Publication: ความเห็นพ้องในการประเมินแต่ละหัวข้อของแบบทดสอบพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก (IMDT) ระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์
Submitted Date
2552-11-11
Accepted Date
2553-05-25
Issued Date
2553-09
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-4634
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
Bibliographic Citation
วารสารกายภาพบำบัด. ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (2553), 133-146
Suggested Citation
สายพิณ ประเสริฐสุขดี, ปัทมลักษณ์ ฐานะพันธุ์, ธนียา บุญเพลิน, วีรณัฐ จีนะวัฒน์ ความเห็นพ้องในการประเมินแต่ละหัวข้อของแบบทดสอบพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก (IMDT) ระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์. วารสารกายภาพบำบัด. ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (2553), 133-146. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10350
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความเห็นพ้องในการประเมินแต่ละหัวข้อของแบบทดสอบพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก (IMDT) ระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์
Alternative Title(s)
Agreement in rating items of infant motor development test (IMDT) between physical therapy students and experienced physical therapists
Other Contributor(s)
Abstract
จุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบความเห็นพ้อง ในการประเมินหัวข้อทดสอบของแบบทดสอบพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก (IMDT) ระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ นักศึกษากายภาพบำบัดปีที่ 4 จำนวน 3 คนเข้าร่วมในการศึกษานี้ ภายหลังการอบรมการประเมินหัวข้อทดสอบของแบบทดสอบ IMDT นักศึกษาประเมินหัวข้อทดสอบอย่างอิสระโดยดูวิดีโอพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารกจำนวน 32 คน ซึ่งเคยถูกประเมินโดยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า 9 ใน 25 หัวข้อทดสอบมีค่า
percentage of agreement ในการประเมินระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (≥ 80%) และ 11 ใน 19 หัวข้อทดสอบที่สามารถคำนวณด้วยสถิติ Kappa ได้ มีค่า Kappa ระบุถึงความเห็นพ้องอยู่ในระดับพอใช้ถึงดีเลิศ (K ≥ 0.4) นอกจากนี้ 5 ใน 6 หัวข้อ ทดสอบที่ไม่สามารถคำนวณด้วยสถิติ Kappa ได้มีค่า percentage of agreement สูงมาก (88%-100%) เมื่อพิจารณาความเห็นพ้องในการประเมินระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัดและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์พบว่า 12 ใน 25 หัวข้อทดสอบมีค่า percentage of agreement อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และ 9 ใน 20 หัวข้อทดสอบที่สามารถคำนวณด้วยสถิติ Kappa ได้มีค่า Kappa ระบุถึงความเห็นพ้องอยู่ในระดับพอใช้ถึงดีเลิศ อย่างไรก็ตาม 5 หัวข้อทดสอบที่ไม่สามารถคำนวณด้วยสถิติ Kappa ได้ มีค่า percentage of agreement สูงมาก (91%-100%) โดยสรุปประมาณ 60% ของหัวข้อทดสอบแสดงความเห็นพ้องในการประเมินระหว่างนักศึกษากายภาพบำบัด และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์เกณฑ์ประเมินที่ชัดเจนและประสบการณ์ด้านเด็กน่าจะมีผลต่อความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ ดังนั้นการประเมินพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวด้วยแบบทดสอบ IMDT อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการฝึกที่เหมาะสม นอกจากนี้ ผู้พัฒนาแบบทดสอบควรพิจารณาหัวข้อทดสอบบางหัวข้อที่มีปัญหาในการประเมินทั้งนักศึกษากายภาพบำบัดและ นักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์