Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทย

dc.contributor.authorพัชราภรณ์ นนทสวัสดิ์ศรีen_US
dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญen_US
dc.contributor.authorณัฐนารี เอมยงค์en_US
dc.contributor.authorPatcharaphon Nonthasawadsrien_US
dc.contributor.authorChardsumon Pritpinyoen_US
dc.contributor.authorNatnaree Aimyongen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-05-31T02:29:53Z
dc.date.available2022-05-31T02:29:53Z
dc.date.created2565-05-25
dc.date.issued2564
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยโดยการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างศัลยแพทย์ในสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย จํานวน 160 คน ส่งแบบสอบถามออนไลน์ ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินโดยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การประเมินความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์การยอมรับ ความครอบคลุม ความพร้อม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Logistic regression มีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ศัลยแพทย์ประเมินการยอมรับระดับสูง (ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย 93.19) ความครอบคลุม ระดับต่ำ (ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย 44.00) ความพร้อมระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 37.50, S.D.0.51) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 18.86, S.D.0.60) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 18.81, S.D.0.52). ผลการวิเคราะห์ Logistic Regression พบว่า ปัจจัยการยอมรับ ความครอบคลุม ความพร้อม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยได้ ร้อยละ 83.7 ผู้กําหนดนโยบายสามารถใช้ผลการศึกษาวิจัยเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยและสามารถศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.description.abstractThis cross-sectional descriptive study investigates the demand feasibility of surgeons in the implementation of Thailand’s medical device registry and studies the factors affecting surgeon’s demand feasibility in the implementation of Thailand’s medical device registry of breast implant patients. There were 160 sample surgeons and data gathered by Google Form Self-Reported Questionnaires. The Questionnaires were divided into 7 parts. Data were analyzed using descriptive statistics, percentages, mean, and standard deviations. Logistic regression was used for hypothesis testing at 0.05.Results showed that the factors acceptability were at a high level (percentage of mean 93.19), adequacy was at a low level (percentage of mean 44%), practi c e was at a high level (mean 37.50, S.D.0.51), motivation was at a high level (mean 18.86, S.D.0.60) , and privacy was at a high level (mean 18.81, S.D.0.52). Logistic regression showed that acceptability, adequacy, practice, motivation, and privacy were statistically significant factors predicting surgeon’s demand feasibility at 83.7%. Policymakers could utilize the factors in this study to enhance the safety of medical device policy. As a pilot study to pursue the implementation of a breast implant patient registry in different stakeholders, this could be used to enhance consumer protection.en_US
dc.identifier.citationวารสารกฎหมายสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 7, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2564), 411-428en_US
dc.identifier.issn2697-6285 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64812
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความเป็นไปได้ด้านความต้องการen_US
dc.subjectเครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายen_US
dc.subjectระบบทะเบียนผู้ป่วยen_US
dc.subjectศัลยแพทย์en_US
dc.subjectDemand Feasibilityen_US
dc.subjectimplanted silicone breast prosthesisen_US
dc.subjectthe breast implant patient registryen_US
dc.subjectsurgeonsen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ด้านความต้องการของศัลยแพทย์ในการนํามาใช้ของระบบทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกายของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFactors affecting surgeon’s demand feasibility in the implementation of Thailand’s medical device registry of breast implant patientsen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/251337/171694

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-chardsum-2564-5.pdf
Size:
4.58 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections