Publication: อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
ISSN
2697-6285 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกายภาพบําบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 443-453
Suggested Citation
วามริน คีรีวัฒน์, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, จุฑาธิป ศีลบุตร, เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์, Wamarin Keereewat, Amarin Kongtawelert, Jutatip Sillabutra, Petcharatana Bhuanantanondh อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 443-453. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79935
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ
Alternative Title(s)
Musculoskeletal Disorders among employees in automotive industry in Samut Prakan Province
Abstract
อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็นโรคจากการทำงานที่พบมากในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยสาเหตุของการเกิดอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดจากสาเหตุทางการยศาสตร์เป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 75 คน ทั้งพนักงานฝ่ายผลิตและพนักงานฝ่ายสำนักงาน ที่เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด บริเวณคลินิกที่อยู่ภายในโรงงาน โดยใช้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือคำถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่พนักงานฝ่ายผลิตมีลักษณะการทำงานคือเป็นงานที่หลังอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติและยกของหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง (65.4%) และพนักงานฝ่ายสำนักงาน ลักษณะการทำงานที่โดยใช้คอมพิวเตอร์มีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดคือบริเวณคอ (51.4%) มีระดับความเจ็บปวดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับการออกกำลังกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บปวดกับดัชนีมวลกาย พบว่าระดับความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย
สรุปได้ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านการยศาสตร์ และปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกันทำให้เกิดโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงาน ดังนั้นควรจะมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องลักษณะการทำงาน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร เพื่อนำไปสู่การทำงานที่ปลอดภัยท่าทางการทำงานที่ดีขึ้นเพื่อเพิ่มสถานะด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีของพนักงาน
Musculoskeletal disorders are occupational diseases that are most common in automotive industry workers. The cause of Musculoskeletal disorders is mainly due to ergonomic factors. The objective of this study was to determine the prevalence and associated factors with musculoskeletal disorders among employees in the automotive industry. The sample size is calculated using the formula, the population size is unknown (Cochran, 1977). The sample in this study was 7 5 workers, including production workers and office workers undergoing physical therapy treatment clinic inside the factory. The sampling technique was systematic sampling randomized from the population that met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned to 1,3,5,..., n each day to be the sample group in the study. Collect personal information and Work characteristics by questionnaire. Modified nordic questionnaires were used for a musculoskeletal disorders analysis. Data analysis was performed using descriptive statistics and inferential statistics, Chi-square. The results showed that most production workers are jobs with awkward posture and lifting more than 10 kilograms. Most of the symptoms of musculoskeletal disorders are lower back areas (65.4%). Most office workers use the computer, and most of the symptoms of the musculoskeletal disorders are neck area (51.4%), and the pain scale was moderate (52%). Furthermore, the correlation test showed that the pain scale was related to exercise, and the pain scale was related to body mass index. The results of this study can be used as a baseline for the prevention and promotion of health to reduce the risk of musculoskeletal disorders and improve the health and safety status of employees.
Musculoskeletal disorders are occupational diseases that are most common in automotive industry workers. The cause of Musculoskeletal disorders is mainly due to ergonomic factors. The objective of this study was to determine the prevalence and associated factors with musculoskeletal disorders among employees in the automotive industry. The sample size is calculated using the formula, the population size is unknown (Cochran, 1977). The sample in this study was 7 5 workers, including production workers and office workers undergoing physical therapy treatment clinic inside the factory. The sampling technique was systematic sampling randomized from the population that met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned to 1,3,5,..., n each day to be the sample group in the study. Collect personal information and Work characteristics by questionnaire. Modified nordic questionnaires were used for a musculoskeletal disorders analysis. Data analysis was performed using descriptive statistics and inferential statistics, Chi-square. The results showed that most production workers are jobs with awkward posture and lifting more than 10 kilograms. Most of the symptoms of musculoskeletal disorders are lower back areas (65.4%). Most office workers use the computer, and most of the symptoms of the musculoskeletal disorders are neck area (51.4%), and the pain scale was moderate (52%). Furthermore, the correlation test showed that the pain scale was related to exercise, and the pain scale was related to body mass index. The results of this study can be used as a baseline for the prevention and promotion of health to reduce the risk of musculoskeletal disorders and improve the health and safety status of employees.