 296-307
Suggested Citation
กนกวรรณ ศรีจินดา, ทิพวัลย์ ดารามาศ, จิริยา วิทยะศุุภร, Kanokwan Srijinda, Tipawan Daramas, Jariya Wittayasooporn พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 296-307. 307. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109391
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด
Alternative Title(s)
Receptive Language Development in Early Childhood: A Comparative Study between Children Born Preterm and Full Term
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย ระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด อายุตั้งแต่ 1 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 11 เดือน ที่มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2564 จำนวน 96 ราย คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย Independent t-test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี 5 เดือน ส่วนใหญ่มีคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาอยู่ในระดับต่ำ ทั้งกลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดและกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนด คิดเป็นร้อยละ 91.70 และ 54.20 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับของคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาของกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนดสูงกว่ากลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 11 เดือน ส่วนใหญ่มีคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาอยู่ในระดับสูงทั้งกลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดและกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนด คิดเป็นร้อยละ 54.20 และ 58.30 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังติดตาม และประเมินพัฒนาการทางภาษาในเด็กที่เกิดก่อนกำหนด รวมไปถึงการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็กโดยเน้นพัฒนาการทางภาษาในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี 5 เดือน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในด้านภาษา
This comparative descriptive study explored receptive language development in children born preterm and full-term in early childhood. The sample included 96 childrenaged 1 year 6 monthsto 3 years 11months who attended the Pediatric Outpatient Department for check-ups between May 2020 and March 2021. Children who met the eligibility criteria were tested for receptive language understanding using the Peabody Picture Vocabulary Test Form A (Fourth Edition). The data were analyzed using an independent t-test and Mann-Whitney U test. The study revealed that most of the childrenaged 1 year 6 months to 2 years 5 months, bothbornpreterm (91.70%) and full-term (54.20%), had a low level of receptive language scores. When comparing between the groups, it was found that the mean rank of the receptive language scores of the full-term children was significantly better than that of the preterm-born children.However, most of the children aged from 2 years 6 months to 3 years 11 months,born preterm(54.20%) and full-term (58.30%), had a high level of receptive language scores. Their mean scores were not statistically different between the two groups. The findings suggested the monitoring, follow-up,and evaluation of language development in preterm-born children and a training project on the knowledge/information of language development be used to stimulate the language development in children, mainly aged 1 year 6 months to 2 years 5 months to achieve the proper language development.
This comparative descriptive study explored receptive language development in children born preterm and full-term in early childhood. The sample included 96 childrenaged 1 year 6 monthsto 3 years 11months who attended the Pediatric Outpatient Department for check-ups between May 2020 and March 2021. Children who met the eligibility criteria were tested for receptive language understanding using the Peabody Picture Vocabulary Test Form A (Fourth Edition). The data were analyzed using an independent t-test and Mann-Whitney U test. The study revealed that most of the childrenaged 1 year 6 months to 2 years 5 months, bothbornpreterm (91.70%) and full-term (54.20%), had a low level of receptive language scores. When comparing between the groups, it was found that the mean rank of the receptive language scores of the full-term children was significantly better than that of the preterm-born children.However, most of the children aged from 2 years 6 months to 3 years 11 months,born preterm(54.20%) and full-term (58.30%), had a high level of receptive language scores. Their mean scores were not statistically different between the two groups. The findings suggested the monitoring, follow-up,and evaluation of language development in preterm-born children and a training project on the knowledge/information of language development be used to stimulate the language development in children, mainly aged 1 year 6 months to 2 years 5 months to achieve the proper language development.