Publication: ความเป็นธรรมของการให้บริการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก
Issued Date
2557
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสายไหม
ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 37, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2557), 138-144
Suggested Citation
มิ่งขวัญ เทียนธนานุรักษ์, สุคนธา คงศีล, สมชาติ โตรักษา, Mingkhwan Tientananuruk, Sukhontha Kongsin, Somchart Torugsa ความเป็นธรรมของการให้บริการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 37, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2557), 138-144. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79683
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความเป็นธรรมของการให้บริการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก
Alternative Title(s)
Equity of Physical Therapy Services for Patients with Stroke in Nakhonnayok Province
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความเป็นธรรมของการให้บริการทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครนายก จำนวน 137 ราย โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ดูแล ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีสมมติฐานว่าผู้ที่มีความเจ็บป่วยระดับเดียวกัน จะได้รับการรักษาที่เท่ากัน
จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์พบว่า การให้บริการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในจังหวัดนครนายก ไม่มีความเป็นธรรมในแนวราบทั้ง 3 มิติ (มิติด้านชนิดของการให้บริการ มิติด้านเวลา และมิติของความถี่ในการรักษาทางกายภาพบำบัด) โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างระดับความเจ็บป่วย (ระดับความสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว) กับ 1) จำนวนของชนิดการรักษาทางกายภาพบำบัด (P = 0.001) และ 2) ระยะเวลาและความถี่ในการรักษาทางกายภาพบำบัด (P = 0.045) แสดงถึง ผู้ป่วยที่มีระดับความเจ็บป่วยระดับเดียวกัน จะได้รับจำนวนของชนิดการรักษาและระยะเวลาการรักษาในหนึ่งสัปดาห์ที่แตกต่างกัน
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จากผลการวิจัย ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารคือ การนำผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติงาน หรือพิจารณาจัดโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีระดับความเจ็บป่วย (สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว) โดยนักกายภาพบำบัดที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมาก ควรได้รับการฝึกกายบริหารเคลื่อนไหวข้อ ฝึกการเคลื่อนย้ายตัวเองบนเตียง โดยใช้เวลาการรักษาครั้งละ 30 - 45 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นอย่างน้อย และสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวน้อย ควรเน้นการฝึกการทรงตัวในท่านั่ง ยืน เดิน หรือขึ้นลงบันได โดยใช้เวลาการรักษาครั้งละ 45 – 90 นาที จำนวน 4 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เป็นต้น
This research was a cross-sectional survey research to study equity of physical therapy service for 137 patients with stroke in Nakhonnayok, Thailand, using questionnaires and interviews from June to December 2011. The analyses consisted of frequency distributions, percentage, and chi-square. The assumption that equal treatment for equal need. The results show that physical therapy services for stroke patients at Nakhonnayok showed horizontal equity in three-dimensions of physical therapy (number of treatment, time for treatment and frequency of treatment). There were statistically significant relationship between the level of illness and 1) number of physical therapy types (P = 0.001); and 2) time and frequency of physical therapy (P = 0.045). To achieve equity for physical therapy among stroke patients, policy makers are recommended to use findings from this specify and consider physical therapy for activity plan or development of standard practice guideline on physical therapy for patients with stroke by physiotherapy such as passive exercise training and transfer on bed for patient’s severity type treatment time 30 - 45 minutes, 3 times per week. General exercise, balance training in sitting or standing, ambulation training for patient’s mild type treatment time 45 - 90 minutes, 3 times per week.
This research was a cross-sectional survey research to study equity of physical therapy service for 137 patients with stroke in Nakhonnayok, Thailand, using questionnaires and interviews from June to December 2011. The analyses consisted of frequency distributions, percentage, and chi-square. The assumption that equal treatment for equal need. The results show that physical therapy services for stroke patients at Nakhonnayok showed horizontal equity in three-dimensions of physical therapy (number of treatment, time for treatment and frequency of treatment). There were statistically significant relationship between the level of illness and 1) number of physical therapy types (P = 0.001); and 2) time and frequency of physical therapy (P = 0.045). To achieve equity for physical therapy among stroke patients, policy makers are recommended to use findings from this specify and consider physical therapy for activity plan or development of standard practice guideline on physical therapy for patients with stroke by physiotherapy such as passive exercise training and transfer on bed for patient’s severity type treatment time 30 - 45 minutes, 3 times per week. General exercise, balance training in sitting or standing, ambulation training for patient’s mild type treatment time 45 - 90 minutes, 3 times per week.