Publication: ประชาคมวิจัยเพื่อร่วมสร้างชีวิตสาธารณะ : โครงการวิจัยและพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล
Issued Date
2546
Resource Type
Language
tha
ISSN
1905-1387
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (2546), 41-47
Suggested Citation
วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ประชาคมวิจัยเพื่อร่วมสร้างชีวิตสาธารณะ : โครงการวิจัยและพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (2546), 41-47. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2015
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประชาคมวิจัยเพื่อร่วมสร้างชีวิตสาธารณะ : โครงการวิจัยและพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การพัฒนาคุณภาพคน ชุมชนและสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่กระตือรือล้นในการเอาธุระต่อสังคมเป็น
หนทางหนึ่งที่จะทำให้สังคมมีรากฐานที่มั่นคงเข้มแข็ง และสามารถประยุกต์ใช้การศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเป็น
เครื่องมือในการทำงาน ซึ่งบทความนี้ได้ศึกษาประสบการณ์สนาม โดยใช้ข้อมูลที่สำคัญสองส่วนคือโครงการวิจัย
และพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล ดำเนินการโดยนักวิจัยสหวิทยาการสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยมหิดล และจาก
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก สาขาประชากรศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง จิตสำนึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย
ของผู้เขียน วัตถุประสงค์ของบทความมุ่งนำเสนอบทเรียนในการใช้เทคนิควิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เป็น
เครื่องมือพัฒนากระบวนการประชาคม (Civil Society Movement) เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และมีสำนึกร่วมในการจัดการ
ตนเองของชุมชน กรอบดำเนินการครอบคลุม 3 ด้าน คือ กระบวนการทางวิชาการและการสร้างความรู้ (Academic
Institution) การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติหรือการทำงานร่วมกันแบบประชาคม (Civic Action) และการสื่อสาร
เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Communication for Change) กระบวนการที่เป็นการเตรียมการครอบคลุมการเข้าถึงกลุ่มคน
และพัฒนากิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม ในส่วนของการดำเนินการได้ดำเนินการตามเงื่อนไขของพื้นที่และ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนกระบวนการทางสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วม โดยสรุป คือ การจัด
เวทีสื่อสาร (Forum) กับชุมชน การศึกษาศักยภาพและทุนทางสังคมในท้องถิ่น (Community Capital) การพัฒนา
เครื่องมือเพื่อเข้าถึงศักยภาพและวางแผนชุมชนให้สอดคล้องกับจุดแข็งของชุมชน การพัฒนานักวิชาการรุ่นใหม่
(Young Scholars) การสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มประชาคมในพื้นที่
การพัฒนาศักยภาพประชาคมกลุ่มต่างๆ (Civic groups) การสื่อสารทางสังคม (Social Communication) ในชุมชน
การขับเคลื่อนผลที่ได้จากการพัฒนาองค์ความรู้สู่ปฏิบัติการในสังคม การยกระดับและถอดบทเรียน (Lesson Learned)
ผลของการดำเนินการสรุปเป็นบทเรียนที่สำคัญ 4 ประการ คือ การเกื้อหนุนความพร้อม เพื่อการมีส่วนร่วมแบบ
พลเมืองที่ตื่นตัวกระบวนการมีส่วนร่วมบนโครงสร้างแบบแนวราบ การเรียนรู้และการสร้างความรู้ที่คู่ขนาน
ไปกับการทำงาน การสื่อสารเพื่อเรียนรู้และสร้างความรู้สาธารณะ (Communicating for Public Learning).