Publication: วิถีเพศสัมพันธ์ของแรงงานในกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2548
Resource Type
Language
tha
ISSN
1905-1387
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
บังอร เทพเทียน, สมศักดิ์ วงศาวาส, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์, ปรินดา ตาสี, สุภัทรา อินทร์ไพบูลย์, อุบลรัตน์ ธนรุจิวงศ์ (2548). วิถีเพศสัมพันธ์ของแรงงานในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2014
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
วิถีเพศสัมพันธ์ของแรงงานในกรุงเทพมหานคร
Other Contributor(s)
Abstract
การสำรวจวิถีเพศสัมพันธ์ของแรงงานในกรุงเทพมหานครในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545 –พ.ศ. 2547)
สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการสำรวจร่วมกับกองควบคุมโรคเอดส์
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบวิถีทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มแรงงานและแนวโน้ม
ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในรอบ 3 ปี การดำเนินการสำรวจข้อมูลในครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถาม และให้ผู้ตอบเป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเองอย่างอิสระ เครื่องมือจะประกอบด้วย 2
ส่วนคือข้อมูลด้านประชากร และข้อมูลด้านพฤติกรรม (พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมการใช้สารเสพติด)
กลุ่มแรงงานที่สำรวจในครั้งนี้ มีอายุระหว่าง 15-29 ปี ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,009 ราย
กลุ่มแรงงานมีอายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี ในกลุ่มแรงงานหญิงมีอายุเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มแรงงานชายเล็กน้อย
และกลุ่มแรงงานส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่าร้อยละ 50 รองลงมาภาคเหนือ
ภาคกลาง ภาคใต้ ตามลำดับ สัดส่วนของการมีเพศสัมพันธ์ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คือประมาณ 3 ใน 4
ในกลุ่มแรงงานชายมีเพศสัมพันธ์แล้ว และประมาณ 2 ใน 3 ในกลุ่มแรงงานหญิง มีร้อยละ 56 ในกลุ่มแรงงาน
ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน(เป็นประจำทุกวัน) สัดส่วนของการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคู่
เพศสัมพันธ์ประจำมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ เมื่อพิจารณาเพศสัมพันธ์ในครั้งล่าสุดมีสัดส่วนการใช้ถุงยางอนามัย
ร้อยละ 30 ในกลุ่มแรงงานชาย และร้อยละ 14 ในกลุ่มแรงงานหญิง ในภาพรวมพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ท่ไี ม่
ปลอดภัยในกลุ่มแรงงานหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าในกลุ่มแรงงานชาย
เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของการใช้สารเสพติด(รวมทั้งแอลกอฮอล์และบุหรี่ด้วย) ระหว่างกลุ่มแรงงาน
หญิง-ชายพบว่า กลุ่มแรงงานชายมีสัดส่วนการใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มหญิง แต่ในภาพรวมแล้วแนวโน้ม
ของการใช้สารเสพติดกลุ่มแรงงานมีแนวโน้มลดลงจากปี 2546 สัดส่วนของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
หลังจากการใช้สารเสพติดมีแนวโน้มลดลงในกลุ่มหญิงแต่สูงขึ้นในกลุ่มชาย แต่เมื่อเปรียบเทียบในปี 2546
แล้วจะพบว่า สัดส่วนของการใช้ถุงยางอนามัยมีแนวโน้มสูงขึ้น