Publication: Parents’ Knowledge, Attitudes, and Practices towards Antibiotic Use in Children with Upper Respiratory Tract Infections in Cambodia
Issued Date
2021
Resource Type
Language
tha
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Faculty of Nursing Mahidol University
Bibliographic Citation
Nursing Science Journal of Thailand. Vol. 39, No. 4 (Oct - Dec 2021), 83-96
Suggested Citation
Saveth Kim, Tassanee Prasopkittikun, Sudaporn Payakkaraung, ทัศนี ประสบกิตติคุณ, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง Parents’ Knowledge, Attitudes, and Practices towards Antibiotic Use in Children with Upper Respiratory Tract Infections in Cambodia. Nursing Science Journal of Thailand. Vol. 39, No. 4 (Oct - Dec 2021), 83-96. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64409
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Parents’ Knowledge, Attitudes, and Practices towards Antibiotic Use in Children with Upper Respiratory Tract Infections in Cambodia
Alternative Title(s)
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ในประเทศกัมพูชา
Other Contributor(s)
Abstract
Purpose: Antibiotic misuse in children with upper respiratory tract infections is a challenge in public health. The study aimed to examine the relationships among knowledge, attitudes and practices of parents regarding antibiotic use in this group of children in Cambodia; and the prediction of parents’ knowledge, attitudes, sex, education, and family income on the parents’ practices.
Design: A cross-sectional survey with correlational predictive design.
Methods: A convenience sampling was used to recruit 258 parents who brought their children under 15 years of age to receive health services at eight health centers in Kandal province, Cambodia. Interview and self-administered questionnaires were used. Data were collected from January to March 2020 and analyzed using descriptive statistics, Pearson correlation coefficient, and multiple regression.
Main findings: Significant relationships between knowledge and attitudes (r = .48, p < .001), and attitudes and practices (r = .23, p < .001) were found, except that between knowledge and practices (r = .11, p = .086). While all study factors accounted for 11% of the variance explained in the parents’ practice (R2 = .11), only three factors could significantly predict the practices; that is, attitudes (β = .24, p < .01), female parent (β = .14, p < .05), and years of education (β = - .17, p < .05).
Conclusion and recommendations: Parents’ attitudes towards antibiotic use was related to their knowledge and practices; attitudes, sex and education were the predictors of parents’ practices. Thus, public-directed programs to promote antibiotic awareness is needed. Information about rational drug use should be given in formal education system. Nurses should also pay greater attention on male parents and well-educated parents during giving advice of antibiotic use.
วัตถุประสงค์: การใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ท้าทาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กกลุ่มนี้ที่ประเทศกัมพูชา และการทำนายของปัจจัยความรู้ ทัศนคติ เพศ การศึกษาของผู้ปกครอง และรายได้ของครอบครัวต่อการปฏิบัติของผู้ปกครอง รูปแบบการวิจัย: การสำรวจภาคตัดขวางโดยศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่เลือกโดยวิธีแบบสะดวกเป็นผู้ปกครองจำนวน 258 คน ที่นำบุตรอายุน้อยกว่า 15 ปีมารับบริการตรวจสุขภาพที่ศูนย์สุขภาพ 8 แห่งในจังหวัด Kandal ประเทศกัมพูชา เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบ ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างความรู้และทัศนคติ (r = .48, p < .001) ทัศนคติและการปฏิบัติ (r = .23, p < .001) ยกเว้นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติ (r = .11, p = .086) ปัจจัยที่ศึกษาทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติของผู้ปกครองในการใช้ยาปฏิชีวนะได้ร้อยละ 11 (R2 = .11) และมีเพียงสามปัจจัยที่สามารถทำนายการปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญ คือ ทัศนคติ (β = .24, p < .01) ผู้ปกครองเพศหญิง (β = .14, p < .05) และจำนวนปีการศึกษา (β = - .17, p < .05) ของผู้ปกครอง สรุปและข้อเสนอแนะ: ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติ และทัศนคติ เพศ การศึกษา สามารถทำนายการปฏิบัติของผู้ปกครองได้ ดังนั้น โปรแกรมที่จัดให้กับประชาชนเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการใช้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการสอนหัวข้อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระบบโรงเรียน และพยาบาลควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการให้คำแนะนำการใช้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ปกครองเพศชายด้วย
วัตถุประสงค์: การใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ท้าทาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กกลุ่มนี้ที่ประเทศกัมพูชา และการทำนายของปัจจัยความรู้ ทัศนคติ เพศ การศึกษาของผู้ปกครอง และรายได้ของครอบครัวต่อการปฏิบัติของผู้ปกครอง รูปแบบการวิจัย: การสำรวจภาคตัดขวางโดยศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่เลือกโดยวิธีแบบสะดวกเป็นผู้ปกครองจำนวน 258 คน ที่นำบุตรอายุน้อยกว่า 15 ปีมารับบริการตรวจสุขภาพที่ศูนย์สุขภาพ 8 แห่งในจังหวัด Kandal ประเทศกัมพูชา เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบ ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างความรู้และทัศนคติ (r = .48, p < .001) ทัศนคติและการปฏิบัติ (r = .23, p < .001) ยกเว้นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติ (r = .11, p = .086) ปัจจัยที่ศึกษาทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติของผู้ปกครองในการใช้ยาปฏิชีวนะได้ร้อยละ 11 (R2 = .11) และมีเพียงสามปัจจัยที่สามารถทำนายการปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญ คือ ทัศนคติ (β = .24, p < .01) ผู้ปกครองเพศหญิง (β = .14, p < .05) และจำนวนปีการศึกษา (β = - .17, p < .05) ของผู้ปกครอง สรุปและข้อเสนอแนะ: ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติ และทัศนคติ เพศ การศึกษา สามารถทำนายการปฏิบัติของผู้ปกครองได้ ดังนั้น โปรแกรมที่จัดให้กับประชาชนเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการใช้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการสอนหัวข้อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระบบโรงเรียน และพยาบาลควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการให้คำแนะนำการใช้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ปกครองเพศชายด้วย