Publication: พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด
dc.contributor.author | กนกวรรณ ศรีจินดา | |
dc.contributor.author | ทิพวัลย์ ดารามาศ | |
dc.contributor.author | จิริยา วิทยะศุุภร | |
dc.contributor.author | Kanokwan Srijinda | |
dc.contributor.author | Tipawan Daramas | |
dc.contributor.author | Jariya Wittayasooporn | |
dc.date.accessioned | 2025-04-09T02:51:43Z | |
dc.date.available | 2025-04-09T02:51:43Z | |
dc.date.created | 2568-04-09 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย ระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด อายุตั้งแต่ 1 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 11 เดือน ที่มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2564 จำนวน 96 ราย คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย Independent t-test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี 5 เดือน ส่วนใหญ่มีคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาอยู่ในระดับต่ำ ทั้งกลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดและกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนด คิดเป็นร้อยละ 91.70 และ 54.20 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับของคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาของกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนดสูงกว่ากลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 11 เดือน ส่วนใหญ่มีคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาอยู่ในระดับสูงทั้งกลุ่มเด็กเกิดก่อนกำหนดและกลุ่มเด็กเกิดครบกำหนด คิดเป็นร้อยละ 54.20 และ 58.30 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานด้านการรับรู้เข้าใจภาษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังติดตาม และประเมินพัฒนาการทางภาษาในเด็กที่เกิดก่อนกำหนด รวมไปถึงการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็กโดยเน้นพัฒนาการทางภาษาในช่วงอายุ 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี 5 เดือน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในด้านภาษา | |
dc.description.abstract | This comparative descriptive study explored receptive language development in children born preterm and full-term in early childhood. The sample included 96 childrenaged 1 year 6 monthsto 3 years 11months who attended the Pediatric Outpatient Department for check-ups between May 2020 and March 2021. Children who met the eligibility criteria were tested for receptive language understanding using the Peabody Picture Vocabulary Test Form A (Fourth Edition). The data were analyzed using an independent t-test and Mann-Whitney U test. The study revealed that most of the childrenaged 1 year 6 months to 2 years 5 months, bothbornpreterm (91.70%) and full-term (54.20%), had a low level of receptive language scores. When comparing between the groups, it was found that the mean rank of the receptive language scores of the full-term children was significantly better than that of the preterm-born children.However, most of the children aged from 2 years 6 months to 3 years 11 months,born preterm(54.20%) and full-term (58.30%), had a high level of receptive language scores. Their mean scores were not statistically different between the two groups. The findings suggested the monitoring, follow-up,and evaluation of language development in preterm-born children and a training project on the knowledge/information of language development be used to stimulate the language development in children, mainly aged 1 year 6 months to 2 years 5 months to achieve the proper language development. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 296-307 | |
dc.identifier.issn | 2822-1370 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2822-1389 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109391 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights.holder | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต | |
dc.subject | เด็กปฐมวัย | |
dc.subject | พัฒนาการทางภาษา | |
dc.subject | เด็กเกิดก่อนกำหนด | |
dc.subject | พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษา | |
dc.subject | Early childhood | |
dc.subject | Language development | |
dc.subject | Preterm infants | |
dc.subject | Receptive language development | |
dc.title | พัฒนาการด้านการรับรู้เข้าใจภาษาในเด็กปฐมวัย: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กเกิดก่อนกำหนดและเด็กเกิดครบกำหนด | |
dc.title.alternative | Receptive Language Development in Early Childhood: A Comparative Study between Children Born Preterm and Full Term | |
dc.type | Research Article | |
dcterms.accessRights | open access | |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/267994/185486 | |
oaire.citation.endPage | 307 | |
oaire.citation.issue | 3 | |
oaire.citation.startPage | 296 | |
oaire.citation.title | วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล | |
oaire.citation.volume | 30 | |
oaire.version | Accepted Manuscript | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
- Name:
- ra-ar-tipawan-2567.pdf
- Size:
- 3.43 MB
- Format:
- Adobe Portable Document Format